X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร ใครอยากมีลูกต้องตรวจก่อน

บทความ 5 นาที
ตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร ใครอยากมีลูกต้องตรวจก่อน

ก่อนที่จะมีเจ้าตัวน้อย อาจต้องระวังโรคทางพันธุกรรม ตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์ สำคัญมาก หากกำลังวางแผนจะมีลูก แต่ยังไม่เคยตรวจ เราแนะนำให้ตรวจ เพื่อหาพาหะที่อาจซ่อนอยู่ และปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกในการมีลูกกรณีที่พบว่าคู่รักคนใดคนหนึ่งมีพาหะซ่อนอยู่

 

ธาลัสซีเมีย คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือโรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง ที่สามารถถ่ายทอดได้ผ่านทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ทารกน้อยได้ โรคนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติของร่างกายในกระบวนการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โปรตีนที่สำคัญในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดแดงไม่ได้มีปริมาณมากเท่าปกติ จะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายตามความหนักเบาของโรคนี้ เช่น ผิวเหลือง, เหนื่อยล้าได้ง่าย หรือมีปัสสาวะสีเข้ม เป็นต้น

โรคธาลัสซีเมียที่น่าเป็นห่วงเมื่อทารกได้รับไป มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย (Alpha-Thalassemia) ที่ทำให้ทารกเสียชีวิตได้ และเบต้า-ธาลัสซีเมีย (Beta-Thalassemia) ที่อาจไม่รุนแรงถึงขั้นทารกเสียชีวิต แต่จะส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ และต้องได้รับเลือดตั้งแต่เด็กด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง :เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอันตรายต่อแม่และลูกในครรภ์สูง

 

วิดีโอจาก : TNN Online

 

ตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์ ทำไมจึงสำคัญ

ด้วยโรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม และสามารถแอบแฝงได้ โดยมากผู้ป่วยที่เป็นพาหะ หรือมียีนแฝงมักไม่รู้ตัว จนผ่านการตรวจเลือดถึงจะรู้ คุณพ่อคุณแม่ที่มีพาหะอาจรู้สึกว่าตนเองสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ได้ส่งผลเสียที่ชัดเจนมาก เลยคิดว่าถ้ามีลูกก็คงมาเป็นไร จริง ๆ แล้วโรคนี้อันตรายมาก หากไม่ตรวจก่อนที่จะตั้งครรภ์ เนื่องจากหากคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะชนิดรุนแรง ก็จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคนี้ชนิดรุนแรงได้เช่นกัน

ด้วยอาการของโรคนี้ในระดับที่รุนแรง สามารถส่งผลให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงในระดับเรื้อรัง คือ เกิดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ ยิ่งถ้าเป็นอาการรุนแรงมากขึ้น สามารถทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหลังจากคลอดได้ไม่นาน การตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญสำหรับคู่รักที่ต้องการความปลอดภัยที่มากขึ้น ก่อนให้กำเนิดทารกน้อยในอนาคต

 

การตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์มีกี่แบบ

โดยทั่วไปหากต้องการตรวจหาโรคนี้ก่อนที่จะวางแผนมีบุตร สามารถตรวจผ่านการตรวจเลือด ซึ่งมีอยู่ 3 วิธีที่มักใช้กัน โดยความละเอียดของการตรวจนั้น ก็ขึ้นอยู่กับราคาของวิธีที่เลือกตรวจ ดังนี้

 

  • การตรวจคัดกรอง (Screening test) : เป็นวิธีการตรวจเบื้องต้นที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากมีขั้นตอนในการตรวจที่ไม่มาก สามารถตรวจได้อย่างรวดเร็ว รอผลไม่นาน แต่การตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่ละเอียดเท่ากับวิธีอื่น ๆ เพราะจะไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดไหน
  • ตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin typing) : เป็นวิธีการตรวจที่ละเอียด และราคาสูงกว่าการตรวจแบบคัดกรอง เพราะการตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน สามารถหาชนิดต่าง ๆ ของฮีโมโกลบินได้ ทำให้ระบุชนิดของโรคได้ด้วย แต่อาจมีข้อจำกัด หากผู้ที่เข้ารับการตรวจมียีนธาลัสซีเมียแบบแฝงมากกว่า 1 ชนิด การตรวจนี้สามารถตรวจได้ผ่านโรงพยาบาลขนาดใหญ่
  • ตรวจดีเอ็นเอ (DNA analysis) : เป็นการตรวจที่ละเอียดแม่นยำที่สุด ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้หาได้ยาก เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือแพทย์ระดับสูง ใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจมากที่สุด ในรูปแบบการตรวจทั้งหมดที่กล่าวมา

 

ตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์

 

ก่อนตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวอย่างไร

ในขั้นตอนการตรวจโดยปกติแล้ว ไม่ได้มีขั้นตอนมาก และใช้การตรวจเลือดเป็นหลัก การตรวจทั้ง 3 แบบที่กล่าวมานี้ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อน ไม่ต้องงดน้ำ ไม่ต้องงดอาหารก่อนเข้ามาทำการตรวจ ในขั้นตอนการตรวจจะใช้การเก็บเลือดน้อยมากเพียงประมาณ 2 – 3 ซีซีเท่านั้น อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเดินทางไปตรวจ คู่รักควรสอบถามสถานพยาบาลที่จะตรวจก่อนว่าควรรู้อะไรบ้าง หรืออาจมีการเตรียมตัวเฉพาะของแต่ละที่แบบไหนบ้าง เพราะสถานพยาบาลบางแห่งอาจมีคำแนะนำที่แตกต่างกัน การสอบถามข้อมูลไว้ก่อน ถือเป็นการเตรียมตัวที่ดี

 

หากตรวจพบธาลัสซีเมียจะมีลูกได้อยู่ไหม

การตรวจพบโรคนี้สามารถมีลูกได้ตามปกติ เพียงแต่ยังมีโอกาสที่ลูกน้อยจะได้เป็นพาหะ หรือเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อตรวจพบ ควรแนะนำให้บุคคลในครอบครัวตรวจด้วยเมื่อมีโอกาส ถึงแม้ว่าทารกจะมีความเสี่ยงแต่ความเสี่ยงจะมาก หรือจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับกรณีต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ศึกษาได้จากหัวข้อต่อไป

 

ตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์ 2

 

ความเสี่ยงของธาลัสซีเมียจากพ่อแม่สู่ลูก

หากไม่เคยตรวจหาโรคนี้มาก่อน ไม่ได้หมายความว่าคู่รักจะปลอดภัยแน่นอน 100 % เพราะโรคนี้สามารถหลบซ่อนในรูปแบบของพาหะ หรือยีนแฝงได้ ทำให้อาการไม่ชัดเจน และไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหน ก็สามารถส่งต่อสู่ทารกในครรภ์ได้ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงดังต่อไปนี้

 

  • หากคุณพ่อ และคุณแม่เป็นธาลัสซีเมียทั้งคู่ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคนี้ด้วยแน่นอน 100 %
  • หากมีคนใดคนหนึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมีย แต่อีกคนไม่ได้เป็น และไม่มีพาหะด้วย จะทำให้ลูกมียีนแฝง หรือเป็นพาหะ 100%
  • คุณพ่อ และคุณแม่มียีนแฝงทั้งคู่ หรือคนใดคนหนึ่งมีพาหะ แต่อีกคนปกติ ลูกจะเป็นปกติ 50 % และมีโอกาสเป็นพาหะ 50 %
  • กรณีคุณพ่อ หรือคุณแม่เป็นธาลัสซีเมีย ส่วนอีกคนมียีนแฝงอยู่ หรือเป็นพาหะ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรค 50 % และมีโอกาสเป็นพาหะ 50 %
  • กรณีคนใดคนหนึ่งมียีนแฝง หรือเป็นเพียงพาหะทั้งคู่ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นธาลัสซีเมีย 25 % มีโอกาสเป็นปกติ 25 % และลูกจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นพาหะ 50 %

 

อย่างไรก็ตามด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน คู่รักสามารถเลือกกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการตรวจยีนตัวอ่อน แล้วค่อยนำใส่กลับสู่มดลูก การตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ทารกที่เกิดมาเป็นโรคชนิดรุนแรงได้ หากคู่รักตรวจพบ และต้องการมีบุตร ให้ปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางที่ถูกต้อง และปลอดภัยสำหรับทุกฝ่าย

 

ยังมีอีกหลายโรคที่คู่รักควรให้ความสำคัญ ก่อนที่จะวางแผนมีลูกเราอยากแนะนำให้ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เอาไว้ก่อน พยายามตรวจให้ครอบคลุม หลากหลาย โดยเฉพาะโรคที่สามารถส่งผ่านจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ด้วย

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

 

ถ้าหากพบอาการเหล่านี้แล้วหล่ะก็ อย่าชะล่าใจ รีบจูงมือคุณพ่อพาไปพบแพทย์เพื่อรีบรักษานะคะ ศึกษาเรื่องโลหิตจางของคนท้องเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 ยี่ห้อ อาหารเสริมธาตุเหล็ก คนท้อง ยี่ห้อไหนดี ป้องกันโรคโลหิตจาง

โรคธาลัสซีเมียคนท้อง โลหิตจาง รักษา หรือป้องกันได้อย่างไร ?

5 เมนู อาหารเพิ่มเม็ดเลือดแดงคนท้อง คนท้องเลือดจางควรกินอะไร ?

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ก่อนตั้งครรภ์
  • /
  • ตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร ใครอยากมีลูกต้องตรวจก่อน
แชร์ :
  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
    บทความจากพันธมิตร

    ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
    บทความจากพันธมิตร

    ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว