X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คันขา ยุบยิบขา ก้มไปดูไม่มีอะไร กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข คนท้องเสี่ยงไหม ?

บทความ 5 นาที
คันขา ยุบยิบขา ก้มไปดูไม่มีอะไร กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข คนท้องเสี่ยงไหม ?

รู้จักไหม ? กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) ที่แม่ท้องหลายคนอาจเป็นอยู่โดยไม่รู้ตัว หากแม่ท้องพบว่าตนเองรำคาญที่ขา รู้สึกคันยุบยิบแต่พอก้มไปดูก็ไม่เห็นมีอะไร แสดงว่าแม่ท้องอาจเสี่ยงกลุ่มอาการนี้แล้ว อาการเหล่านี้รักษาได้ไหม และเกิดจากอะไร อ่านได้จากบทความนี้

 

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข คืออะไร

สำหรับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome หรือ Willis-Ekbom Disease) เป็นลักษณะอาการที่ทำให้เรารู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างไต่ขา หรือรู้สึกยุบ ๆ ยิบ ๆ ที่ขา จนทำให้ไม่สามารถทนอยู่นิ่งได้ ต้องพยายามขยับขาอยู่ตลอด โดยมักพบอาการแบบนี้ในเวลากลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน หากแม่ท้องมีอาการแบบนี้ไม่ควรปล่อยไว้ แม้จะไม่รุนแรง เนื่องจากกลุ่มอาการนี้ หากไม่ได้เข้ารับการรักษา จะเสี่ยงต่ออาการรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ในระยะยาวอย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องเลือดออกใต้ผิวหนัง จุดแดง จุดม่วงใต้ผิว มาจากไหน อันตรายมากไหม ?

 

วิดีโอจาก : RAMA Channel

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

อาการที่สังเกตได้ คือ อาการที่แม่ท้องรู้สึกว่าตนเองไม่สบายที่ขา อาการจะแตกต่างจากการเป็นเหน็บตะคริวโดยสิ้นเชิง เพราะอาการของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข โดยปกติแล้วจะไม่ได้เจ็บปวด แต่จะสร้างความรำคาญให้มากกว่า และมักมีอาการเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ขยับขาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสังเกตได้ ดังนี้

 

  • รู้สึกว่ามีสิ่งเล็ก ๆ ไต่ขาจนรำคาญ ในขณะเดียวกันยังมีผู้ป่วยบางรายที่รู้สึกขากระตุกเหมือนไฟช็อต หรือรู้สึกว่าคัน และปวดบริเวณขาและเท้าอย่างไม่ทราบสาเหตุ และอาจมีอาการเช่นเดียวกันที่แขนได้ด้วย
  • อาการของกลุ่มอาการนี้จะปรากฏขึ้นมาโดยเฉพาะในช่วงที่พักการใช้งานขาเป็นเวลานาน เช่น นอน นั่ง หรือดูภาพยนตร์ เป็นต้น
  • อาการสามารถเกิดขึ้นได้ในขณะหลับ อาการจะกำเริบได้บ่อยในช่วงเย็น และตอนกลางคืน ทำให้รู้สึกตัว พยายามขยับขาอยู่เรื่อย ๆ ส่งผลให้แม่ท้องนอนหลับไม่เพียงพอได้
  • จะรู้สึกว่าอาการสามารถบรรเทาขึ้นได้ จากการขยับร่างกาย หรือขยับขา เช่น การยืน เดิน หรือวิ่ง เป็นต้น

 

หากคุณแม่อ่านกลุ่มอาการที่เรากล่าวมา แล้วพบว่าตนเองอาจมีความเสี่ยงกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข อย่ารอช้า ก่อนที่อาการจะหนักขึ้น ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาซึ่งสามารถทำได้ผ่านการตรวจสอบร่างกายหาความผิดปกติ และลงมือรักษาความผิดปกตินั้น ที่อาจคาดว่าเป็นสาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการนี้

 

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

 

แม่ท้องเสี่ยงอาการขาอยู่ไม่สุขได้อย่างไร ?

หากแม่ท้องพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยง ต้องมองไปถึงปัจจัยหลายต่อหลายอย่างที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการนี้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่มีการคาดว่าปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงกลุ่มอาการนี้มีหลายข้อ ดังนี้

 

  • ครรภ์ไตรมาส 3 : พบว่าในช่วงของปลายของการตั้งครรภ์ จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะต่าง ๆ ได้ รวมถึงกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข ซึ่งอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว
  • สารเคมีโดพามีน (Dopamine) ไม่สมดุล : เป็นสารที่ทำงานอยู่ในสมอง มีส่วนในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อไม่สมดุล ก็ส่งผลต่อความรู้สึก และการเคลื่อนไหวของขา และเท้าได้
  • โรคประจำตัวบางโรค : บางโรคอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ไปจนถึงโรคที่แม่ท้องเสี่ยงกันเยอะ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น
  • ไขสันหลังเสียหาย : คุณแม่มีอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังจากการฉีดยาชาที่บริเวณดังกล่าว หรือการบล็อกหลัง เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด : ตัวอย่างเช่น ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (Anti-Nausea Medication) หรือยาแก้แพ้ (Antihistamines) เป็นต้น
  • มาจากพันธุกรรม : เป็นสาเหตุพื้นฐานในการเกิดโรคที่มีสาเหตุไม่ค่อยชัดเจน ซึ่งพันธุกรรมอาจสามารถถ่ายทอดอาการผิดปกติชนิดนี้ได้ พบว่าอาการมักแสดงออกมาให้เห็นในช่วงก่อนอายุ 40 ปี

 

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขรักษาอย่างไร ?

เนื่องจากปัจจัยสาเหตุที่ไม่แน่นอน มีความหลากหลายไม่แน่ชัด จึงไม่สามารถระบุการรักษาได้ว่าจะต้องรักษาโดยตรงอย่างไรให้กลุ่มอาการนี้หายไป โดยแพทย์มักเลือกใช้วิธีการตรวจร่างกายของคุณแม่ ว่าพบอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง มีการใช้ยาอะไรในช่วงที่ผ่านมา มีอาการบาดเจ็บในอวัยวะที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ไปจนถึงเป็นเบาหวาน หรือขาดธาตุเหล็กหรือเปล่า

หากพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข แพทย์จะทำการรักษาความผิดปกติของร่างกายนั้น ๆ เพื่อสังเกตว่าหากรักษาความผิดปกติที่พบแล้ว จะทำให้กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขรักษาบรรเทาขึ้นหรือไม่ หากอาการดีขึ้นก็คือการรักษาถูกปัจจัยสาเหตุ แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจต้องไปรักษาที่ปัจจัยอื่นกันต่อนั่นเอง

 

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข 2

 

คนท้องจะป้องกันกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขได้อย่างไร ?

ทั้งจากสาเหตุ และการรักษาของอาการนี้ที่เจาะจงได้ยาก ทำให้การป้องกันตนเองของคนท้องก็ยากตามไปด้วย เมื่อไม่รู้สาเหตุที่ชัดเจนก็ทำให้ป้องกันได้ลำบาก อย่างไรก็ตามการดูแลตนเองให้อยู่ในสภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคร้าย และภาวะแทรกซ้อนในช่วงขณะตั้งครรภ์ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการหนีห่างจากการอาการเจ็บป่วยทุกรูปแบบ ไปจนถึงการทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากนี้อาการผิดปกติต่าง ๆ จะตรวจพบได้จากการไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัด และหากพบอาการแปลก ๆ ที่เข้าข่าย ก็ควรบอกแพทย์ในทันทีด้วย

 

ภาวะความผิดปกติใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ไม่ควรที่จะมองข้าม ไม่ควรคิดว่าไม่เป็นไร เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติ หรือโรคร้ายบางชนิดในช่วงระยะแรก หากไปพบแพทย์ และแพทย์ตรวจเจอ การรักษาจะยิ่งทำได้ง่ายมากกว่าการปล่อยทิ้งไว้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้

คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คันขา ยุบยิบขา ก้มไปดูไม่มีอะไร กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข คนท้องเสี่ยงไหม ?
แชร์ :
  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • คนท้องกินวานิลลาได้ไหม เค้กวานิลลา ไอศกรีมวานิลลาปลอดภัยไหม

    คนท้องกินวานิลลาได้ไหม เค้กวานิลลา ไอศกรีมวานิลลาปลอดภัยไหม

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • คนท้องกินวานิลลาได้ไหม เค้กวานิลลา ไอศกรีมวานิลลาปลอดภัยไหม

    คนท้องกินวานิลลาได้ไหม เค้กวานิลลา ไอศกรีมวานิลลาปลอดภัยไหม

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ