X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม และวิธีดูแลฟันน้ำนมให้หลุดตามเวลาที่เหมาะสม

บทความ 5 นาที
ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม และวิธีดูแลฟันน้ำนมให้หลุดตามเวลาที่เหมาะสม

ฟันน้ำนมใครว่าไม่สำคัญ? มาดูกันว่า ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม เป็นอย่างไรกันบ้าง เพราะการหลุดเร็วเกินไปของฟันน้ำนม อาจจะหมายถึงลูกทานขนมมากเกินไป หรือแปรงฟันไม่ถูกต้อง

และแล้วก็ถึงเวลาที่ลูกน้อยของคุณแม่ กำลังจะเติบโตขึ้นไปอีกช่วงวัยหนึ่งแล้ว ฟันน้ำนม ซึ่งเป็นฟันชุดแรก กำลังจะผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนขึ้นมาเป็นฟันแท้ ที่จะอยู่กับลูกของคุณแม่ไปอีกนานเท่านาน กระนั้น การดูแลรักษาฟันน้ำนมไปจนกว่าช่วงเวลาผลัดเปลี่ยนจะเสร็จสิ้น ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และมีผลต่อ ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม ซึ่งจะทำให้ฟันชุดที่สอง หรือฟันแท้ของลูก งอกออกมาได้อย่างสวยงาม

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม ตั้งแต่เริ่มต้น จนเสร็จสิ้นกระบวนการ กินเวลากว่า 6 ปี การขึ้น และหลุดของฟันน้ำนม เป็นหนึ่งในก้าวย่างการเจริญเติบโตของลูก โดยฟันแท้จะเริ่มดันตัวขึ้นมา ทำให้ฟันน้ำนมเริ่มโยก หลุดร่วง และสละหน้าที่ให้กับฟันแท้ในที่สุด

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม ตั้งแต่เริ่มต้น จนเสร็จสิ้นกระบวนการกินเวลากว่า 6 ปี การขึ้น และหลุดของฟันน้ำนม เป็นหนึ่งในก้าวย่างการเจริญเติบโตของลูก โดยฟันแท้จะเริ่มดันตัวขึ้นมา ทำให้ฟันน้ำนมเริ่มโยก หลุดร่วงลงมา และสละหน้าที่ให้กับฟันแท้ในที่สุด

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนมลูก สำคัญอย่างไร ?

เด็กส่วนใหญ่จะมีฟันแท้ซี่แรก เมื่ออายุราว 6 ขวบ นั่นหมายความว่า จะเป็นช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมเริ่มหลุดเช่นกัน หากแต่ช่วงอายุที่ฟันน้ำนมเริ่มหลุด ไม่สำคัญเท่ากับลำดับการหลุดของฟันน้ำนม และลำดับการขึ้นของฟันแท้ ฟันน้ำนมของเด็กบางคนอาจจะหลุดตั้งแต่ 4 ขวบ หรือบางคนอาจจะเริ่มหลุดค่อนข้างช้า ตอนอายุ 7 ขวบก็เป็นได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ช่วงเวลาผลัดเปลี่ยนชุดฟันของเด็ก ๆ ไม่เท่ากัน ก็มาจากช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมเริ่มต้นงอกออกมาให้เห็น ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 3 เดือน – 1 ขวบครึ่ง หากลูกเริ่มมีฟันน้ำนมให้เห็นเร็ว ฟันชุดแรกนี้ ก็จะหลุดไปเร็ว แล้วก็จะมีฟันแท้เร็วตามไปด้วย

 

Advertisement

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนมเป็นอย่างไร ?

การขึ้นของฟันน้ำนมไม่ได้มีลำดับที่ชัดเจนมากนัก ไม่ฟันซี่หน้า ก็ฟันเขี้ยวที่มักจะโผล่ขึ้นมาให้เห็นก่อนเพื่อน หากแต่การหลุดของฟันน้ำนมนี้ มีลำดับขั้นตอนที่มักจะเหมือนกันในเด็กแต่ละคน

โดยฟันซี่แรกที่มักจะโยกก่อนซี่อื่น ๆ ก็คือ ฟันหน้าสองซี่ล่าง หรือที่เรียกว่าฟันตัด ที่จะหลุดก่อน ต่อด้วยฟันหน้าสองซี่บน จากนั้นจึงจะขยับเข้าด้านข้าง และด้านในคือ ฟันตัดซี่ที่อยู่ด้านข้าง ฟันกรามชุดแรก ฟันเขี้ยว และตบท้ายด้วยฟันกรามชุดที่สอง

 

ฟันน้ำนมแต่ละซี่ จะหลุดตอนที่ลูกอายุเท่าไหร่ ?

ช่วงอายุที่ฟันน้ำนมของลูกจะเริ่มหลุดคือตั้งแต่ 4 – 7 ขวบ แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าลูกมีฟันโผล่ขึ้นมาให้เห็นตอนอายุกี่ขวบ โดยทั่วไปแล้ว เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ จะรู้สึกว่า ฟันน้ำนมสองซี่ด้านหน้าเริ่มจะโยก ตอนอายุประมาณ 5 ขวบ ลูกอาจจะรู้สึกมันเขี้ยว และเอาลิ้นไปดัน ๆ เจ้าฟันโยกเยกคู่นี้ไม่หยุดเลยทีเดียว

ฟันน้ำนมของลูกจะค่อย ๆ ผลัดกันโยก และหลุดออกไป กระทั่งมีฟันแท้ซี่ใหม่เข้ามาทดแทน จนถึงอายุ 8 – 13 ปี ฟันแท้เกือบครบทุกซี่ ยกเว้นฟันกรามด้านในสุด ก็จะขึ้นมาเรียงกันอย่างสวยงาม และไม่มีควรจะมีฟันน้ำนมเหลืออยู่แล้วในตอนนี้

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม

ช่วงอายุที่ฟันน้ำนมของลูกจะเริ่มหลุดคือตั้งแต่ 4 – 7 ขวบ แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าลูกมีฟันโผล่ขึ้นมาให้เห็นตอนอายุกี่ขวบ โดยทั่วไปแล้ว เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ จะรู้สึกว่า ฟันน้ำนมสองซี่ด้านหน้าเริ่มจะโยก ตอนอายุประมาณ 5 ขวบ

ฟันแท้ซี่แรกของลูก จริง ๆ แล้วอยู่ตรงไหน ?

คุณแม่หลายท่านอาจจะคิดว่า ฟันน้ำนมคู่หน้าที่มักจะโยกก่อนใครเพื่อน จะเป็นตำแหน่งที่ฟันแท้ซี่แรกจะงอกออกมา อันที่จริง ฟันแท้ซี่แรกของลูกได้โผล่ขึ้นมา ตั้งตระหง่านอยู่ก่อนที่ฟันน้ำนมคู่หน้าจะโยกเสียอีก โดยตำแหน่งของฟันแท้ซี่แรกนี้ คือฟันกรามซี่ในสุดบนสันเหงือก เมื่อคุณแม่จับดูแล้วรู้สึกถึงอะไรแข็ง ๆ ใต้เหงือกด้านในสุดของลูก ก็แสดงว่าฟันแท้ซี่แรกของลูกกำลังจะงอกออกมาแล้ว

 

ฟันน้ำนมโยก แต่ไม่หลุด จำเป็นไหมต้องไปหาหมอ ?

ฟันน้ำนมหลุดมักจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด แม้ว่าจะน่ารำคาญไปบ้าง แต่ไม่ควรจะสร้างความเจ็บปวด แสนสาหัสอะไรขนาดนั้น ทันตแพทย์บางท่านอาจจ่ายยาแก้ปวด หรือแนะนำให้ประคบเย็น เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด เมื่อฟันเริ่มโยก คุณพ่อคุณแม่สามารถบอกให้ลูกขยับ หรือโยกฟันไปมาเบา ๆ เป็นระยะ หากฟันโยกมาก ๆ เข้า ลองหมุนฟันเบา ๆ ก็อาจจะช่วยให้ฟันหลุดได้เร็วขึ้น แต่สิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ การกระชากฟันที่เริ่มโยกให้หลุดออกทันที เพราะอาจจะเป็นการทำลายเส้นประสาท หรือรากฟันได้

โดยปกติ ฟันน้ำนมที่โยก จะสามารถหลุดออกได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์ เพื่อถอนฟันเสียด้วยซ้ำ หากแต่ฟันน้ำนมที่โยกนั้น ไม่ยอมหลุดออกมา และน่ารำคาญเสียเต็มที่ ก็สามารถไปพบคุณหมอ เพื่อถอนออกได้

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม

ฟันน้ำนมหลุดมักจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด แม้ว่าจะน่ารำคาญไปบ้าง แต่ไม่ควรจะสร้างความเจ็บปวดแสนสาหัสอะไรขนาดนั้น ทันตแพทย์บางท่านอาจจ่ายยาแก้ปวด หรือแนะนำให้ประคบด้วยความเย็น เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด

ปัญหาอะไรบ้าง ที่อาจเกิดจากฟันน้ำนมไม่หลุดตามลำดับ ?

  • ฟันเก ฟันซ้อน

หนึ่งในหน้าที่ของฟันน้ำนมก็คือการจับจองพื้นที่ว่างเอาไว้ รอจนกว่าฟันแท้จะพร้อม และงอกขึ้นมาทดแทน การที่ฟันน้ำนมของลูกหลุดก่อนถึงเวลาอันเหมาะสม สาเหตุจากฟันผุ ฟันไม่แข็งแรง โรคเหงือก และอื่น ๆ อาจจะทำให้ฟันแท้งอกออกมามีลักษณะเก หรือเบี้ยว เช่นเดียวกันกับกรณีที่ฟันน้ำนมหลุดช้าเกินไป ก็อาจจะทำให้ฟันแท้ที่อยู่ใต้เหงือกไม่อาจดันให้ฟันน้ำนมหลุดออกไป ฟันแท้อาจจะงอกขึ้นมาซ้อนกับฟันน้ำนม จึงทำให้เกิดฟันเก ฟันซ้อนได้

อย่างไรก็ตาม การเกิดฟันเก หรือฟันซ้อน อาจจะไม่ได้มีสาเหตุมาจากลำดับการหลุดของฟันน้ำนมเสียทีเดียว กล่าวคือ แม้ว่าจะถอนฟันน้ำนมออกตามเวลาที่เหมาะสม ก็อาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาฟันซ้อน หรือฟันเกได้ หากลักษณะฟันยังเป็นเช่นนี้ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะฟันซ้อน หรือฟันเก สร้างปัญหาอื่น ๆ ในช่องปากได้ในอนาคต

  • ฟันหลอ สาเหตุจากฟันหลุดก่อนกำหนด

ฟันน้ำนมที่หลุดก่อนกำหนด จากฟันผุ หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ จะทำให้ลูกฟันหลอชั่วคราวอย่างแน่นอน ซึ่งการรักษาพื้นที่ว่างเอาไว้สำหรับฟันแท้ สามารถทำได้โดยใส่เครื่องมือที่เรียกว่า Space maintainer ซึ่งจะช่วยรักษาขนาดช่องว่างระหว่างฟัน เพื่อรอให้ฟันแท้งอกขึ้นมาตามเวลาที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาฟันเก ฟันซ้อน เนื่องจากฟันน้ำนมหลุดเร็วเกินไปได้ หากฟันน้ำนมของลูกหลุดก่อนอายุ 4 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรพาลูกไปปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเช่นกัน

  • ฟันน้ำนมหลุดช้า หรือไม่ยอมหลุด

นอกจากจะมีกรณีที่ฟันน้ำนมหลุดก่อนอายุ 4 ขวบแล้ว ก็ยังมีกรณีที่ลูกอายุ 8 ขวบ แต่ฟันน้ำนมก็ยังไม่ยอมโยก และหลุดไปเสียที ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาในช่องปาก หรือไม่ก็ได้ ทางที่ดีคุณแม่ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ เพื่อเอกซเรย์ดูว่าฟันแท้ของลูกเป็นอย่างไร

โดยปกติแล้วฟันน้ำนมจะโยก ก็ต่อเมื่อถูกฟันแท้ที่อยู่ด้านล่างดันขึ้นมาเพื่อจะแทนที่ หากกระบวนการนี้ไม่เกิดขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าลูกน้อยจะมีฟันแท้ไม่ครบทุกซี่

  • ฟันเกิน

กรณีที่มีจำนวนฟันในปากมากเกิน ก็อาจจะทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดปกติได้เช่นกัน

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม

แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง แต่ละครั้งต้องนานมากกว่าหนึ่งนาที ลูกควรใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟัน เพื่อขจัดคราบ และเศษอาหารตามซอกฟัน ป้องกันฟันผุ และโรคเหงือก

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ควรดูแลฟันแท้ที่ขึ้นใหม่อย่างไรบ้าง ?

หลังจากจัดการกับฟันน้ำนมที่หลุดไปแล้ว การดูแลฟันแท้ที่ขึ้นใหม่เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ ครึ่งปี และสอนลูกเรื่องการแปรงฟันให้ถูกวิธี เช่น ต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง แต่ละครั้งต้องนานมากกว่าหนึ่งนาที ลูกควรใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟัน เพื่อขจัดคราบ และเศษอาหารตามซอกฟัน ป้องกันฟันผุ และโรคเหงือก การรู้จักรักษาอนามัยในช่องปากตั้งแต่ยังเล็กเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้นิสัยนี้ติดตัวไป จนถึงวัยผู้ใหญ่


source : stlouisbraces

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีทำให้ลูกแปรงฟัน

ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

เช็กด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม และวิธีดูแลฟันน้ำนมให้หลุดตามเวลาที่เหมาะสม
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว