คุณแม่คนไหนที่มีปัญหาการมีบุตรยาก การทำเด็กหลอดแก้วก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดี ๆ และหากคุณแม่คนไหนกำลังมองหา ค่าใช้จ่ายในการทำ เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลรัฐ วันนี้เรารวบรวมมาให้แล้ว จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง ไปดูกันเลย
คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร ?
- คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรเข้านอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม หรือควรนอนอย่างน้อยให้ครบ 7 – 8 ชั่วโมง พร้อมทั้งทานอาหารที่มีประโยชน์ หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ควรงดไปก่อน
- คุณพ่อคุณแม่จะได้รับคำปรึกษารวมถึงขั้นตอนการทำ อัตราความสำเร็จ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเมื่อทำเด็กหลอดแก้ว
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทำเด็กหลอดแก้ว
- รังไข่บวม เนื่องจากฮอร์โมนได้รับการกระตุ้นที่มากจนเกินไป
- ตั้งครรภ์นอกมดลูก เพราะไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ในท่อนำไข่แทนที่จะเป็นมดลูก
- มีความเครียด เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วนั้น ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง
- มีผลข้างเคียงจากยา ซึ่งผลข้างเคียงจากยาทำให้เกิดอาการปวดหัว กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบและอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย
- เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ซึ่งทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์
- เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนในขั้นตอนการเก็บไข่ เช่น การติดเชื้อ มีเลือดออก
- มีโอกาสตั้งครรภ์แฝด ซึ่งหาสุขภาพของคุณแม่ไม่แข็งแรง ก็อาจจะทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวทารกที่น้อยได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : การทำ IVF หรือเด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
ทำแล้วมีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ?
เป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัย ว่าการทำเด็กหลอดแก้วนั้น จะมีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ซึ่งความเป็นไปได้ในการมีลูกจากการทำเด็กหลอดแก้วนั้น ในกลุ่มเพศหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 34 ปี จะมีโอกาสสำเร็จอยู่ที่ 30 – 40 % ในการฝากตัวอ่อนครั้งแรก และอัตราการเกิดลดลงต่ำลงมากในกลุ่มเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากคุณภาพของไข่ในฝ่ายหญิงจะเปลี่ยนแปลงตามอายุ และอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ฝ่ายหญิงมีมดลูกที่ไม่แข็งแรง หรือมดลูกทำงานผิดปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง และเป็นอันตรายหากตั้งครรภ์
ปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากนำตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก
- นอนพัก 1 – 2 ชั่วโมง แล้วกลับไปพักที่บ้านต่ออีก 12 – 24 ชั่วโมง
- ทำงานเบา ๆ ได้ แต่ต้องไม่มีการเกร็งหน้าท้อง
- งดมีเพศสัมพันธ์ ไม่สวนล้างช่องคลอด
- แพทย์จะนัดประมาณอีก 2 สัปดาห์ เพื่อทำการตรวจการตั้งครรภ์
- ห้ามกินยาอื่น ๆ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
- หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ต้องทนรอถึงวันพบแพทย์
ความสำเร็จของการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว
- ขึ้นอยู่กับการตอบสนอง การกระตุ้นของการตกไข่
- ความแข็งแรงของตัวอ่อน
- เพศหญิงที่มีอายุเกิน 40 ปี โอกาสรอดของตัวอ่อน น้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า
- ความพร้อมด้านร่างกายของคุณแม่
- ความพร้อมทางด้วยเศรษฐกิจ เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้ว จะต้องทำหลายครั้ง
- อัตราความสำเร็จของเด็กหลอดแก้ว อยู่ที่ประมาณ 30 – 40 % ต่อการทำ 1 รอบ
เด็กหลอดแก้วใช้เวลาพักฟื้นนานแค่ไหน ?
วิธีการเจาะเก็บไข่ออกมาทางช่องคลอดนั้น คุณแม่สามารถนอนพัก 1 – 2 ชั่วโมง ก็สามารถกลับบ้านได้ ซึ่งแพทย์จะนำไข่ที่ดีที่สุดของสามีที่เตรียมด้วยน้ำยาแล้ว นำไปเลี้ยงในตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน ที่มีอุณหภูมิอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส และเช้าวันถัดมาก็จะนำออกมาตรวจดู หากมีการปฏิสนธิก็เลี้ยงต่ออีก ประมาณ 3 วัน เมื่อตัวอ่อนอยู่ในระยะ 6 – 8 เซลล์ ก็จะนำมาใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก ผ่านช่องคลอด หรือจะเลี้ยงต่ออีก 5 วัน จนกว่าตัวอ่อนอยู่ใน ระยะ Blastocyst แล้วค่อยใส่กลับ
คุณแม่นอนพักประมาณ 2 ชั่วโมง ก็สามารถกลับบ้านได้ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หลังจากที่ใส่ตัวอ่อนแล้ว แพทย์ก็จะให้ยาฮอร์โมน อาจจะเป็นยาฉีด หรือยาสอดช่องคลอด เพื่อให้เยื่อบุของโพรงมดลูกเหมาะแก่การฝังตัว หลังจากใส่ตัวอ่อนประมาณ 12 วัน แพทย์ก็จะนัดมาเพื่อตรวจเลือดดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่
ค่าใช้จ่าย เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลรัฐ
ค่าใช้จ่ายที่เรานำมาให้ เป็นเพียงราคาค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการทำ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
|
โรงพยาบาล |
ค่าใช้จ่าย (โดยประมาณ/รอบ) |
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ |
130,000 – 140,000 บาท |
โรงพยาบาลวชิระ |
50,000 – 200,000 บาท |
โรงพยาบาลศิริราช |
100,000 – 150,000 บาท |
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
100,000 – 300,000 บาท |
โรงพยาบาลราชวิถี |
100,000 – 200,000 บาท |
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า |
150,000 – 250,000 บาท |
โรงพยาบาลรามาธิบดี |
138,000 – 300,000 บาท |
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลเอกชน มีราคาเท่าไหร่ ให้เราแนะนำ
ควรเลือกโรงพยาบาลแบบไหนดี และควรคำนึงถึงอะไรบ้าง?
-
ชื่อเสียงของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงความสามารถของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือชื่อเสียงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการทำเด็กหลอดแก้ว และวางใจในการทำ เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ลดความกังวลลงได้
ควรเลือกโรงพยาบาลในการทำเด็กหลอดแก้วที่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวกสบาย เนื่องจากคุณแม่จะต้องรักษาตามกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องไปพบแพทย์หลายครั้ง เพื่อเจาะเลือก อัลตราซาวนด์ ฉีดยา หรือการทำหัตถการต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีบางครั้งที่ไม่สามารถกำหนดวันเวลาได้ เช่น จะต้องเข้าพบในช่วงที่มีรอบเดือน หรือวันที่ไข่ตกเป็นต้น
หากคุณพ่อคุณแม่มีงบในการรักษาในใจแล้ว ก็สามารถเลือกโรงพยาบาลที่เหมาะกับงบค่าใช้จ่ายที่ตั้งไว้ เพื่อให้ครอบคลุมทุกการรักษานั่นเอง
สำหรับการทำเด็กหลอดแก้วสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ประสบกับปัญหาเรื่องมีบุตรยากได้ แต่อย่างไรก็ตามต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยนะคะว่าโอกาสของเรานั้นมีมากน้อยแค่ไหน และควรเตรียมตัวให้พร้อมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงสำหรับขั้นตอนการทำ พยายามเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คลินิกมีบุตรยาก ช่วยทำให้มีลูกได้อย่างไร มีที่ไหนบ้าง ?
เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลเอกชน มีราคาเท่าไหร่ ให้เราแนะนำ
10 ข้อต้องรู้ ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว เตรียมตัวฝังตัวอ่อนอย่างไรให้สำเร็จ
ที่มา : phyathai, pantip
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!