X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกชอบนอนละเมอ ตื่นผวา เผลอๆไม่ใช่เรื่องธรรมดา!

บทความ 3 นาที
ลูกชอบนอนละเมอ ตื่นผวา เผลอๆไม่ใช่เรื่องธรรมดา!

แม้การนอนละเมออาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับวัยเด็กนั้นการนอนละเมอ อาจมีผลทางอ้อมต่อพัฒนาการของลูกน้อยได้

การนอนละเมอสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ซึ่งอาจเกิดได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากพ่อหรือแม่เป็นคนนอนละเมอ ลูกก็จะมีโอกาสประมาณร้อยละ 50 ที่จะนอนละเมอเช่นเดียวกัน ลูกชอบนอนละเมอ อาจเป็นปัญหา อย่าปล่อยให้เรื่องที่ดูเหมือนจะธรรมดาผ่านเลยไป

ลูกชอบนอนละเมอ ตื่นผวา เผลอๆไม่ใช่เรื่องธรรมดา มีผลทางอ้อมต่อพัฒนาการ!

การนอนละเมอ คือการพูดหรือทำกิริยาอาการต่าง ๆ ในขณะที่กำลังนอนหลับโดยไม่รู้ตัว เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะจำอะไรไม่ได้ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลับลึก คือระยะหลังจากหลับไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง

แม้ยังไม่มีรายงานแน่ชัดว่า การละเมอของเด็กหรือลูกตื่นขึ้นมาบ่อย ๆ ตอนกลางคืนจะมีผลต่อพัฒนาการที่เห็นเด่นชัดหรือไม่ แต่ในเด็กที่มีปัญหาการนอนและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องนั้นจะส่งผลถึงพัฒนาการทางอ้อม จะทำให้ฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือ Growth Hormone ทำงานได้ไม่เต็มที่ จะทำให้เจ้าตัวเล็กตื่นนอนมาอย่างไม่สดชื่น ไม่มีสมาธิในการเรียน เล่นไม่สนุก หลับในห้องเรียน ฯลฯ มีผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ที่พ่อแม่จะต้องคอยสังเกตและแก้ไขแล้วล่ะ

การนอนละเมอของเด็ก ๆ นั้นอาจเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ

  • มีสิ่งเราที่กระตุ้นก่อนนอน เช่น การดูหนังผี สยองขวัญ ภาพน่ากลัว หรือกิจกรรมในตอนกลางวันที่ตื่นเต้นจนเกินไป ทำให้ลูกจำภาพฝังลึกแล้วเก็บไปนึกถึงในตอนนอน
  • สำหรับเด็กบางคนอาจมีระบบประสาทที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงทำให้มักละเมอตื่นกลางดึก

อาการนอนละเมอที่มักเจอในเด็ก

ลูกชอบนอนละเมอ

#ละเมอฝันผวา

คือ อาการที่นอนหลับอยู่ดี ๆ แล้วตกใจตื่นขึ้นอย่างฉับพลัน บางครั้งก็หวีดร้องด้วย ซึ่งจะแตกต่างจากฝันร้ายตรงที่ลูกจะจดจำอะไรไม่ได้เลย ส่วนใหญ่จะเกิดในเด็กอายุ 4-7 ปี กรณีนี้เกิดขึ้นได้กับเด็กที่ระบบประสาทยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้การจัดเรียงข้อมูลในสมองทำงานไม่เป็นระเบียบ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ในวันที่ลูกรู้สึกเครียด มีปัญหาทางอารมณ์

เมื่อลูกผวาตกใจตื่นหรือพร้อมขึ้นมากับเสียงกรี๊ด หวีดร้อง ให้อุ้มลูกมากอดไว้ ลูบหัว ตบก้น โยกตัวเบา ๆ และปลอบโยนลูกให้นอนต่อ เพราะการละเมอลักษณะนี้เมื่อลูกตื่นขึ้นมาจะจำอะไรไม่ได้ และการใช้วิธีปลุกลูกให้ตื่นจากละเมอเพื่อมาสอบถามนั้นไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง แทนที่ลูกจะตื่นมาร้องแค่ 5 นาที อาจยิ่งทำให้มีอาการแบบนี้นานขึ้นไปอีกก็ได้

ลูกชอบละเมอแบบไหนที่แม่ควรระวังและแก้ปัญหาอย่างไรดี อ่านต่อหน้าถัดไปนะคะ >>

ลูกชอบนอนละเมอ

#ละเมอเดิน

อาการแบบนี้มักเกิดกับเด็กโต เป็นการละเมอเพื่อเดินไปรอบห้อง หรือเดินออกไปนอกห้องหรือนอกบ้านแบบที่ไม่รู้ตัว เมื่อตื่นขึ้นก็จำอะไรไม่ได้เช่นกัน ละเมอลักษณะนี้ถือว่าอันตรายต่อลูกมาก เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ หากสังเกตว่าลูกมีการละเมอแบบนี้แต่ยังมีอาการไม่มาก คุณพ่อคุณควรปรับห้องนอนของลูกและสภาพแวดล้อมให้โล่งเพื่อป้องกันการเดินชนสิ่งกีดขวางหรือมุมโต๊ะที่อาจเป็นอันตราย ควรหลีกเลี่ยงเตียงสองชั้น ประตูหน้าต่างหรือระเบียงห้องต้องล็อคไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ละเมอเดินออกไปข้างนอก หากมีอาการมากก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนคนเดียว

ลูกชอบนอนละเมอ

ดูแลแก้ปัญหาลูกที่ชอบนอนละเมออย่างไรดี

พ่อแม่ต้องคอยสังเกต หากลูกมีอาการนอนละเมอ ซึ่งมักเกิดขึ้นในเวลาเดิมของทุกวัน ให้จดวันและเวลาไว้เพื่อนำมาดูว่าเกิดขึ้นกี่ครั้งใน 1 สัปดาห์ ถ้าเป็นบ่อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ให้ลองปลุกลูกก่อนเวลาละเมอประมาณ 15 นาที แล้วปล่อยให้ตื่นสัก 5 นาที จากนั้นค่อยให้กล่อมให้ลูกนอนต่อ ทำอย่างนี้ติดต่อกันประมาณ 7-10 วัน อาการละเมอของลูกจะเริ่มน้อยลง

การละเมอสัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้งนั้นอาจเกิดขึ้นได้ถือเป็นเรื่องปกติของเด็ก อาจมีการละเมอฝันผวาเกิดขึ้นบ้างเป็นระยะ ๆ แต่จะค่อย ๆ ดีขึ้นไปตามวัย แต่หากลูกนอนละเมอ 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้นเป็นระยะ ๆ คืออาจเป็น ๆ หาย ๆ เป็นพัก ๆ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพราะผลจากการละเมอบ่อย ๆ จะทำให้เด็กพักผ่อนไม่เต็มที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางอ้อมแบบที่กล่าวมาได้

พ่อแม่สามารถช่วยปรับพฤติกรรมการนอนให้กับลูก ๆ ได้ด้วยการทำให้ลูกนอนหลับอย่างมีความสุข หลีกเลี่ยงการกระตุ้นลูก หรือเปิดทีวีให้ลูกดูอะไรน่ากลัวก่อนเข้านอน ใช้การเล่านิทานน่ารัก ๆ หรือให้ลูกฟังเพลงผ่อนคลายก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้สบาย และควรพาลูกเข้าห้องน้ำก่อนนอน เพราะบางครั้งการละเมอฝันผวาก็เริ่มต้นจากการปวดปัสสาวะได้นะคะ.


ที่มา : www.manager.co.th

บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :

คลิปน่ารัก ลูกนอนละเมอเรียกพ่อ เสียงดังฟังชัดมาก

ลูกนอนแบบไหน เรียกว่าผิดปกติ เรื่องที่พ่อแม่ทุกคนต้องรู้

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกชอบนอนละเมอ ตื่นผวา เผลอๆไม่ใช่เรื่องธรรมดา!
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว