คุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ มักจะเป็นกังวลว่าตัวเองจะมีน้ำนมน้อย กลัวว่าน้ำนมจะไม่พอให้ลูกกิน วันนี้ทางทีมงาน theAsianparent มีเคล็ดลับการเพิ่มน้ำนม วิธีกระตุ้นน้ำนม วิธีเพิ่มน้ำนมแม่ ทำให้มีน้ำนมมากขึ้นมาฝากกัน ส่วน วิธีกระตุ้นน้ำนม จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย
น้ำนมแม่น้อยจริงหรือไม่
ก่อนที่จะทราบถึงวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ เรามาดูกันก่อนว่า จริง ๆ แล้ว น้ำนมแม่น้อยจริงหรือคิดไปเอง ซึ่งเวลาเห็นลูกร้องหิวบ่อย ๆ คุณแม่หลายท่านก็อาจจะเข้าใจว่าตัวเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ มีน้ำนมน้อย จนเกิดความเครียด เกิดความกังวล ซึ่งจริง ๆ แล้ว น้ำนมของคุณแม่อาจจะไม่ได้น้อยอย่างที่เข้าใจ และสาเหตุที่มักจะทำให้คุณแม่เข้าใจผิด คิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อย ก็ได้แก่เรื่องต่าง ๆ อย่างเช่น
สาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อย
ทีนี้มาดูกันว่า สาเหตุจริง ๆ ที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยมีอะไรบ้าง โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยมีหลายประการ เช่น
- เริ่มให้ลูกดูดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมหลังคลอดช้าเกินไป
- ให้ลูกเข้าเต้าผิดวิธี ลูกอมงับได้ไม่ลึกพอ
- ให้ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอในช่วงแรก (น้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ซึ่งมักจะเกิดร่วมกับการเสริมนมผสม การให้ดื่มน้ำ หรืออาหารเสริม (ก่อนวัยอันสมควรคือ 6 เดือน) ทำให้ลูกอิ่มไม่ยอมดูดนมแม่
- คุณแม่ที่กลับไปทำงานแล้วปั๊มนมออกน้อยเกินไป หรือทิ้งระยะห่างเกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง
- สาเหตุจากความเครียด พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารน้อย
- กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
บทความที่เกี่ยวข้อง : เต้านมคัด หลังคลอด เต้านมเป็นก้อน เกิดจากอะไร มีวิธีไหนช่วยลดปวดเต้านมได้
เต้านมไม่คัด จึงเข้าใจผิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลง
การที่เต้านมไม่คัด จึงเข้าใจผิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลง แต่ที่จริงมาจากร่างกายสามารถปรับการผลิตน้ำนมแม่ได้พอดีกับความต้องการของลูกนั่นเอง
ลูกดูดนมแล้วหลับก่อนจะอิ่ม เมื่อเอาลูกออกจากเต้าไม่นาน ก็ร้องหิวใหม่
เมื่อคุณแม่เห็นลูกหลับจึงเอาลูกออกจากเต้า เพราะเข้าใจว่าลูกอิ่มแล้ว แต่พอจะเอาออกก็ร้องขอดูดต่อ หรือหลับได้ครู่เดียวก็ร้องหิวใหม่อีก ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองน้ำนมน้อย ในกรณีแบบนี้ แนะนำให้คุณแม่สังเกตว่า ถ้าลูกหลับขณะกินนม และคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม แต่ถ้ายังไม่คาย เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบา ๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อโดยวิธีการดังนี้
- ใช้นิ้วชี้ที่ประคองด้านล่างของเต้านม และเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ดูดต่อ
- ใช้มือบีบเต้านม เพื่อไล่น้ำนมเข้าปากลูก ลูกจะกลืนน้ำนมและดูดต่อ เมื่อลูกหยุดดูด ก็บีบใหม่ ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง แต่ถ้าหากว่าบีบไล่น้ำนมสักพักแล้วไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะน้ำนมในเต้านั้นลดน้อยลง และไหลช้าลง ก็ให้เปลี่ยนไปอีกเต้าหนึ่ง ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง
- หากลูกไม่ยอมตื่นมาดูดนมแม่ต่อ ให้เอาลูกออกจากเต้า และปลุกให้ตื่นก่อน จึงนำเข้าเต้าเพื่อดูดนมอีกครั้ง
ให้ลูกดูดนมสลับเต้าไปมาในมื้อเดียวกัน
การที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมสลับเต้าไปมาในมื้อเดียวกัน ก็อาจทำให้ลูกได้แต่น้ำนมส่วนหน้า ไม่ได้น้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันมากกว่า จึงทำให้ลูกหิวเร็ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูก ดูดนม ลูกไม่ยอมอ้าปากเข้าเต้า ทำอย่างไรให้ลูกดูดเต้าอย่างถูกวิธี?

วิธีกระตุ้นน้ำนม ด้วยเทคนิค Power Pumping
Power Pumping เป็นเทคนิคที่หลอกให้ร่างกายผลิตน้ำนมด้วยการเลียนแบบการดูดนมของทารกจากการปั๊ม หากคุณแม่ใช้เทคนิคนี้ติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะช่วยให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมาเพิ่มขึ้นเองตามธรรมชาติ
โดยวิธีการปั๊มจะดีกว่าการรับประทานอาหารเสริมและการใช้วิธีอื่น ๆ แต่หากคุณแม่คนไหนไม่มีปัญหาเรื่องน้ำนมมาน้อยก็ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคนี้ก็ได้ เพราะถ้าปริมาณน้ำนมมากเกินไปก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ได้ ดังนั้น หากมีน้ำนมเพียงพอก็เลือกเทคนิคอื่นจะดีกว่าค่ะ
ขั้นตอนการทำเทคนิค Power Pumping
การทำพาวเวอร์ปั๊ม คุณแม่จะต้องปั๊มนมในช่วงเวลาเดิมทุกวันเพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อการกระตุ้น และสามารถผลิตน้ำนมเองขึ้นได้ตามธรรมชาติ คุณแม่อาจใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อวันและทำติดต่อกัน 1 สัปดาห์ แต่อย่าหักโหมมากเกินไปนะคะ ไม่เช่นนั้นอาจเจ็บหัวนมและเต้านมได้ โดยตารางการปั๊มนั้น มีดังนี้
1. ปั๊มวันละ 1-2 ครั้ง
- ปั๊ม 20 นาที
- พัก 10 นาที
- ปั๊ม 10 นาที
- พัก 10 นาที
- ปั๊ม 10 นาที
2. ปั๊มวันละ 5-6 ครั้ง
หากคุณแม่ต้องการทำพาวเวอร์ปั๊มเวลาสั้น ๆ แต่ถี่ขึ้น คุณแม่สามารถทำตามตารางดังนี้
- ปั๊ม 5 นาที
- พัก 5 นาที
- ปั๊ม 5 นาที
- พัก 5 นาที
- ปั๊ม 5 นาที
3. ปั๊มนม 2 ข้าง
สำหรับคุณแม่ที่ต้องการปั๊ม 2 ข้าง หรืออยากปั๊มพร้อมกันทั้ง 2 เต้าในครั้งเดียว ก็สามารถทำได้เหมือนกัน โดยทำตามตารางดังนี้
- ปั๊มนมข้างขวา 10 นาที จากนั้นปั๊มนมข้างซ้าย 10 นาที
- พัก 5 นาที
- ปั๊มนมข้างซ้าย 10 นาที จากนั้นปั๊มนมข้างขวา 10 นาที
- พัก 5 นาที
- ปั๊มนมข้างขวา 10 นาที จากนั้นปั๊มนมข้างซ้าย 10 นาที
อย่างไรก็ตาม การทำเทคนิคพาวเวอร์ปั๊มจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่ คุณแม่บางคนอาจใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงต่อวัน ติดต่อกันเพียง 2-3 วันก็สามารถเพิ่มน้ำนมได้มากขึ้น แต่คุณแม่บางคนก็อาจใช้เวลา 2 ชั่วโมงเป็นสัปดาห์หรือมากกว่านั้นเลยก็ได้ กว่าน้ำนมจะผลิตออกมา ดังนั้น ควรวางแผนการทำเทคนิคดีให้ดี ๆ และอย่าหักโหมมากจนเกินไปนะคะ

สำหรับคุณแม่ที่ยังรู้สึกว่า ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเพิ่มน้ำนม หรือยังมีปัญหาน้ำนมไม่เพียงพออื่น ๆ เราขอแนะนำ คลับคุณแม่น้ำนมน้อย กลุ่ม Facebook ที่คุณแม่สามารถตั้งคำถามที่คุณแม่สงสัย เกี่ยวกับปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอ และจะได้คำตอบจากแม่ผู้มีประสบการณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญผู้มีความรู้ในการเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ถูกต้องค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สุดยอดอาหารเพิ่มน้ำนม ทั้งปริมาณและคุณภาพ แถมช่วยลูกสมองดี
ปัญหาน้ำนมแม่ น้ำนมน้อย แม่ให้นมเครียดสุด เรื่องจริงหรือแม่คิดไปเอง
เผยเคล็ดลับ! เทคนิคเพิ่มน้ำนม และจัดตารางการปั๊มนมสำหรับ Working Mom!
ที่มา : 1, 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!