X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น เทคนิคดีๆ ที่พ่อแม่ต้องรู้

บทความ 5 นาที
การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น เทคนิคดีๆ ที่พ่อแม่ต้องรู้

วัยรุ่นเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่นมีทั้งเปลี่ยนทางด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้น การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องปรับไปด้วยนะคะ แต่จะปรับอย่างไร ติดตามอ่าน เทคนิค การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น กันค่ะ

การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น เทคนิคดีๆ ที่พ่อแม่ต้องรู้ วัยรุ่นเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่

 

วัยรุ่น เด็กวัยรุ่น

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้คือ เด็กที่มีอายุในช่วงระหว่าง 10 -19 ปี วัยรุ่น แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่

วัยรุ่นตอนต้น  ช่วงอายุ 10 -13 ปี

วัยรุ่นตอนกลาง  ช่วงอายุ 14 – 16 ปี

วัยรุ่นตอนปลาย  ช่วงอายุ  17 -19 ปี

แต่ปัจจุบันนี้ตัวเลขที่กล่าวมาอาจจะคลาดเคลื่อนไปในทางปฏิบัติเพราะเดี๋ยวนี้เราจะรู้สึกว่าแม้ต่ลูกอายุ 8 – 9 ปีก็เริ่มโต (กว่าวัย)

จนดูเหมือนจะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นแล้วสำหรับบางบ้าน เพราะทุกวันนี้พฤติกรรมเลียนแบบดารา นักร้อง เข้าถึงได้ง่าบแทบทุกบ้าน อินเอตร์

เน็ตเชื่อมโยงไปทุกที่ ทำให้เกิดการเลียนแบบ  แบบว่าหนู / ผมชอบ แต่เด็กจะยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี / ไม่ดี  ถูกต้อง/

ไม่ถูกต้อง

เด็กวัยรุ่นหรือเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านพร้อม ๆ กัน อยู่ในช่วงก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ ต้องการ

ค้นหาตนเอง เริ่มมีกลุ่มเพื่อนที่รักและชอบ  สนใจในสิ่งที่เหมือน ๆ กับตน  และช่วงนี้ทำให้ลูกเริ่มออกห่างพ่อแม่  โดยเฉพาะหากพ่อ

แม่เลี้ยงดูแบบผลักไสลูกให้ห่างอก  แบบนี้ยิ่งก่อให้เกิดปัญหา  มาดูกันค่ะว่า การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น

 

เทคนิค การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น

เมื่อลูกย่างเข้าสู่วัยรุ่น เด็กวัยรุ่น อายุประมาณ 10 ปีขึ้นไป  พ่อแม่ต้องยอมรับนะคะว่าลูกไม่ใช่เด็กน้อยที่เราจะต้องดูแลแบบประคบประหงมใกล้ชิดแบบลูกยังเป็นเด็กเล็กอีกแล้ว  แต่ไม่ได้หมายถึงให้เลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยลูกนะคะ

การเลี้ยงลูกวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มปรับตัวนะคะ  เพราะลูกที่เคยเป็นเด็กน่ารักช่างเอาอกเอาใจ  กอดหอมเล่นกันกับพ่อแม่แบบช่วงวัยเด็ก  แต่ลูกจะเริ่มมีพฤติกรรมดื้อรั้น  เริ่มเอาแต่ใจตัวเอง  ไม่ใช่ลูกเป็นเด็กไม่ดีนะคะแต่เป็นพัฒนาการของช่วงวัย  เริ่มอยากเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แน่นอนว่าทำให้พ่อแม่อดห่วงไม่ได้ว่าลูกจะเติบโตไปอย่างไร

ความห่วงใย  ผสมผสานกับความกังวลใจด้วยความรัก และความหวังดีที่พ่อแม่มีต่อลูกนั้นยิ่งทำให้พยายามเข้าไปสอดส่องลูก

และพยายามออกกฎเกณฑ์บังคับลูกที่กำลังเป็นวัยรุ่นเรื่องเลยยิ่งแย่กันไปใหญ่  หากทำแบบนี้อาจทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพ่อแม่กับลูกให้ห่างไกล ปัญหาเล็ก ๆ อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่  แล้วจะเลี้ยงอย่างไรเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจแล้วใช่ไหมคะ  มาดูกันค่ะว่า  มีเทคนิคในการเลี้ยงลูกอย่างไรให้ชนะใจลูกวัยรุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

 

การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น

เทคนิคลี้ยงลูกวัยรุ่น

1.อย่าแทรกแซง

คณพ่อคุณแม่ลองเช็คตนเองดูนะคะเรากำลังเลี้ยงลูกแบบเราเป็นพ่อแม่หรือเลี้ยงแบบเราต้อง QC ดูแลตรวจเช็คลูกไปทุกเรื่องอยู่หรือเปล่า  หากเรากำลังพยายามควบคุม (หรือ “สั่ง”) ลูกวัยรุ่นมากเกินไปหรือไม่  พยายามเข้าไปรับรู้เรื่องต่างๆ ของลูกมากเกินไปหรือไม่  เราพยายามมีบทบาทในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของลูกวัยรุ่นมากเกินไปหรือไม่

เราสามารถยอมรับ และยอมให้มีความเห็นหรือการตัดสินใจที่แตกต่างไปจากมุมมองของพ่อแม่ได้หรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกวัยรุ่นของคุณกำลังเผชิญอยู่ในการเรียนรู้ ที่จะเป็นตัวของตัวเองและเริ่ม “เป็นผู้ใหญ่”

 

2.เวลาคุณภาพ

คำว่า  เวลาคุณภาพ  Quality time ขอบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับครอบครัวจริง ๆนะคะ เพราะเวลาคณภาพแม้ช่วงเวลาน้อยนิดแต่สามารถสร้างความั่นทางจิตใจให้กับลูกได้ ช่วยเสริมสร้างความความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อ แม่ และลูก   เวลาคุณภาพไม่ได้จำกัดว่าจะต้องมีกี่ชั่วโมงต่อวัน หรือกี่วันต่อสัปดาห์ แต่ยิ่งมีมากเท่าไหร่ โอกาสที่ครอบครัวจะได้แบ่งปันสิ่งดีๆร่วมกันก็มีมากขึ้นเท่านั้น

เวลาคุณภาพเราสร้างได้อย่างไร

1.ง่ายที่สุด คือ รับประทานอาหารร่วมกัน  ช่วยกันจัดเตรียมพุดคุย หยอกล้อ แบ่งปันสิ่งดี ๆ เป็นช่วงเวลาสั้นๆที่มีค่าทั้งสุขใจ สุขกายและอิ่มท้อง

2.โทรหากันแสดงความห่วงใยกัน  แต่ไม่ใช่การโทรเช็คนะคะ  แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะแอบห่วงก็ตาม แต่อย่าโทรบ่อยจนทำให้ลูกรู้สึกอึดอัดใจ  น้ำเสียงแสดงความห่วงใย  ถามไถ่  ใช้คำพูดที่ฟังแล้วคนผู้พูดผู้ฟังสบายใจทั้งสองฝ่าย   ดูแลตัวเองดีๆนะลูก  พ่อแม่รักลูกนะ   เดี๋ยวเจอกันนะลูก

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

3.วางแผนทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกันให้ลูกได้แสดงความคิดเห้นไม่ใช่เกิดจากความต้องการของพ่แม่เท่านั้น  คือ  ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วมในตัดสินใจและลงมือทำด้วยกัน เช่น

ลูก ๆ เป็นคนเลือกสถานที่ ๆ จะไป คุณพ่อคุณแม่ช่วยคิดหาที่พัก   คุณแม่เลือกร้านอาหาร คุณพ่อเป็นคนจองตั๋วสำหรับเดินทาง  เพียงแค่คิดก็สนุกแล้วค่ะ

4.หางานอดิเรกทำร่วมกัน  เช่น  ช่วยกันทำปลูกต้นไม้  ตัดแต่งกิ่งไม้ในสวน  ช่วยกันทำอาหาร ทำขนม เริ่มตั้งแต่การไปเลือกซื้อวัตถุดิบที่ตลาดหรือห้างสรรพสินค้า เ่อมาทำอาาหรทำขนมอร่อยๆ รับประทานกัน

 

3.เอาใจ “ลูก” มาใส่ใจ “เรา”

บางครั้งวัยรุ่น ก็จะยังทำท่าฮึดฮัดไม่ยอมฟังพ่อแม่  ขอให้ใช้ความใจเย็น และดูจังหวะ ที่จะพูดเรื่องเหล่านี้กับเขา ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่หนักแน่นพอและไม่ได้ไปชวนทะเลาะด้วย  ก็จะทำให้ลูกได้ เรียนรู้พฤตกรรมใจเย็น  รู้จักข่มใจจากคณพ่อคุณแม่ไปในตัว   ไม่ปะทะกันด้วยอารมณ์  เรียกว่าสอนลูกด้วยการกระทำของพ่อแม่เอง   ในทางกลับกัน คุณเองก็ควรรับฟัง มุมมอง และแง่คิดของเขาดูบ้าง  พยายามเปิดใจให้กว้าง  จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้จักลูกของคุณเองได้ดีขึ้น

 

4. ทำความรู้จักเพื่อน ๆ ของลูก

ถ้าเป็นไปได้ ควรรู้จักกับคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนลูกด้วย จะช่วยให้คุณแลกเปลี่ยนความเห็น และช่วยเหลือกันได้

 

5.ให้ความเคารพ

ความหมายในที่ดี  คือ  ให้ความเป็นส่วนตัว และสิทธิของลูกวัยรุ่นอย่าอ้างเพราะความเป็น “พ่อแม่” นะคะ ควรจะให้เขามีความเป็น

ส่วนตัว และไม่เข้าไปก้าวก่ายลูกในทุกเรื่อง  เช่น   ไม่ควรจะไปค้นห้องนอนหรือโต๊ะส่วนตัวของลูก   หรือแอบอ่านบันทึก อ่านไลน์

ของลูก   เพราะถ้าลู็กรู้จะทำให้ลูกโกรธและรู้สึกไม่ไว้ใจพ่อแม่ จนอาจจะไม่ยอมรับฟังอะไรจากเราอีก   ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่จะ

คอยสอดส่องลูก ก็ทำได้แต่ควรให้ความเคารพในความเป็นส่วนตัวของเขาด้วย  ควรบอกลูกเพื่อขออนุญาต  แม้ว่าเราจะเป็นพ่อแม่

แต่การกระทำเช่นนี้เท่ากับการปลูกฝังให้ลูกรู้จักเคารพสิทธิของคนอื่นต่อไปนะคะ  เป้นผลดีต่อลูกจริง ๆ ค่ะ

 

6.กฎเกณฑ์  ที่ไม่ดูเหมือน กฎหมาย

บางครั้งกฎเกณฑ์หากมีมากเกินไปก็จะทำให้อึดอัดใจ สิ่งสำคัญการตั้งกฎเกณฑ์ควรเห้นพร้อมกันทั้งพ่อแม่และล฿กนะคะไม่ใช่เกิด

จากพ่อแม่แต่ลูกไม่ได้ยอมรับหรือเห็นด้วย แน่นอนว่า หากเป็นเช่นนี้เกิดการต่อต้านแน่นอน  กฎเกณฑ์ต้องยืดหยุ่นปรับให้เหมาะสม

กับลูกและสามารถปฏิบัติได้ไม่เข้มงวดจนเกินไป   เช่น จะให้ลูกวัยรุ่นเข้านอนแต่หัวค่ำ หรือ จะห้ามไม่ให้ดูทีวีเลย หรือ

ห้ามใช้โทรศัพท์คุยกับเพื่อนนั้น แน่นอนว่า ลูกจะไม่รับฟังหรือไม่ยอมปฏิบัติตาม แบบนี้ต้องผ่อนปรนบ้างนะคะ

 

ข้อคิดสะกิดใจ

เด็กในช่วงวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังฝึกคิดและมองปัญหาต่างๆ อย่างซับซ้อนขึ้น  เริ่มใช้เหตุผลในการวิเคราะห์เรื่องต่างๆ

ด้วยตัวของเขาเอง จึงอาจทำให้ดูเหมือนเขา  “ไม่ฟังคุณพ่อคุณแม่อีกต่อไป”  แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลูกยังรับฟังคุณพ่อคุณแม่อยู่

อยู่นะคะ  เพียงแต่ต้องการได้มีโอกาสแสดงความคิดและความเห็นของเขาให้พ่อแม่อย่างเราได้ทราบบ้าง

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีที่จะพูดคุยกับลูกวัยรุ่นของอย่างสร้างสรรค์ด้วย อย่าใช้วิธี “สั่งให้ทำ”อย่างเดียวคงไม่ได้  ในบางครั้ง ถ้า

เป็นเรื่องที่ไม่มีความสำคัญมากนักและคุณพอยอมรับได้ เช่น  การทำผม การแต่งตัว ซึ่งบางครั้งจะดูเป็นวัยรุ่นมากไป  ถ้ามองผ่านไป

ได้ ก็ควรจะปล่อยไปบ้าง

สิ่งสำคัญ  คุณพ่อคุณแม่ควรจะพิจารณาเลือกเรื่องที่สำคัญที่ควรพูดก่อนมาพูดคุยกับลูก  อย่าพยายามพูดบ่นไปทุกเรื่อง จะทำให้

เขาไม่ยอมรับฟังพ่อแม่อย่างเรานะคะ   ขอให้พยายามเข้าใจลูกวัยรุ่นให้มากให้เวลากับเขาเท่าที่เราทำได้ เพื่อให้ลูกสามารถเติบโต

เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีความสุขนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับ เลี้ยงลูกวัยรุ่น ให้ฉลาด สมองดี มีภูมิต้านทานสูง

เพิ่ม MQ ปลูกฝังจริยธรรม วัคซีนป้องกันปัญหาอาชญากรเด็กและวัยรุ่น

10 นิสัยดีๆ ที่แม่ควรปลูกฝังก่อนลูกโตเป็นวัยรุ่น

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ เหล่าบุศณ์อนันต์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น เทคนิคดีๆ ที่พ่อแม่ต้องรู้
แชร์ :
  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

วัยรุ่น เป็นช่วงวัยก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่ อยากรู้อยากลองสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง จนบางครั้งทำให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าะรู้สึกว่าทำไมลูกดื้อ จนบางครั้งอาจทำให้มีปากเสียงกับลูก แบบนี้ไม่ดีเลยนะคะ ถ้าเรามีเทคนิคดี ๆ ที่จะปรับใช้ในการเลี้ยงลุกวัยรุ่น รับรองว่าเป้ฯเทคนิคที่ทำให้พ่อแม่ได้ใจลูกวัยรุ่นเต็ม ๆค่ะ