X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่ควรเข้าใจ

บทความ 5 นาที
ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่ควรเข้าใจ

ปัญหาอีกหนึ่งอย่างที่คุณแม่หลายคนอาจต้องเผชิญ คือ ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม อาการทางสุขภาพจิตหลังการหย่านมบุตร ซึ่งอาการนี้มักเกิดจากการที่คุณแม่หย่านมลูกโดยที่ลูกไม่พร้อม ทำให้ลูกปรับตัวไม่ได้ คุณแม่จึงเกิดอาการซึมเศร้า และรู้สึกสูญเสียนั่นเอง วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาไปดูว่า ซึมเศร้าหลังหย่านม เกิดจากอะไร และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง พร้อมแล้ว ไปดูกันค่ะ

 

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม คืออะไร?

ซึมเศร้าหลังหย่านม เป็นปัญหาสุขภาพจิตของคุณแม่บางคนที่ต้องเผชิญหลังจากหย่านมลูก เนื่องจากการหย่านมนั้น ต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่พอสมควร ซึ่งคุณแม่บางคนที่หย่านมลูกเร็วเกินไป อาจต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านอารมณ์ จนทำให้รู้สึกซึมเศร้า และรู้สึกสูญเสีย จนไม่สามารถเลี้ยงลูก หรือทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ ซึ่งหากคุณแม่มีภาวะอาการนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม หากคุณแม่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นนอนไม่หลับ วิตกกังวล มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเองหรือลูกน้อย คนรอบข้างต้องรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม เกิดจากอะไร?

โรคซึมเศร้าหลังหย่านม มักเกิดจากอารมณ์ และฮอร์โมนของคุณแม่ ซึ่งปกติแล้ว คุณแม่ที่เคยให้นมบุตรทุกวัน ก็จะมีความใกล้ชิด และผูกพันกับลูก แต่เมื่อต้องหยุดให้นมลูกเป็นเวลาหลายวัน ก็อาจทำให้คุณแม่รู้สึกแย่ และรู้สึกสูญเสียได้ จึงอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมา นอกจากนี้ ฮอร์โมนก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะนี้เช่นกัน โดยเมื่อคุณแม่ให้นมลูก ร่างกายของคุณจะหลั่งออกซีซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดี และช่วยในการเพิ่มน้ำนมด้วย รวมทั้งฮอร์โมนโปรแลคตินที่มีหน้าที่กระตุ้น และสร้างน้ำนม จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกง่วง และผ่อนคลาย หากคุณแม่หยุดให้นมลูก ก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการสับสน จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคซึมเศร้า คืออะไร เป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ หรือไม่?

 

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม

 

อาการซึมเศร้าหลังหย่านม

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านมบุตร มักเกิดขึ้นหลังจากที่คุณแม่ให้ลูกหย่าเต้าไปในช่วงระยะหนึ่ง จากนั้นคุณแม่จะเริ่มมีอาการเสียใจ ซึมเศร้า และรู้สึกสูญเสียได้ โดยอาการหลัก ๆ ของภาวะซึมเศร้าหลังหย่านมลูกนั้น มีดังนี้

  • นอนไม่หลับ
  • ไม่อยากเลี้ยงลูก
  • สูญเสียความเป็นตัวตน
  • ร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผล
  • รู้สึกเศร้า เสียใจ หมดหวัง
  • รู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ
  • หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบ
  • รับประทานอาหารน้อยลง หรือมากขึ้น
  • มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง หรือลูกน้อย

 

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม เป็นนานแค่ไหน?

คุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม อาจใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และต้องใช้เวลาในการปรับตัวหลังจากให้ลูกเลิกเข้าเต้า แต่หากคุณแม่มีอาการซึมเศร้าผิดปกติ มีความคิดในการอยากทำร้ายร่างกายตัวเอง หรือลูกน้อย หรือเคยมีประวัติในการป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการโรคซึมเศร้าในผู้ชาย เป็นแบบไหนกัน สัญญาณซึมเศร้าในผู้ชาย? 

 

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม

 

วิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังหย่านม

หากคุณแม่กำลังมีภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม สามารถรับมือได้ด้วยการปรับวิธีการใช้ชีวิตประจำวันง่าย ๆ แต่หากคุณแม่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยวิธีการรับมืออาการซึมเศร้าเบื้องต้นนั้น มีดังนี้

  • ยอมรับสถานการณ์

อย่างแรกคุณแม่ต้องเข้าใจสถานการณ์ก่อนว่า การที่ลูกเลิกดูดเต้านั้น หมายความว่าเขาจะไปใช้ขวดนมแทน คุณแม่จึงต้องทำใจกับความจริงก่อน ซึ่งเมื่อคุณแม่เข้าใจสถานการณ์นั้น ก็จะช่วยให้ยอมรับความจริงได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้คุณแม่สามารถจัดการกับความรู้สึกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

  • รับประทานยา

ฮอร์โมนเป็นปัจจัยอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้าหลังหย่านมลูก ดังนั้นการรับประทานยาบางชนิด จะช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ให้กลับมาเป็นปกติ และช่วยให้จิตใจของคุณแม่กลับมาเป็นเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาด้วยตัวเอง อาจเป็นอันตรายแก่ตัวคุณแม่เองได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา หรือสมุนไพรใด ๆ ก็ตามทุกครั้ง

 

  • ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ

การทำกิจกรรมที่คุณแม่ชื่นชอบ เป็นวิธีที่จะช่วยขจัดความเสียใจ ลดความเครียด และช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี โดยคุณแม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ทำสวน เล่นโยคะ หรือไปช้อปปิ้ง เพื่อบรรเทาอาการโศกเศร้า และเสียใจได้

 

  • ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม ให้ปรึกษาแพทย์

หากคุณแม่มีความผิดปกติทางอารมณ์ รู้สึกเศร้า เสียใจ นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ลง และมีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา เพราะการมีแพทย์เป็นผู้คอยให้คำปรึกษาอยู่ข้าง ๆ นั้น จะช่วยให้คุณแม่ได้รับคำแนะนำ และวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้อาการดังกล่าวหายไป และยังทำให้คุณแม่กลับมารู้สึกดีได้เหมือนเดิมด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ซึมเศร้าหลังคลอด เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่หลาย ๆ คนอาจต้องเผชิญ

 

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม

 

  • พูดคุยกับคนใกล้ชิด

บางครั้งการที่คุณแม่ต้องเผชิญกับอาการซึมเศร้าคนเดียว อาจทำให้รู้สึกแย่ยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นการพูดคุยกับผู้อื่น โดยเฉพาะสามี ญาติ เพื่อนสนิท หรือคนใกล้ชิดอื่น ๆ จะช่วยให้คุณแม่สามารถระบายความในใจ และปรึกษากับอาการที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้การมีคนอยู่ข้าง ๆ ก็จะคอยช่วยเหลือ และเป็นที่ปรึกษาให้กับคุณแม่ในขณะที่คุณแม่มีอาการซึมเศร้าได้

 

  • ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ร่างกายของคุณแม่แล้ว ยังดีต่อสุขภาพจิตของคุณแม่อีกด้วย โดยคุณแม่สามารถออกกำลังกายง่าย ๆ อย่างเช่น วิ่ง เดิน ว่ายน้ำ โยคะ พิลาทิส หรือขี่จักรยาน เป็นต้น เพื่อช่วยให้จิตใจมีสมาธิ รู้สึกสบายใจ และผ่อนคลายความเครียดได้ หากคุณแม่ออกกำลังกายวันละประมาณ 20 นาที ก็จะช่วยให้อาการซึมเศร้าหลังหย่านมลดลงได้

 

  • ไปนวดหรือฝังเข็ม

อีกหนึ่งวิธีการในรับมือกับอาการซึมเศร้าหลังหย่านม คือการไปนวด และฝังเข็ม ซึ่งการนวดนั้น จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี ช่วยให้รู้สึกสบายตัว ปลอดโปร่ง และคลายเครียดได้ นอกจากนี้การฝังเข็ม ก็จะช่วยทำให้สมองได้ผ่อนคลายอีกเช่นกัน อีกทั้งยังช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้มากขึ้นอีกด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

วิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังหย่านมวิธีสุดท้าย คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ร่วมกับรับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำ อีกทั้งยังควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว หากคุณแม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเหมาะสม สารอาหารบางชนิดก็จะช่วยทำให้คุณแม่คลายเครียด และลดความวิตกกังวลได้

 

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงหลังจากการหย่าเต้า แต่อาการนี้ก็จะเกิดขึ้นเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น คุณแม่จึงไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป แต่หากคุณแม่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง มีความคิดที่จะทำร้ายร่างกายตัวเอง และลูกน้อย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อให้แพทย์ทำการรักษา และให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แค่เศร้า หรือเข้าข่ายเป็น “โรคซึมเศร้า” โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

ลูกหย่านม ทำอย่างไรให้ได้ผล ? หากลูกติดเต้าไม่ยอมดูดขวด

7 กิจกรรมต้านซึมเศร้า ในเด็ก เติมสุข พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่ควรเข้าใจ
แชร์ :
  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

    สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

    สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ