X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

บทความ 5 นาที
คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

ช่วงนี้ฝุ่นพิษหนักมาก และอันตรายมาก ประเทศไทยบางจังหวัดติดอันดับโลกเลย แบบนี้แม่ท้องต้องระวัง คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม กังวลว่าทารกในครรภ์อาจโดนผลกระทบ หากรับฝุ่นพิษมากเกินไป หากแม่ท้องกำลังสงสัยในเรื่องนี้ แม่ท้องคิดถูกแล้ว ส่งผลต่อการคลอดอย่างไร มาอ่านกัน

 

คนท้องเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงอันตราย

ผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบต่อร่างกายของทุกคนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ หรือเพศไหน แต่มีกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายสูงอยู่ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังมากขึ้นเป็นพิเศษ นอกจากคนท้องแล้ว ยังมีผู้สูงอายุ, เด็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว เป็นต้น หากร่างกายรับ PM2.5 มากเกินไป จะทำให้มีอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ในกลุ่มของคนท้อง สามารถทำให้เกิดความผิดปกติได้หลายอย่าง ทั้งที่เกิดกับตัวของคุณแม่เอง และที่เกิดกับทารกทั้งตอนที่อยู่ในครรภ์ และทารกแรกเกิด ซึ่งเกิดจากปริมาณสารพิษที่อยู่ในร่างกายมากเกินไป ดังนั้นก่อนออกจากบ้าน หรือแม้แต่อยู่ในพื้นที่บ้านบางจุด จะต้องระวังมากขึ้นด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝุ่น PM 2.5 !! กลับมาอีกแล้ว ป้องกันลูกน้อยจากมลพิษด้วย 8 วิธีง่าย ๆ

 

วิดีโอจาก : RAMA Channel

 

คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม

หากคุณแม่กำลังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษ PM2.5 ว่าจะส่งผลต่อการคลอดของคุณแม่หรือไม่ ข่าวร้าย คือ ฝุ่นพิษชนิดนี้ สามารถส่งผลต่อการคลอดของคุณแม่ได้จริง ๆ โดยภาวะที่มีความเสี่ยง คือ การคลอดก่อนกำหนดนั่นเอง ซึ่งอาการนี้ สามารถสังเกตได้จากอาการเตือนต่าง ๆ ได้แก่ มีอาการปวดช่วงเอวลงไป โดยอาการปวดจะเป็น ๆ หาย ๆ  มีอาการเจ็บท้องเป็นระยะ ๆ อาจมีอาการปวด 4 ครั้ง ภายใน 20 นาที มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตได้จากทารกในท้องดิ้นน้อยลงกว่าปกติ หากมีอาการเหล่านี้ในช่วงนี้ อย่ารอเวลาเด็ดขาดให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ในทันที

หากทารกคลอดก่อนกำหนด จะทำให้เกิดภาวะความผิดปกติหลายอย่าง เช่น ทารกหายใจได้ลำบากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ, เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว, เส้นเลือดสมองเปราะแตกง่าย, การมองเห็นของทารกไม่ปกติ, มีโอกาสบกพร่องทางการได้ยิน ทารกติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย จากภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง เพราะคลอดก่อนเวลา และมีผลต่อพัฒนาการรอบด้านในระยะยาวด้วย เป็นต้น ซึ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนด จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดที่สุดตลอด 24 ชั่วโมง

 

คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม

 

ไม่ใช่แค่การคลอดก่อนกำหนด แต่ยังส่งผลต่อแม่ท้องหลายด้าน

รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ ได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับผลกระทบของ PM2.5 ต่อคนท้อง ซึ่งแน่นอนว่าการโดนฝุ่นไม่ได้ทำให้เกิดเพียงแค่การคลอดที่ผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดภาวะความผิดปกติอื่น ๆ ตามมาได้เช่นกัน ซึ่งแต่ละอาการ เป็นอาการที่น่าเป็นห่วง และมีความรุนแรง หากแม่ท้องไม่ระวัง ดังนี้

 

  • ทำให้ทารกตัวเล็ก : หากคุณแม่รับฝุ่น 5 มากเกินไป จะทำให้ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ จนทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานได้ ประกอบกับระบบภูมิคุ้มกันของทารกที่ไม่สมบูรณ์ในช่วงแรกเกิด จะทำให้ทารกที่ตัวเล็กไม่แข็งแรง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ
  • ทารกตายเฉียบพลัน : โรคการเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก (SIDS) หรือโรคใหลตาย เป็นความเสี่ยงที่รุนแรงมากจาก 5 สามารถสังเกตอาการได้จากทารกจะหยุดหายใจ หรือหายใจเสียงดัง และตัวเขียว หากพบอาการเหล่านี้ ให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยด่วน
  • เพิ่มความเสี่ยงออทิสติก : โรคออทิสติกเกิดจากความผิดปกติของสมองทารก ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้ว เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่แม่ท้องรับฝุ่นพิษ จนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ จะสังเกตได้ตั้งแต่ตอนลูกอายุ 6 เดือน โดยลูกจะไม่ยิ้ม และไม่แสดงอารมณ์สนุกสนานออกมาเลย
  • เพิ่มความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ : เป็นหนึ่งในภาวะที่คุณแม่คงไม่อยากให้เกิด เพราะภาวะนี้ส่งผลต่อร่างกายได้หลายอย่าง เช่น ทำให้มีอาการบวม, สายตาพร่ามัว, ทารกโตช้า และอาจรุนแรงถึงขั้นชัก หมดสติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น เลือดออกในสมอง หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นต้น

 

วิธีเลี่ยง PM2.5 เมื่อแม่ท้องต้องเดินทาง

ผลกระทบที่เกิดกับแม่ท้อง ทั้งการคลอดก่อนกำหนด และภาวะอื่น ๆ ทำให้แม่ท้องจะต้องระมัดระวังการรับฝุ่นพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้ง่าย แต่ต้องมีระเบียบวินัย ดังนี้

 

  • ยิ่งออกจากบ้านน้อยเท่าไหร่ยิ่งดี แม่ท้องควรออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น และเมื่อออกจากบ้านแล้ว จะต้องป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด
  • ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเมื่ออยู่นอกบ้าน โดยทั่วไปแล้ว หน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่น 5 ได้ดี คือ หน้ากากอนามัย N95
  • อยู่ห่างจากผู้ที่สูบบุหรี่ หรือในพื้นที่มีคนสูบบุหรี่ เพราะปริมาณในสารพิษในอากาศ ทำให้แม่ท้อง และทารกในครรภ์มีความเสี่ยงมากพอแล้ว
  • งดการเผาทุกอย่าง และเลี่ยงการใช้พาหนะส่วนตัว เป็นอีกช่องทางเล็ก ๆ ที่สามารถลดการเกิดฝุ่น หรือควันพิษกลุ่มใหม่ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ !

 

คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม 2

 

แม่ท้องอยู่บ้านก็ต้องป้องกันตนเอง

  • เลี่ยงการเปิดหน้าต่างในช่วงที่มีฝุ่นมาก เพื่อทำให้พื้นที่ภายในอาคาร หรือตัวบ้านมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  • ทำการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่คนในยุคนี้เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากปัญหาฝุ่นพิษที่เรื้อรังมานาน
  • ปลูกต้นไม้ฟอกอากาศ อาจไม่ได้ช่วยได้ทั้งหมด แต่เป็นตัวช่วยที่น่าสนใจ หากทำงานร่วมกับเครื่องฟอกอากาศ ต้นไม้ที่ฟอกอากาศได้ เช่น ต้นยางอินเดีย หรือพลูด่าง เป็นต้น
  • ทำความสะอาดบ้านมากขึ้น เพื่อลดฝุ่นที่อาจมาติดเกาะตามเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน ทำให้เกิดอันตรายได้

 

เมื่อแม่ท้องต้องดูแลสุขภาพ แม้ว่าการไม่ใส่หน้ากากอนามัย เป็นทางเลือกในหลายจังหวัด แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพียงแค่โรคไวรัสเท่านั้นที่ต้องระวัง ยังมีฝุ่นพิษอีกด้วย ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์ที่ต้องระวังเป็นพิเศษนี้ คุณแม่จะต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตนเองให้มากที่สุดด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องสวมหน้ากากอนามัย ได้นานขนาดไหน ส่งผลต่อลูกไหม

แนะนำ 11 เครื่องฟอกอากาศสำหรับเด็ก ที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ซื้อติดบ้านได้เลย

10 หน้ากากอนามัย N95 ยี่ห้อไหนดี ได้มาตรฐาน ป้องกันละอองฝุ่น PM 2.5

ที่มา : 1, 2

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?
แชร์ :
  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • คนท้องกินวานิลลาได้ไหม เค้กวานิลลา ไอศกรีมวานิลลาปลอดภัยไหม

    คนท้องกินวานิลลาได้ไหม เค้กวานิลลา ไอศกรีมวานิลลาปลอดภัยไหม

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • คนท้องกินวานิลลาได้ไหม เค้กวานิลลา ไอศกรีมวานิลลาปลอดภัยไหม

    คนท้องกินวานิลลาได้ไหม เค้กวานิลลา ไอศกรีมวานิลลาปลอดภัยไหม

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ