X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคร่าเริง กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่หลับ เสียสุขภาพ โรคที่ไม่ร่าเริงสมชื่อ

บทความ 5 นาที
โรคร่าเริง กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่หลับ เสียสุขภาพ โรคที่ไม่ร่าเริงสมชื่อ

สวัสดีค่ะ วันนี้เราขอพาทุกคนทำความรู้จัก “โรคร่าเริง” (Lychnobite) โรคชื่อแปลก ฟังแล้วน่ารัก ความหมายแลดูเป็นเชิงบวกใช่ไหมคะ แต่แท้จริงแล้วเป็นภัยร้ายต่อสุขภาพ ที่คนรุ่นใหม่วัยเรียน วัยทำงานจำนวนมากกำลังเผชิญอยู่โดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว !! ถ้าพร้อมแล้ว เรามาเช็คอาการของโรคร่าเริงกันดีกว่าว่าจะเป็นอย่างไรค่ะ

โรคร่าเริง คืออะไร ?

โรคร่าเริง (Lychnobite) คือโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตแบบขาดบาลานซ์ ส่งผลให้นาฬิกาชีวิตผิดเพี้ยน มักพบบ่อยในวัยนักศึกษาไปจนถึงวัยทำงาน กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่หลับ โดยสมองมักจะแล่นได้ดีกว่าในเวลากลางคืน ชอบทำงานช่วงกลาวคืน หรือก่อนนอนเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย มักพบในกลุ่มคนที่ทำอาชีพสายครีเอทีฟ โปรแกรมเมอร์ กราฟิกดีไซน์ ตัดต่ออวิดีโอ มนุษย์ฟรีแลนซ์ รวมถึงวัยรุ่นที่เป็นนักเรียนนักศึกษา จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีสมาธิดีกว่าปกติ สมองแล่น ปิ๊งไอเดียดี ๆ ได้ช่วงตอนกลาง และรู้สึกทำงานสนุกในช่วงกลางคืน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าช่วงกลางวัน มีแนวโน้มของคนรุ่นใหม่ทำงานตอนกลางคือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ช่วง Work From Home และเนื่องจากการทำงานในยุคปัจจุบันเป็นรูปแบบงานออนไลน์ ซึ่งไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง ต้องมีการอัปเดตข่าวสาร เทรนด์กระแสอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เสพติดการทำงานตอนกลางคืนแบบไม่รู้ตัว

บทความที่น่าสนใจ : โรคนอนไม่หลับ คืออะไร? ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับโรคนอนไม่หลับ พร้อมวิธีรักษา

อาการของโรคร่าเริง เป็นอย่างไร ?

กลางวัน กลางคืน
หัวตื้อ มึน ไม่สดชื่น ไม่มีสมาธิทำงาน
หัวแล่น ปิ๊งไอเดีย คิดงานคล่อง
ติดกาแฟ คาเฟอีน เครื่องดื่มยาชูกำลัง
ตื่นตัว กระฉับกระเฉง
ตื่นสาย ง่วงนอนตอนกลางวัน
นอนดึก นอนเช้า อดนอนตอนกลางคืนได้
อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย
สดชื่น ร่าเริงเป็นพิเศษ

 

โรคร่าเริง

 

ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง ?

  • มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ไบโพลาร์ ออทิซึม และโรคจิตเภทอื่น ๆ
  • ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า รวมไปถึงผมหงอกก่อนวัยอันควร เพราะ Growth Hormones เป็นฮอร์โมนแห่งการชะลอวัย ที่จะหลั่งเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น ช่วงเวลาที่จะหลั่งฮอร์โมนเป็นช่วง 22.00 น.- 02.00 น. และจะทำงานได้มีประสิทธิภาพในช่วงเวลาที่เราหลับลึก ซึ่งต่อให้เราเสียเงินซื้อสกินแคร์ราคาหลายหมื่น ก็อาจช่วยได้เพียงเพียงพอ
  • มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย และอาจมีความผิดปกติทางอารมณ์สะสมจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย
  • สำหรับสาว ๆ อาจมีประจำเดือนมาไม่ปกติ เพราะความสมดุลฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป
  • มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้คนปกติที่ใช้ชีวิตตอนกลางวัน นอนหลับตอนกลางคืนมากถึง 10%
  • สภาพผิวเสียสมดุล เพราะการนอนดึกทำให้หน้าโทรม หน้าเป็นสิวเพิ่มขึ้น หรือหน้าแห้ง
  • ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง เป็นสาเหตุเจ็บป่วยง่ายขึ้น และอาจมีอาการ โรคภูมิแพ้ กำเริบได้
  • รบกวนระบบการเผาผลาญ ระบบย่อย เสียสมดุลจนทำให้ร่างกายสะสมไขมันเพิ่มขึ้น เป็นเหตุผลทำให้น้ำหนักตัวขึ้นง่าย อ้วนง่ายขึ้น
  • ทำให้สมาธิสั้น เพราะสมองได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน สามารถความเครียดและแรงกดดันได้น้อยลง

บทความที่น่าสนใจ : วิธีการงีบหลับที่ดีที่สุด ในตอนกลางวันและไม่กระทบปัญหานอนไม่หลับช่วงกลางคืน

 

โรคร่าเริง

 

วิธีการปรับพฤติกรรม เลี่ยงโรคร่าเริง

  • ปรับเวลานอน ควรนอนให้เร็วขึ้น หรือควรนอนไม่เกิน 4 ทุ่ม เมื่อได้เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิม ๆ ไปสักพัก ร่างกายจะสามารถปรับตัว ตื่นเองได้ และง่วงนอนเมื่อถึงเวลานอน ซึ่งดีต่อสุขภาพมากกว่า
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยแนะนำให้ออกกำลังกายในช่วงเช้า จะช่วยให้นอนหลับสบายในตอนกลางคืน
  • ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยควบคุมพฤติกรรมการกินอาหาร เน้นบริโภคโปรตีนให้มากขึ้น จะช่วยให้ร่างกายมีแรง และตื่นตัวได้มากกว่า และลดอาหารจำพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต
  • ดื่มน้ำเปล่าช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า  เพราะการดื่มน้ำเปล่าจะช่วยลดความหนืดในเลือด ให้สูบฉีดเลือดได้ดี โดยหากใครรู้สึกง่วงช่วงกลางวันแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า ดีกว่าการดื่มน้ำหวานค่อ
  • ตั้งนาฬึกาปลุกเวลาเดิมทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอโทรศัพท์ ดูโทรทัศน์ หรือทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน จะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • ปิดการแจ้งเตือนในโทรศัพท์ หรือปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเวลานอน เพื่อการนอนจะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และหากต้องการตั้งนาฬิกาปลุกแนะนำให้ใช้ที่เป็นนาฬิกาปลุกจริง ๆ ไม่ใช่ตั้งในโทรศัพท์ค่ะ
  • นั่งสมาธิก่อนเข้านอน ช่วยให้จิตใจและร่างกายสงบ การปล่อยวางความเครียดที่มีตลอดทั้งวันจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

 

บทความที่น่าสนใจ :

ร้องไห้ง่าย เป็นโรคอะไร สาเหตุต้นตอของน้ำตาที่ไม่ควรมองข้าม

ใครนอนไม่หลับ ขอยืมเสื้อแฟนด่วน งานวิจัยเผย นอนดมเสื้อแฟน หลับสนิทขึ้น

7วิธีแก้ นอนไม่พอ นอนไม่หลับ ไม่ต้องนับแกะอีกต่อไปให้เช้าวันใหม่สดใสกว่าเดิม

ที่มา : 1 , 2

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Suchanya Dheerasunt

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคร่าเริง กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่หลับ เสียสุขภาพ โรคที่ไม่ร่าเริงสมชื่อ
แชร์ :
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

    คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • 8 เคล็ดลับ! ดูแลจุดซ่อนเร้นตอนท้อง ต้องดูแลน้องสาวอย่างไร?

    8 เคล็ดลับ! ดูแลจุดซ่อนเร้นตอนท้อง ต้องดูแลน้องสาวอย่างไร?

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

    คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • 8 เคล็ดลับ! ดูแลจุดซ่อนเร้นตอนท้อง ต้องดูแลน้องสาวอย่างไร?

    8 เคล็ดลับ! ดูแลจุดซ่อนเร้นตอนท้อง ต้องดูแลน้องสาวอย่างไร?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ