X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

บทความ 3 นาที
ความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

ของเล่นเด็กนับเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความเพลิดเพลินสนุกสนานให้กับลูกเป็นอย่างมาก แต่หากเลือกใช้ไม่เหมาะสมกับอายุของลูกๆ ของเล่นเหล่านั้นก็อาจสร้างอันตรายให้กับลูกได้ ลองดูข้อปฏิบัติต่อไปนี้เกี่ยวกับความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้ ก่อนที่จะช้อปปิ้งของเล่นให้ลูกในครั้งต่อไป

เป็นเรื่องปกติธรรมดาของทุกบ้านที่มีเด็กก็ต้องมีของเล่นควบคู่กัน บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะมีของเล่นมากเกินความจำเป็นและอาจยังไม่รู้จักวิธีใช้งานที่ถูกต้องอีกด้วย ทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน คุณก็มักจะกลับเข้ามาพร้อมกับของฝากที่เป็นของเล่นให้กับลูกๆอีกต่างหาก

การซื้อของเล่นให้ลูกนับเป็นนิสัยอย่างหนึ่งของพ่อแม่ โดยปราศจากการคำนึงถึงความชื่นชอบของลูก หรือลืมไปว่าชิ้นนี้เคยมีแล้วหรือยัง ยิ่งไปกว่านั้นขาดการคำนึงว่าลูกจะเรียนรู้อะไรได้จากของเล่นแต่ละชิ้นบ้าง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ของเล่นจะเป็นส่วนสำคัญของเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะอยากซื้อให้ลูกตลอดเวลา และเด็กก็สนุกสนานกับมัน แต่คุณพ่อคุณแม่เคยทราบไหมว่า ของเล่นพวกนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายกับลูกๆได้เช่นกัน หากเลือกของเล่นให้ลูกอย่างไม่เหมาะสม

โดยธรรมชาติ เด็กๆอายุต่ำกว่า 3 ปี มักจะสงสัยในสิ่งต่างๆและชอบเอาของเหล่านั้นเข้าปาก นั่นเป็นวิธีการตอบสนองอย่างหนึ่งของเด็ก เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมากกับการเลือกของเล่นให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองกับการสำลักสิ่งของต่างๆได้

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจในการเลือกของเล่นให้กับลูกๆ ไม่เพียงแต่เลือกซื้อของเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจในการเลือกซื้อของเล่นให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กและต้องคอยดูแลลูกขณะเล่นของเล่นอยู่เสมอ

ครั้งต่อไป หากคุณพ่อคุณแม่ต้องออกไปซื้อของเล่นให้ลูก ให้นึกถึงคำแนะนำในการเลือกซื้อของเล่นเหล่านี้ เพราะของเล่นที่ดูไม่มีพิษไม่มีภัย ความจริงแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายกับลูกได้เช่นกัน

ความปลอดภัยกับของเล่น

คำเตือนของเล่นที่ไม่เหมาะกับเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ อาจมีชิ้นส่วนขนาดเล็กหลุดติดคอได้

การพิจารณาเลือกซื้อของเล่นให้ลูก

Advertisement

1.อ่านฉลากเสมอ

ส่วนใหญ่แล้วบริษัทผู้ผลิตมักมีฉลากและคู่มือเกี่ยวกับของเล่นชิ้นนั้นคู่กับของเล่นเสมอ และยังมีฉลากบอกว่าของเล่นชิ้นนั้นเหมาะสมกับเด็กช่วงอายุเท่าไร ขณะเลือกซื้อคุณพ่อคุณแม่ควรอ่านทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วน ไม่ควรซื้อของเล่นที่มีฉลากติดว่า สำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้ลูกของคุณหากลูกอายุยังไม่ถึง 3 ปี เป็นต้น

2.เลือกของเล่นชิ้นใหญ่สำหรับเด็กเล็กๆ

คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่าของเล่นลูกต้องมี่ขนาดใหญ่เกินกว่าที่ลูกจะเอาเข้าปากได้ของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ คือของเล่นที่มีขนาดใหญ่กว่าแกนกระดาษทิชชู ซึ่งเด็กไม่อาจเอาเข้าปากได้และจะไม่สำลักนั่นเอง

3.เลือกของเล่นที่มีพื้นผิวเรียบ

คุณพ่อคุณแม่ต้องดูลักษณะของเล่นให้ดี ต้องไม่มีรอยเหลี่ยมคมใดๆที่อาจทำให้ลูกได้รับบาดเจ็บได้

4.ตรวจดูส่วนประกอบสารเคมีที่เป็นพิษ

คุณพ่อคุณแม่ควรอาจฉลากยู่เสมอเพื่อดูว่าของเล่นเด็ก มีส่วนใดที่ทำมาจากสารเคมีที่เป็นพิษบ้างหรือไม่ ของเล่นที่ดีควรไม่มีพิษ เช่น ปราศจากสีเคมี

5. หาข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นชิ้นนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาเสิร์ซหาข้อมูลเกี่ยงกับของเล่นชิ้นนั้นๆว่าเคยได้รับการเพิกถอนหรือห้ามซื้อขายบ้างหรือไม่

6.ระวังเกี่ยวกับของเล่นที่ใส่ถ่านหรือแบตเตอรี่

ช่องใส่ถ่านหรือแบตเตอรี่ต้องถูกปิดอย่างมิดชิด ป้องกันการเปิดออกโดยง่าย เพราะไส้ในของถ่านหรือแบตเตอรี่เป็นสิ่งอันตรายมาก เด็กอาจจะกลืนทำให้เกิดการติดคอ สำลัก เลือดออกภายใน และถูกกัดจาสารเคมี

7.หลีกเลี่ยงของเล่นแม่เหล็ก

หากลูกบังเอิญกลืนแม่เหล็กลงไปนี้จะส่งผลต่อผนังลำไส้ให้เป็นแผล ขัดขวางทางเดินอาหาร ติดเชื้อและเลือดออก จนถึงตายได้

ความปลอดภัยของของเล่นเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกซื้ออย่างเดียว

คลิ๊กอ่านหน้าถัดไปสำหรับการดูแลลูกๆระหว่างเล่นของเล่น

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

การดูแลอย่างใกล้ชิดระหว่างลูกเล่นของล่น

หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ไม่เพียงแต่สรรหารของเล่นดีๆให้ลูก แต่ต้องคอยดูและลูกๆขณะเล่นของเล่นนั้นด้วย วิธีที่ดีที่สุดคือการนั่งเล่นกับลูก

  • สอนลูกให้เก็บของเล่นหลังจากที่เล่นเสร็จแล้วเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการสะดุดหกล้มและความบาดเจ็บต่างๆ
  • ป้องกันไม่ให้ลูกเล่นของเล่นของเด็กโต
  • อ่านคู่มือและคำแนะนำในการเล่นของเล่นให้เข้าใจถี่ถ้วน
  • ตรวจดูของเล่นลูกเสมอว่าแตก หัก พังหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ของเล่นมีความแหลมคมและอันตราย คุณพ่อคุณแม่ควรซ่อมแซมหรือเลือกที่จะทิ้งไปก็ได้
  • เลือกของเล่นที่ฉลากเย็บติดอย่างหนาแน่น เพื่อป้องกันการดึงออกของลูกๆ
ความปลอดภัยกับของเล่น

หากของเล่นชำรุดหรือพัง คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกที่จะิ้งหรือซ่อมแซมทันที

เด็กกับของเล่นถือเป็นของคู่กัน คุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่สร้างความปลอดภัยให้กับลูกในการเลือกซื้อของเล่นและในการดูแลลูกๆระหว่างเล่นของเล่นนั้นๆ ในการเลือกซื้อของเล่นครั้งต่อไปให้คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเป็นหลัก และคุณพ่อคุณแม่ควรแสดงความรักความเอาใจใส่ในการเล่นของเล่นกับลูกทุกครั้ง อย่าลืมขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาทังหมด ลองเก็บไว้เป็นเช็คลิสต์สำหรับการช้อปปิ้งของเล่นลูกในครั้งต่อๆไปดูนะคะ

ที่มาจาก sg.theasianparent.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

พาลูกดูของเล่นเมื่อแม่ยังละอ่อนกับพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น

เสริม IQ และ EQ ให้ลูกน้อย ด้วยของเล่นง่ายๆจำนวนน้อยชิ้น

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้
แชร์ :
  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว