ลูกละเมอปกติรึเปล่า? การเอาลูกไปนอน หรือ กว่าผู้ปกครอง จะกล่อมให้ลูกหลับได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จะถาม พ่อ แม่ ผู้ปกครองคนไหน ก็คงจะได้คำตอบที่ไม่ต่างกันว่า กว่าจะหลอกล่อให้ลูกไปนอนได้นั้น มันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ลองจินตนาการดูซิว่า ถ้าลูกหลับไปแล้ว แล้วดันลุกขึ้นมาเดินไปเดินมา หรือ พูดขึ้นมาตอนนอน นอกจากจะสร้างความปวดหัวให้เพิ่มอีกแล้ว อาจจะสร้างความกังวล ถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น กับลูก ว่าลูกจะเป็นอะไรจะป้องกันอย่างไรถ้าเกิดกรณีที่ว่า ลูกเดินออกไปข้างนอก แล้วไปเดินชนอะไรเข้า หรือ ล้มจะเป็นอย่างไร ตามผลรายงานทางวิทยาศาสตร์บอกว่า อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับเด็กโต มากกว่าเด็กทารก หรือเด็กแบเบาะ เชื่อว่ามีเด็กที่พบเจออาการนี้มากถึง 25-30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกละเมอเดิน
การละเมอเดินของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างออกไป ไม่เหมือนกันในทุกเคส อาการแบบนี้จะเกิดอยู่ในช่วงระหว่างเวลาไม่เกิน 10 นาที เขาจะลุกขึ้นมาแต่งตัว เปิดประตูและเดินไปมารอบห้อง เด็กบางคนก็อาจจะลืมตา มีความเป็นไปได้น้อยมากที่ลูกจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นการจะไปถามลูกนั้น คำตอบที่ได้คงเป็นว่าเขาไม่รู้ตัว การละเมอพูดก็เช่นเดียวกัน เด็กอาจจะพูดออกมาเป็นคำ เป็นประโยค หรือ พูดอะไรก็ไม่รู้ ที่ไม่สามารถฟังเข้าใจได้ การละเมอพูดนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กคนไหนก็ตาม แต่เหตุผลที่ทำให้การละเมอลักษณะนี้เกิดขึ้นนั้นอาจ เป็นเพราะ ความเหนื่อยล้า หรือ ความเครียด ความกังวลที่อยู่ในหัวเด็ก
วิดีโอจาก : Mahidol Channel
อาการละเมอจะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่?
ส่วนใหญ่แล้วในเด็กเล็ก อาการเหล่านี้ จะเริ่มต้นเมื่อเขาอายุได้ ประมาณ 2 ถึง 3 ปี และเด็กที่มีอายุมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะละเมอมากกว่าเด็กเล็ก ช่วงอายุที่เด็กจะละเมอเดินมากที่สุดเลย พบว่าเป็นอายุ 10 ขวบ
มีเด็กอายุ 3 ถึง 7 ปีมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ละเมอพูดตอนนอน
จะเลิกละเมอเมื่อไหร่?
ในเคสของเด็กทั่วไป อาการแบบนี้จะหายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น แต่ถ้าเด็กคนไหนที่โต คนเกือบจะเข้าช่วงวัยรุ่นแล้ว ยังมีอาการแบบนี้อยู่ ผู้ปกครองอาจจะต้องลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดู เพราะมันเป็นอาการที่ผิดปกติ
พ่อแม่ทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกละเมอ
การละเมอในเด็กอาจแก้ได้ยาก แต่คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถช่วยป้องกันได้ในเบื้องต้นด้วยวิธีดังต่อไปนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ ฝันร้าย เดินละเมอ อันตรายไหม ดูแลและป้องกันอย่างไร
ให้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม
การที่เด็กได้นอนหลับอย่างเพียงพอ จะช่วยให้โอกาสที่จะเกิดอาการเหล่านี้ในเด็กน้อยลง
อย่าพูดคุยกันเยอะมากตอนก่อนนอน
ถ้ามีการพูดคุยกันเยอะในระหว่างช่วงก่อนนอน ลูกอาจจะเก็บคำไปคิดและละเมอได้
ปกป้องลูกไว้ก่อน
ถ้าคุณรู้ว่าลูกละเมอเดิน คอยปกป้องเขาไม่ให้เจอกับอันตราย เก็บกวาดของเล่นให้เรียบร้อย และ จัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก เดินไปชน หรือ ล้ม
พยายามอย่าปลุกลูก
การที่คุณปลุกลูกในระหว่างที่เขาละเมอ จะทำให้เด็กกลับไปนอนได้ยากขึ้น และ อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการละเมอขึ้นอีก เพราะว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนละเมอสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ซึ่งอาจเกิดได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากพ่อหรือแม่เป็นคนนอนละเมอ ลูกก็จะมีโอกาสประมาณร้อยละ 50 ที่จะนอนละเมอเช่นเดียวกัน ลูกชอบนอนละเมอ อาจเป็นปัญหา อย่าปล่อยให้เรื่องที่ดูเหมือนจะธรรมดาผ่านเลยไป
ลูกชอบนอนละเมอ ตื่นผวา เผลอๆไม่ใช่เรื่องธรรมดา มีผลทางอ้อมต่อพัฒนาการ
การนอนละเมอ คือการพูดหรือทำกิริยาอาการต่าง ๆ ในขณะที่กำลังนอนหลับโดยไม่รู้ตัว เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะจำอะไรไม่ได้ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลับลึก คือระยะหลังจากหลับไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง แม้ยังไม่มีรายงานแน่ชัดว่า การละเมอของเด็กหรือลูกตื่นขึ้นมาบ่อย ๆ ตอนกลางคืนจะมีผลต่อพัฒนาการที่เห็นเด่นชัดหรือไม่ แต่ในเด็กที่มีปัญหาการนอนและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องนั้นจะส่งผลถึงพัฒนาการทางอ้อม จะทำให้ฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือ Growth Hormone ทำงานได้ไม่เต็มที่ จะทำให้เจ้าตัวเล็กตื่นนอนมาอย่างไม่สดชื่น ไม่มีสมาธิในการเรียน เล่นไม่สนุก หลับในห้องเรียน ฯลฯ มีผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ที่พ่อแม่จะต้องคอยสังเกตและแก้ไขแล้วล่ะ
การนอนละเมอของเด็ก ๆ นั้นอาจเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ
- มีสิ่งเราที่กระตุ้นก่อนนอน เช่น การดูหนังผี สยองขวัญ ภาพน่ากลัว หรือกิจกรรมในตอนกลางวันที่ตื่นเต้นจนเกินไป ทำให้ลูกจำภาพฝังลึกแล้วเก็บไปนึกถึงในตอนนอน
- สำหรับเด็กบางคนอาจมีระบบประสาทที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงทำให้มักละเมอตื่นกลางดึก
อาการนอนละเมอที่มักเจอในเด็ก
ละเมอฝันผวา
คือ อาการที่นอนหลับอยู่ดี ๆ แล้วตกใจตื่นขึ้นอย่างฉับพลัน บางครั้งก็หวีดร้องด้วย ซึ่งจะแตกต่างจากฝันร้ายตรงที่ลูกจะจดจำอะไรไม่ได้เลย ส่วนใหญ่จะเกิดในเด็กอายุ 4-7 ปี กรณีนี้เกิดขึ้นได้กับเด็กที่ระบบประสาทยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้การจัดเรียงข้อมูลในสมองทำงานไม่เป็นระเบียบ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ในวันที่ลูกรู้สึกเครียด มีปัญหาทางอารมณ์
เมื่อลูกผวาตกใจตื่นหรือพร้อมขึ้นมากับเสียงกรี๊ด หวีดร้อง ให้อุ้มลูกมากอดไว้ ลูบหัว ตบก้น โยกตัวเบา ๆ และปลอบโยนลูกให้นอนต่อ เพราะการละเมอลักษณะนี้เมื่อลูกตื่นขึ้นมาจะจำอะไรไม่ได้ และการใช้วิธีปลุกลูกให้ตื่นจากละเมอเพื่อมาสอบถามนั้นไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง แทนที่ลูกจะตื่นมาร้องแค่ 5 นาที อาจยิ่งทำให้มีอาการแบบนี้นานขึ้นไปอีกก็ได้
ลูกละเมอเดิน
อาการแบบนี้มักเกิดกับเด็กโต เป็นการละเมอเพื่อเดินไปรอบห้อง หรือเดินออกไปนอกห้องหรือนอกบ้านแบบที่ไม่รู้ตัว เมื่อตื่นขึ้นก็จำอะไรไม่ได้เช่นกัน ละเมอลักษณะนี้ถือว่าอันตรายต่อลูกมาก เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ หากสังเกตว่าลูกมีการละเมอแบบนี้แต่ยังมีอาการไม่มาก คุณพ่อคุณควรปรับห้องนอนของลูกและสภาพแวดล้อมให้โล่งเพื่อป้องกันการเดินชนสิ่งกีดขวางหรือมุมโต๊ะที่อาจเป็นอันตราย ควรหลีกเลี่ยงเตียงสองชั้น ประตูหน้าต่างหรือระเบียงห้องต้องล็อกเพื่อป้องกันไม่ให้ละเมอเดินออกไปข้างนอก หากมีอาการมากก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนคนเดียว
ลูกละเมอปกติรึเปล่า คำตอบของคำถามนี้ที่ใครหลายคนเป็นกังวล คงได้คำตอบแล้วว่าควรทำเช่นไรหากลูกมีอาการละเมอ โดยต้องใช้ทั้งความเข้าใจ และการคอยดูแลให้ลูกปลอดภัยตลอดทั้งคืน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกชอบนอนละเมอ ตื่นผวา เผลอๆไม่ใช่เรื่องธรรมดา!
คลิปน่ารัก ลูกนอนละเมอเรียกพ่อ เสียงดังฟังชัดมาก
ฝันร้ายกับละเมอฝันผวาต่างกันอย่างไร?
ที่มาข้อมูล : whattoexpect.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!