X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอันตรายต่อแม่และลูกในครรภ์สูง

บทความ 5 นาที
เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอันตรายต่อแม่และลูกในครรภ์สูง

โรคเลือดจางมักเกิดจากการรับประทานอาหารไม่ถูกส่วน เนื่องจากผู้หญิงบางคนกลัวรูปร่างเสียจึงไม่ค่อยชอบอาหารที่มีคุณค่าเสริมสร้างร่างกาย และอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เป็นโรคเรื้อรัง หรือมีพยาธิปากขอที่คอยดูดเลือดจากลำไส้ของเรา หรืออาจมีการเสียเลือดจากริดสีดวงทวาร เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย เป็นต้น ยิ่งถ้าเกิด เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ยิ่งอันตรายไปแล้วใหญ่

ป้องกัน เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์

  • อาการเลือดจางเนื่องจากคุณแม่ขาดธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการหล่อเลี้ยงลูกในท้อง ขณะตั้งครรภ์คุณแม่ต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นกว่าเดิม
  • ควรเน้นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง กรดโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มักจะมีอยู่ในหอย ปลา ถั่วต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโอ๊ต แครอท แคนตาลูป ฟักทอง อะโวคาโด ผลไม้แห้ง ลูกพีช อินทผลัม กล้วยตาก และจมูกข้าวสาลี

สาเหตุ วิธีการป้องกัน และการดูแลตัวเองของแม่ท้องระหว่างตั้งครรภ์ ติดตามได้ในบทความเลยค่ะ

 

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์

จะรู้ได้อย่างไรว่าเลือดจาง 

เลือดจาง เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงมีฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติ โดยในผู้หญิงที่ไม่ท้องปกติจะมีค่าความเข้มข้นของเลือดอยู่ที่ประมาณ 14 กรัมเปอร์เซ็นต์ (14 กรัมต่อเลือด 100 ซีซี) หากต่ำกว่า 11 กรัมเปอร์เซ็นต์จะถือว่าเลือดจาง

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ถ้าต่ำกว่า 10 กรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นโรคเลือดจาง

คุณหมอจะทำการตรวจหาความเข้มข้นของเลือดเมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน

 

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์อันตรายต่อแม่อย่างไร

เนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์นั้น ร่างกายคุณแม่จะมีน้ำเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าภาวะปกติ จึงทำให้ความเข้มข้นของเลือดจางลงกว่าปกติ โดยระดับของฮีโมโกลบินจะค่อย ๆ ลดลง จนถึงช่วงเดือนที่ 7 จะลดลงมาก และกลับสู่ค่าปกติหลังคลอดแล้ว 6 สัปดาห์

อย่างไรก็ตามการลดลงของฮีโมโกลบินในระดับปกติสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรต่ำกว่า 10 กรัมเปอร์เซ็นต์ เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์อาการ ดังนี้

  1. อ่อนเพลีย ซีด เหนื่อยง่าย เป็นลมบ่อย เวียนศีรษะ และเบื่ออาหาร
  2. เสี่ยงแท้ง และคลอดก่อนกำหนด
  3. มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ทำให้คลอดยาก หมดแรง และมีโอกาสติดเชื้ออักเสบได้ง่าย
  4. ตกเลือดระหว่างคลอด หลังคลอด และช็อก

อาการดังกล่าวจะเป็นมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับว่าเลือดจางมากแค่ไหน ทั้งนี้แม่ที่มีภาวะเลือดจางมักมีอันตรายจากการคลอด อัตราการตกเลือดและติดเชื้อสูงกว่าแม่ท้องที่เลือดไม่จาง

 

ตั้งครรภ์เลือดจาง โลหิตจางมีลูกได้ไหม ? เลือดจางอันตรายต่อลูกในท้องอย่างไร

โรคเลือดจางนอกจากจะเป็นอันตรายต่อแม่แล้ว ยังส่งผลร้ายแรงต่อลูกน้อยด้วย เนื่องจากเลือดที่ไปเลี้ยงรกจะมีออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ทำให้ออกซิเจนส่งไปยังทารกน้อยกว่าที่ควรจะได้รับ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อลูก ดังนี้

  1. ถ้าแม่เลือดจางมาก ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
  2. ลูกมีโอกาสที่จะคลอดออกมาแล้วเสียชีวิต
  3. เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกคลอดน้อย
  4. มีความพิการแต่กำเนิดสูง
  5. ลูกมีโอกาสเป็นโรคเลือดจาง

 

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์

เลือดจางตอนตั้งครรภ์ทำอย่างไร

หากเลือดจางจากโรคเลือดทางพันธุกรรม หรือธาลัสซีเมียนั้น ไม่สามารถป้องกันได้ ส่วนผู้ที่เลือดจางเพราะพยาธิปากขอคุณหมอสามารถให้ยาถ่ายพยาธิปากขอ เพื่อลดการเสียเลือดได้ แต่สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้อยู่ในภาวะดังกล่าว ก่อนตั้งครรภ์ก็มีสุขภาพดีเป็นปกติ สามารถป้องกันภาวะเลือดจางได้ด้วยการกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กที่คุณหมอจ่ายให้มาตอนที่ไปตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีความต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น ซึ่งอาหารประจำวันนั้นมีธาตุเหล็กเพียง 10-15 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เพียงร้อยละ 10 นั่นหมายความว่า คุณแม่จะได้รับธาตุเหล็กจากอาหารเข้าไปในระบบทางเดินเลือดเพียงวันละ 1-1.5 มิลลิกรัมเท่านั้น ดังนั้น หากรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนก็มีโอกาสเกิดเลือดจางได้ง่าย

ธาตุเหล็กจำเป็นต่อร่างกายแม่ท้องอย่างไร

เมื่อร่างกายได้รับธาตุเหล็กจะถูกนำไปใช้ในการ

  1. สร้างฮีโมโกลบิน
  2. สร้างสารที่จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์
  3. เก็บสำรองไว้ในตับ ม้าม และไขกระดูก
  4. ถูกขับออกทางเหงื่อ ปัสสาวะและอุจจาระ
  5. เอาไปให้ทารกเพื่อสร้างอวัยวะต่างๆ
  6. สร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
  7. สูญเสียไปขณะคลอด
  8. ออกมากับน้ำนมแม่

เห็นไหมคะว่า ธาตุเหล็กจำเป็นต่อคุณแม่และคุณลูกมากแค่ไหน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องได้รับธาตุเหล็กเสริมให้มากเพื่อความสมบูรณ์ของทั้งคุณแม่และลูกน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ที่คนท้องควรกิน มีอะไรบ้าง?

 

หากคุณหมอตรวจพบว่าคุณแม่มีภาวะเลือดจางระหว่างตั้งครรภ์รักษาอย่างไร

คุณหมอจะหาสาเหตุของเลือดจาง หากเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก คุณหมอก็จะให้กินยาเสริมธาตุเหล็ก หากเลือดจางมากอาจพิจารณาให้เลือดด้วย รวมถึงขณะคลอดอาจต้องเตรียมเลือดไว้ 1-2 ขวด เพื่อใช้ในกรณีมีการตกเลือด ซึ่งอาจทำให้ช็อกได้

รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ท้องควรบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และควรรับประทานยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กที่คุณหมอให้มาอย่าได้ขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และลูกได้ค่ะ

ที่มา คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด โดย ศ.(คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์กินอะไร

สำหรับคนท้องที่อยากจะหาอาหารเสริมบำรุงเลือดด้วยตนเองที่บ้าน อาหารที่อยากจะแนะนำเลยให้เน้นไปที่ส่วนประกอบที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ จะเป็นปลาทะเลก็ได้ หรือจะเลือกเป็นอาหารทะเลเป็นครั้งคราวก็ดี สำหรับสูตรอาหารชีวจิตของคนเป็นเลือดจาง คือ ให้ลดข้าว เพิ่มผัก และเพิ่มโปรตีนให้มากขึ้น โดยลดข้าวให้เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ ผักเพิ่มเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนเพิ่มเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ และกินปลาได้อาทิตย์ละ 5 ครั้ง ส่วนอย่างอื่นให้คงเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ตามเดิม ในขณะเดียวกันอาจเลือกเน้นอาหารที่มีธาตุโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มักจะมีอยู่ในหอย ปลา ถั่วต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโอ๊ต แครอท แคนตาลูป ฟักทอง อะโวคาโด ผลไม้แห้ง ลูกพีช อินทผลัม กล้วยตาก และจมูกข้าวสาลี

นอกจากต้องระวังภาวะ เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่แม่ ๆ หมั่นควรสังเกตบ่อย ๆ คืออาการที่ผิดปกติระหว่างที่ตั้งครรภ์ แต่อาการเหล่านั้นมันคืออะไรบ้าง สามารถเช็กได้จากบทความด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

อาการผิดปกติอื่น ๆ ระหว่างตั้งครรภ์

 

1. เด็กดิ้นน้อยลง

โดยปกติคนท้องควรสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ เด็กบางคนก็ดิ้นมากในเวลากลางคืน ในขณะที่เด็กบางคนก็จะเริ่มขยับตัวมากในช่วงเช้า ถ้าคุณแม่รู้สึกได้ว่าลูกในท้องดิ้นน้อยกว่าปกติ หรือไม่เคลื่อนไหวเลย คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะมีบางกรณีที่เด็กเสียชีวิตก่อนคลอดเพียงไม่กี่สัปดาห์ ถึงแม้จะพบไม่มากนัก แน่นอนว่าวิธีการเดียวที่จะรู้ได้ก็คือการสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

 

2. มีเลือดออกทางช่องคลอด

หากคุณมีอาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 คุณจำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้เจ็บปวดรุนแรงและมีเลือดออกมาก ส่วนในกรณีที่คุณมีเลือดออกเล็กน้อยและไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ อาจไม่มีสาเหตุร้ายแรง คุณอาจลองโทรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อดูว่าจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่

 

3. น้ำเดิน

ของเหลวที่ออกมาระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นแค่ของเหลวที่ซึมออกมาตามปกติ ปัสสาวะ หรืออาจเป็นน้ำคร่ำรั่ว ซึ่งบางครั้งก็ยากที่จะระบุชัดเจน (ซึ่งเราขอบอกไว้ก่อนเลยว่าหญิงตั้งครรภ์อาจมีของเหลวไหลออกมามากกว่าปกติโดยเฉพาะในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด) ดังนั้นหากคุณยังไม่ใกล้กำหนดคลอด แต่มีของเหลวไหลออกมามากผิดปกติ คุณควรไปพบแพทย์ทันที ผู้หญิงหลายคนไม่กล้าไปพบแพทย์เพราะเกรงว่าจะเป็นแค่ปัสสาวะ แต่ในหลายกรณี กลับกลายเป็นน้ำเดินก่อนกำหนด ซึ่งเกิดขึ้นได้

 

4. เจ็บท้องก่อนกำหนดคลอด

อาการนี้อาจสังเกตได้ยากหน่อย เพราะอาการ “เจ็บท้องหลอก” อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 และจะมีอาการเจ็บมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนท้อง ฉันมีอาการเจ็บท้องเป็นประจำตั้งแต่สัปดาห์ที่ 27 ตอนท้องลูกคนที่ 3 และถ้าฉันตกใจ ไปโรงพยาบาลทุกครั้งที่เจ็บท้อง ก็คงไปเก้อทุกครั้ง ถ้าคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเจ็บท้องจริงหรือหลอก คุณควรไปพบแพทย์ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้: เจ็บท้องก่อน 37 สัปดาห์ เจ็บเป็นประจำและมีอาการทุก ๆ 2-3 นาที และเจ็บมากขึ้นเวลายืนหรือเดิน อาการปวดท้องต่อเนื่องก่อนกำหนดคลอดอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจคลอดก่อนกำหนด

 

5. รู้สึกผิดปกติ

บางครั้งคุณแม่ทั้งหลายก็อาจต้องเชื่อสัญชาตญาณตัวเอง คุณควรใส่ใจเป็นพิเศษหากคุณรู้สึกถึงความผิดปกติบางอย่าง ไม่ว่าจะก่อนคลอด หรือกำลังจะคลอด แม้ว่าคุณอาจจะบอกไม่ได้ว่าผิดปกติตรงไหน แต่ขอให้เชื่อความรู้สึกตัวเอง ร่างกายของคุณ และของทารก เพราะคุณคือคนเดียวที่รู้สภาพตัวเองดีที่สุด

ถ้าหากพบอาการเหล่านี้แล้วหล่ะก็ อย่าชะล่าใจ รีบจูงมือคุณพ่อพาไปพบแพทย์เพื่อรีบรักษานะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

7 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง ต้องระวัง อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ

ตรวจเลือดตั้งครรภ์ หรือการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือด ตรวจอย่างไร?

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอันตรายต่อแม่และลูกในครรภ์สูง
แชร์ :
  • แม่ท้องรู้ไว้ ท้องแบบไหนเสี่ยง มดลูกแตก

    แม่ท้องรู้ไว้ ท้องแบบไหนเสี่ยง มดลูกแตก

  • 5 วิธีรับมือลดอาการอ่อนเพลียระหว่างตั้งครรภ์

    5 วิธีรับมือลดอาการอ่อนเพลียระหว่างตั้งครรภ์

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • แม่ท้องรู้ไว้ ท้องแบบไหนเสี่ยง มดลูกแตก

    แม่ท้องรู้ไว้ ท้องแบบไหนเสี่ยง มดลูกแตก

  • 5 วิธีรับมือลดอาการอ่อนเพลียระหว่างตั้งครรภ์

    5 วิธีรับมือลดอาการอ่อนเพลียระหว่างตั้งครรภ์

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ