X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ ฝันร้าย เดินละเมอ อันตรายไหม ดูแลและป้องกันอย่างไร

บทความ 3 นาที
ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ ฝันร้าย เดินละเมอ อันตรายไหม ดูแลและป้องกันอย่างไร

นอนละเมอบ่อย ๆ ปล่อยทิ้งไว้ไม่ดี ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ ฝันร้าย เดินละเมอ อันตรายไหม การละเมอในเด็กมีกี่แบบ พ่อแม่ควรดูแลและป้องกันอย่างไร

การนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพมากสำหรับทุกวัย หากลูกน้อยมีปัญหาการนอนหลับ อาจทำให้นอนไม่ต่อเนื่องไม่เพียงพอ ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ รวมทั้งความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพกาย และความวิตกกังวลใจของผู้เลี้ยงดูอีกด้วย บางครั้งเมื่อ ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ นอนผวา หรือกรีดร้องเสียงดัง คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทราบว่าควรจะทำอย่างไรดี เรามารู้จักกับปัญหาการนอนละเมอ (Parasomnia) ที่พบบ่อยในเด็ก รวมทั้งวิธีป้องกันและแก้ไขกันดีกว่านะคะ

ลูกนอนละเมอ

การละเมอ (Parasomnia) ที่พบในเด็ก

ละเมอ (Parasomnia) เป็นพฤติกรรมการนอนที่เกิดขึ้นขณะกำลังหลับอยู่ ไม่รู้สึกตัว มีความสัมพันธ์กับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้น การละเมอที่พบบ่อยในเด็กมีอยู่ 3 แบบค่ะ

ลูกนอนฝันผวา

  • ฝันผวา หรือ อาการร้องตกใจกลางคืน (Sleep terror หรือ Night terror)

การนอนฝันผวา หรือร้องตกใจกลางคืน (Sleep terror หรือ Night terror) เป็นภาวะที่มีอาการผวา กรีดร้อง กระวนกระวาย ร้องไห้ พูดจาไม่เป็นภาษา โดยไม่รู้สึกตัว หากตรวจร่างกายจะพบว่า หัวใจเต้นเร็ว และออกเยอะผิดปกติ อาการจะเป็นอยู่นานประมาณ 5 ถึง 15 นาที มักเกิดช่วงหัวค่ำ หลังจากนอนไม่นาน โดยจะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เมื่อตื่นมาเช้า ภาวะนี้พบบ่อยในเด็กอายุ 4-12 ปี และมักจะหายไปเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่บางคนก็อาจมีอาการจนโตเป็นผู้ใหญ่

ปัจจัยกระตุ้น : มีหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้น เช่น การเจ็บป่วย มีไข้ ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ การทานยาบางชนิด เช่น ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท การอดนอน รวมถึงความเสี่ยงจากประวัติครอบครัวก็มีส่วน

การดูแลและป้องกัน : หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นทุกอย่างที่กล่าวมา ร่วมทางรักษาอาการเจ็บป่วย เช่น การมีไข้ และภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ โดยไม่จำเป็นต้องปลุกเด็กขณะเกิดอาการ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา แต่หากมีอาการรุนแรง เช่น พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย รบกวนผู้อื่นมาก ง่วงนอนตอนกลางวันมาก ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

ลูกละเมอฝันร้าย

  • ฝันร้าย (Nightmare)

การนอนฝันร้าย (Nightmare) เป็นภาวะที่ตกใจตื่นขึ้นมาในตอนกลางดึก โดยสามารถจำเรื่องราวที่ฝันร้าย ซึ่งมักเป็นเรื่องตื่นเต้นน่ากลัวได้ มักเกิดเวลาเช้ามืด ฝันร้ายพบได้บ่อยในทุกช่วงวัย

ปัจจัยกระตุ้น : ความเครียดและความวิตกกังวลในชีวิตขณะตื่น

การดูแลและป้องกัน : หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่นำมาซึ่งความวิตกกังวลของเด็ก เช่น การอยู่ในสถานการณ์คับขัน หรือการดูภาพยนตร์ตื่นเต้นเร้าใจก่อนนอน ทั้งนี้หากเด็กมีอาการฝันร้ายในเรื่องเดิมบ่อย ๆ ควรมองหาสาเหตุและความเครียดของเด็ก เพื่อการแก้ไขที่ต้นเหตุด้วย เช่น การถูกคุกคามทำร้าย ความเครียดและวิตกกังวลจากการปรับตัวไม่ได้ในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน

ลูกเดินละเมอ

  • เดินละเมอ (Sleep walking หรือ Night walking)

การเดินละเมอ (Sleep walking หรือ Night walking) เป็นภาวะความผิดปกติที่มีการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ sleep terror แต่เด็กมักจะลุกขึ้นมาเดินโดยไม่รู้ตัว ลืมตาแต่ดูสับสนขณะที่มีอาการ แต่เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะจำเหตุการณ์อะไรไม่ได้เลย มักจะเริ่มเป็นในเด็กอายุ 4-6 ปี

ปัจจัยกระตุ้น : เช่นเดียวกับ sleep terror และเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมในครอบครัวเช่นเดียวกัน

การดูแลและป้องกัน : จะเน้นที่การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเช่นเดียวกันกับ sleep terror ประเด็นที่สำคัญคือการดูแลความปลอดภัยขณะเกิดอาการ เช่น ล็อกประตูห้องนอนให้มิดชิด จัดสิ่งแวดล้อมที่นอนให้เด็กไม่สามารถเดินไปปีนป่ายในที่สูง หรือเดินตกบันไดได้ เมื่อเกิดอาการ ควรพาเด็กกลับไปนอนยังที่นอนโดยสงบ ไม่จำเป็นต้องปลุกเด็ก หากมีอาการรุนแรงในเวลาเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อใช้ยาลดการเกิดอาการ หรือปลุกเด็กขึ้นมา ก่อนเกิดอาการในเวลาเดิม ๆ ประมาณ 15 ถึง 30 นาที ก็อาจจะช่วยป้องกันได้

ลูกนอนละเมอร้องไห้

ปัญหาการนอนละเมอของเด็ก (Parasomnia) เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แต่มักจะไม่รุนแรง หากคุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับการใส่ใจและป้องกัน พิจารณาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากพบว่ามีอาการรุนแรงหรือเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายขึ้น ก็จะทำให้สามารถรับมือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที เพื่อทำให้สุขอนามัยในการนอนของลูกดีขึ้นได้อย่างแน่นอนค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

14 วิธีให้ลูกหลับเร็ว เหมือนเสกได้ ทิปส์พ่อแม่มือใหม่ไม่รู้ไม่ได้

ลูกละเมอปกติรึเปล่า? ถ้าลูกละเมอ หรือ เดินไปข้างนอก ป้องกันได้อย่างไร

ฝันร้ายกับละเมอฝันผวาต่างกันอย่างไร?

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ ฝันร้าย เดินละเมอ อันตรายไหม ดูแลและป้องกันอย่างไร
แชร์ :
  • ทำยังไงเมื่อลูกนอนฝันร้าย

    ทำยังไงเมื่อลูกนอนฝันร้าย

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • ทำยังไงเมื่อลูกนอนฝันร้าย

    ทำยังไงเมื่อลูกนอนฝันร้าย

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ