X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระวัง! ฟันไม่เหลือ เมื่อลูกติดขวดนม

บทความ 5 นาที
ระวัง! ฟันไม่เหลือ เมื่อลูกติดขวดนม

คุณแม่ทราบไหมคะว่า การให้ลูกหลับคาขวดนมนั้น ส่งผลต่อลูกขนาดไหน เมื่อลูกนอนหลับไปพร้อมขวดนม คราบนมที่ตกค้างในปากจะถูกแบคทีเรียในปากย่อยจนเกิดสารที่ทำให้ฟันผุกร่อนได้ แม้จะเป็นฟันน้ำนมก็ไม่ควรปล่อยให้ผุนะคะ

ลูกติดขวดนม อาจไม่ดีต่อสุขภาพช่องปาก ปัญหาที่ควรระวัง<!--first-para-->

ลูกติดขวดนม อาจไม่ดีต่อสุขภาพช่องปาก ปัญหาที่ควรระวัง

เด็กๆ ควรเลิกดูดนมจาก ขวดตั้งแต่อายุ 1 ขวบ แต่ถ้ายังทำไม่ได้ ก็ผ่อนผันให้ได้จนถึงอายุ 1 ขวบครึ่ง การดูดนมจากขวดเกินกว่าอายุ 1 ขวบครึ่งหรือ 2 ขวบ มักจะทำให้เด็กๆ ติดใจการดูด อยากดูดนมมากกว่าจะรู้สึกหิวจริงๆ ตื่นขึ้นมากลางดึก ก็มักจะร้องหาขวดนม และบ่อยครั้งที่นอนหลับคาขวดนม

หากเด็กๆ เลิกดูดนมจากขวดช้าเกินไป ผลเสียที่จะตามมามีมากมาย

ประการแรก เมื่อกินแต่นม ก็จะทำให้อิ่ม และไม่ยอมกินข้าวหรืออาหารอื่นๆ ทำให้ขาดวิตามินและแร่ธาตุบางอย่างที่อาจมีไม่พอในนม เช่น วิตามินซี
ประการที่ 2 หากกินแต่นม และกินมากเกินไป ก็จะทำให้กลายเป็นเด็กอ้วนได้
ประการที่ 3 เมื่อกินแต่นม ซึ่งมีกากอาหารน้อย ก็จะทำให้ท้องผูกได้
ประการที่ 4 หากกินแต่นม ความหวานจากนม ประกอบกับการดูดนมจนหลับคาขวด โดยไม่ได้ดื่มน้ำตาม จะทำให้มีคราบนมติดอยู่ที่ฟัน ทำให้ฟันผุได้

หากเด็กติดขวดนมไปจนถึงอายุ 3 ขวบ นอกจากฟันจะผุแล้ว ยังอาจทำให้ฟันยื่น แถมยิ่งโต เด็กก็ยิ่งดื้อ จนไม่ยอมเลิกง่ายๆ

จากสถิติพบว่า เด็กอายุ 2-3 ขวบ ที่ยังคงดูดนมจากขวด มีถึงร้อยละ 80 …อายุ 4 ปี ก็ยังมีให้เห็นถึงร้อยละ 45 …เด็กอายุ 8 ปีที่ยังดูดนม ก็ยังพบได้ แปรงฟันก่อนนอนแล้ว ก็ยังคว้าขวดนมมาดูด และหลับคาขวดนม พบอีกร้อยละ 44

ลูกติดขวดนม

หากคุณมีลูกวัยต่ำกว่า 5 ขวบ และสังเกตเห็นว่า ฟันของลูกมีสีดำและผุ อย่าไปตำหนิลูกเลยค่ะ ต้นเหตุอาจเป็นเพราะคุณนั่นแหละที่ทำให้ฟันของลูกเป็นเช่นนั้น

Huffington Post รายงานว่า โรคฟันผุในเด็กเล็ก หรือ Nursing Bottle Syndrome (NBS) เกิดจากฟันของลูกมีการสัมผัสกับของเหลวที่ประกอบด้วยน้ำตาล เช่น นม นมผง น้ำผลไม้ เป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดฟันผุ เพราะเหตุนี้ จึงมักพบเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกอุดฟัน ครอบฟัน หรือถอนฟัน ทั้งที่อายุยังไม่ถึง 2 ขวบด้วยซ้ำ

Humairah Shah ทันตแพทย์ผู้เขียนรายงานดังกล่าว เปิดเผยว่า จำนวนเด็กวัยเตาะแตะที่ต้องเข้ารับการรักษาฟันเนื่องจากฟันผุเพราะติดขวดนม เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในรอบสิบปีที่ผ่านมา

ลูกติดขวดนม อาจไม่ดีต่อสุขภาพช่องปาก ปัญห าที่ควรระวัง

ลูกติดขวดนม อาจไม่ดีต่อสุขภาพช่องปาก ปัญห าที่ควรระวัง

สิ่งที่น่าผิดหวังที่สุด ก็คือ วิธีการแก้ปัญหานั้นแสนง่ายและสะดวก แต่พ่อแม่กลับปล่อยปละละเลยลูก

เมื่อเด็กนอนหลับทั้งที่ยังคาบขวดนมอยู่ คราบนมจะยังคงตกค้างในปากตลอดทั้งคืน เชื้อแบคทีเรียในปากจะย่อยน้ำตาลให้เป็นกรด ซึ่งทำให้เกิดฟันผุ

คุณหมอแนะนำว่า เมื่อลูกอายุ 1 ขวบขึ้นไป ควรให้ลูกดื่มน้ำตาม และเช็ดฟันให้ลูกทุกครั้งหลังจากดูดนมมื้อกลางคืน เพื่อชะล้างคราบนมที่ตกค้างในปากให้เหลือน้อยที่สุด หากทำเป็นประจำก็จะช่วยลดโอกาสที่ลูกจะฟันผุได้

อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีคือ คุณแม่ควรค่อยๆ ลดความถี่ในการทานนมมื้อดึกลง

ฟันผุในเด็กเล็ก

วิธีป้องกันฟันผุเพราะติดขวดนม

เห็นภาพแล้ว คุณแม่คงไม่อยากให้ลูกฟันผุใช่ไหมคะ ทันตแพทย์ Humairah มีวิธีป้องกันลูกฟันผุเพราะติดขวดนมาฝาก

  • ฝึกลูกเลิกขวดนมแต่เนิ่นๆ ไม่เกินอายุ 12-14 เดือน
  • ไม่ปล่อยให้ลูกเดินไป ถือขวดนมดูดไปด้วย นานกว่า 20 นาที
  • เริ่มแปรงฟันให้ลูก ตั้งแต่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น หรือเช็ดฟันด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำ
  • ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุ 12 เดือนหรือเร็วกว่านั้น ถ้าพบว่าลูกมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน
  • ควรหลีกเลี่ยง น้ำผลไม้ โซดา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ฟันถูกกัดกร่อน สามารถให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ได้ไม่เกิน 4 ออนซ์ต่อวันเท่านั้น
  • เด็กควรรับประทานอาหารทุก 2-3 ชั่วโมง
  • อาจจัดตารางเวลาอาหารประจำวัน ดังนี้ มื้อเช้า 8 โมง ของว่าง 10 โมง มื้อกลางวัน เที่ยงตรง และอื่นๆ
  • ระหว่างมื้ออาหารควรดื่มน้ำเท่านั้น

วิธีเลิกนมมื้อดึก

คุณแม่สามารถฝึกลูกหย่านมมื้อดึกได้หลายวิธี

  1. ใช้จุกหลอก
  2. ให้ดูดน้ำเปล่า
  3. ชงนมให้เจือจางลงเรื่อยๆ
  4. ตบก้นให้ลูกหลับต่อ หรือร้องเพลงกล่อม เมื่อลูกตื่นกลางดึก

หากลูกร้อง ก็ต้องยอมปล่อยให้ร้องค่ะ อย่าลืมทำความเข้าใจกับสมาชิกในบ้านด้วยว่า กำลังฝึกเลิกนมมื้อดึกอยู่ โดยคืนแรกลูกอาจร้องนาน 1-2 ชั่วโมง คุณแม่ต้องอดทนหน่อย เขาจะร้องจนเหนื่อยแล้วหลับไปเอง วันต่อๆ มาจะร้องน้อยลง จนไม่ตื่นมากลางดึกอีกภายใน 1-2 สัปดาห์ทุกอย่างก็จะเข้าที่

ที่มา sg.theasianparent.com, breastfeedingthai.com

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกฟันผุ ลูกไม่แปรงฟัน ทำไงดี? อ่านคำตอบจากทันตแพทย์ได้ที่นี่

การดูแลช่องปากและฟันสำหรับเด็ก

TAP-ios-for-article-footer-with button

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ระวัง! ฟันไม่เหลือ เมื่อลูกติดขวดนม
แชร์ :
  • ป้องกันฟันผุ เมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน

    ป้องกันฟันผุ เมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน

  • 7 สิ่งที่คุณแม่ทำได้ เมื่อลูกนอนหลับ

    7 สิ่งที่คุณแม่ทำได้ เมื่อลูกนอนหลับ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ป้องกันฟันผุ เมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน

    ป้องกันฟันผุ เมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน

  • 7 สิ่งที่คุณแม่ทำได้ เมื่อลูกนอนหลับ

    7 สิ่งที่คุณแม่ทำได้ เมื่อลูกนอนหลับ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ