กิจกรรมต้านซึมเศร้า สำหรับเด็กที่เป็นโรคซึมเศร้า โรคทางสุขภาพที่จิตที่พบเป็นจำนวนมากในเด็กยุคปัจจุบันที่ได้รับผมกระทบจากสภาพแวดล้อม สังคม หรือแม้แต่ภายในครอบครัวเองก็ตาม ดังนั้นพ่อแม่ยุคใหม่อย่างเรามาเรียนรู้วิธีต้านซึมเศร้าให้กับลูก ๆ กันดีกว่า เพื่อเติมความสุข และยังได้กระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวด้วย
อาการเบื้องต้นของภาวะซึมเศร้าในเด็ก
สำหรับผู้ปกครองที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก ๆ แล้วเรามักจะทราบกันเป็นอย่างดีเกี่ยวกับพฤติกรรมทางอารมณ์ของพวกเขาระหว่างอารมณ์ไม่ดี หรืออาการหดหู่ หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า โดยปกติแล้ว หากพวกเขาอารมณ์ไม่ดี หรืออยู่ภาวะที่พวกเขาไม่พร้อมที่จะสื่อสารกับใคร เก็บตัวอยู่คนเดียว หรือร้องไห้ออกมาโดยไม่ทราบสาเหตุพวกเขาจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 1-3 วัน หรือถ้าหากคุณรู้จักเด็ก ๆ และมีวิธีจัดการกับอารมณ์ของพวกเขา อาจทำให้พวกเขารู้สึกดีได้ในไม่ช้า แต่หากพวกเขาอยู่ในภาวะซึมเศร้าแล้วหละก็ อารมณ์ของเขาจะแตกต่างออกไป เขาอาจเหมือนถูกบางสิ่งบางอย่างครอบงำ และให้จมอยู่กับความเศร้านั้นเป็นเวลานาน โดยภาวะซึมเศร้านั้นในแต่ละคนก็จะมีความรู้สึก นึกคิดที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของพวกเขาด้วย ซึ่งอาการที่พบเป็นส่วนใหญ่ มีดังต่อไปนี้
- ตีตัวออกห่าง และหลีกเลี่ยงการพบเจอบุคคล หรือสถานการณ์ในสังคม
- ไม่มีสมาธิ จิตใจไม่อยู่กับเหนือกับตัว ไม่สนใจในการเรียน
- หากพวกเขามีสิ่งที่ชอบทำมาก ๆ เขาอาจไม่อยากจะทำมัน
- บางครั้งอาจมีความรู้สึกโกรธ หรือหงุดหงิด
- ร้องไห้ เศร้า เหงา และรู้สึกสิ้นหวังกับตัวเอง
- รู้สึกว่างเปล่า งุนงง
- น้อยเนื้อต่ำใจ วิจารณ์ถึงข้อเสียของตัวเอง และสูญเสียความมั่นใจ
- นอนหลับมาก หรือน้อยจนเกินไป
- รับประทานอาหารมากขึ้น หรือน้อยกว่าปกติ
- มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่มีแรง
- ไม่สนใจการเป็นอยู่ หรือกิจกรรมที่ต้องทำด้วยตัวเอง
- ทำร้ายตัวเอง
- มีความคิดที่อยากจะฆ่าตัวตาย
จากที่กล่าวมา หากเด็ก ๆ ของคุณมีเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีมากกว่า 1 ข้อนั่นหมายความว่าพวกเขากำลังประสบปัญหาภาวะซึมเศร้า คุณควรที่จะติดต่อจิตแพทย์ และพาเขาไปพบแพทย์ให้ไวที่สุด เพื่อหาทางออก และวิธีการในการรักษา
บทความที่น่าสนใจ : รับมือโรคซึมเศร้าในเด็ก
7 กิจกรรมต้านซึมเศร้า สำหรับเด็กที่มีภาวะซึมเศร้า
หลังจากที่คุณพบว่าลูกของพวกคุณมีภาวะซึมเศร้า และได้ทำการพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยังมีกิจกรรมง่าย ๆ ที่คุณเองก็สามารถทำเองได้ที่บ้าน เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผ่อนคลาย หรือลดความเศร้าลง ถึงแม้ว่ากิจกรรมเหล่านี้ยังไม่มีการรับรองว่าสามารถใช้ได้ผลกับการรักษา 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถช่วยเพิ่มความรู้สึก หรือกระตุ้นให้พวกเขาเกิดความคิดเชิงบวก ดังต่อไปนี้
1. ชวนเด็ก ๆ ทำกิจกรรมต้านซึมเศร้า
การที่เด็ก ๆ อยู่ภาวะซึมเศร้านั้นอาจมีสาเหตุปัจจัยภายในครอบครัว อาทิ การหย่าร้างของพ่อแม่ การที่คนในครอบครัวทะเลาะกัน หรือแม้แต่การที่ผู้ปกครองไม่สนใจพวกเขา นอกจากนี้ยังรวมถึงปัจจัยภายนอกอย่าง เพื่อนที่โรงเรียน หรือการถูกรังแกจากสังคมภายนอกอีกด้วย ซึ่งทำให้พวกเขาไม่อยากที่จำเข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ดังนั้นการที่คุณชวนพวกเขามาทำกิจกรรมต้านเศร้านั้นอาจทำให้พวกเขารู้สึกฝืนในช่วงแรก แต่หากเขาผ่านไปได้ ในครั้งต่อ ๆ ไป อาจเป็นการแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต หรือการความคิดเชิงบวกกับสิ่งที่ทำให้เข้าเกิดภาวะซึมเศร้า โดยกิจกรรมที่คุณสามารถทำร่วมกับพวกเขาได้มีดังต่อไปนี้
- ทำอาหาร หรือของว่างร่วมกัน
- ชวนเขาวาดภาพ ระบายสี หรือการหาสีจากธรรมชาติมาวาดรูป
- พาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่น
- จัดห้องนอนใหม่
- ดูหนังพร้อมกันในครอบครัว หรือชวนเพื่อน ๆ ของเขามาทำกิจกรรมที่บ้าน
2. การตอบกลับพวกเขาด้วยความคิดเชิงบวก
ไม่ง่ายเลยสำหรับการทำให้เด็ก ๆ ที่มีทัศนคติเชิงลบยอมเปิดใจ และรับฟังทัศนคติเชิงบวกจากคุณ เพราะไม่ว่าคุณจะพูดสิ่งใดพวกเขาจะแปลคำพูดของคุณในเชิงลบทันที คุณจะต้องรู้จักการตั้งคำถามตอบกลับที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถคิด หรือคิดในเชิงลบได้น้อยที่สุด อาทิ ลูกมีหลักฐานไหมว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง? เพื่อนคนไหนของลูกที่ทำให้ลูกมีความคิดแบบนี้? หรือถ้าเรื่องที่ลูกพูดเกิดขึ้นจริงมันจะเป็นจุดจบของทุกอย่างหรือเปล่า เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจ : สอนลูกยังไงให้ไม่เหยียด กรณีศึกษาจากดราม่า #Ummก็สวยอยู่
3. ท้าลมแดด อาบน้ำฝน รับลมหนาว
การได้ทำกิจกรรมนอกบ้านนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เด็กที่อยู่ในภาวะซึมเศร้ารู้สึกได้รับอิสรภาพ ไม่มีกรอบ หรือห้องสี่เหลี่ยมมาบังคับกะเกณฑ์ในสิ่งที่เขาเป็น ในสิ่งที่เขาคิด เขาสามารถสนุกกับกิจกรรมนอกบ้านได้ คุณอาจชวนเด็ก ๆ ไปตั้งแคมป์ หรือสัมผัสกับธรรมชาติ เพื่อให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลายได้ ถึงแม้ว่าจะในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม ถือว่าเป็นกิจกรรมต้านเศร้าที่นอกจากลดภาวะซึมเศร้าได้แล้ว ยังช่วยเรื่องของการรกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้อีกด้วย
4. การนอนหลับที่เหมาะสม
การนอนหลับ ถึงแม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่คุณไม่สามารถทำร่วมกับพวกเขาได้ แต่คุณสามารถช่วยให้เขานอนหลับ และตื่นในเวลาที่เหมาะสมได้ โดยปกติแล้วเด็กที่มีภาวะซึมเศร้านั้นจะมีอาการนอนหลับมาก หรือน้อยเกินไป คุณควรช่วยเขาในเรื่องนี้ ถ้าหากเขานอนน้อยเกินไป คุณอาจหากิจกรรมก่อนนอน เพื่อให้เขารู้สึกผ่อนคลายและเข้านอนได้ตามปกติ หรือถ้าเขานอนมากเกินไป คุณจะต้องหากิจกรรมให้เขาทำระหว่างวันเพื่อที่ไม่ให้เขานอนหลับได้
บทความที่น่าสนใจ : 15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก
5. ออกกำลัง ขยับร่างกาย
การออกกำลังกายทุกวัน สามารถบรรเทาความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าในเด็กได้ นอกจากการที่พวกเขาจะได้เคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ได้ออกจากการยึดติด หรือจมอยู่กับความเศร้าแล้ว พวกเขายังจะได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับคนอื่นอีกด้วย โดยการออกกำลังกายนั้นร่างกายของพวกเขาจะปล่อยสารเอ็นโดรฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขที่จะช่วยยกระดับอารมณ์ และความรู้สึกของพวกเขาให้ดีขึ้นได้
6. การเปิดใจพูดคุย หรือรับฟังเหตุผลของกันและกัน
การที่เด็ก ๆ มีภาวะซึมเศร้านั้นอาจเกิดจากที่พวกเขาเก็บความรู้สึกนึกคิดไว้เพียงลำพัง ทำให้พวกเขานั้นรู้สึกว่าตนเองจมอยู่กับความเศร้าตลอดเวลา คุณควรเริ่มที่จะเปิดใจพูดเรื่องต่าง ๆ หรือแบ่งปันความสุขให้กับพวกเขา และรับฟังความคิดเห็น หรือความรู้สึกของพวกเขาให้มากขึ้น บางทีความรู้สึกที่พวกเขารู้สึกอยู่อาจถูกปลดล็อกก็เป็นได้ แต่คุณก็ต้องทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าพวกเขาสามารถระบาย หรือพูดสิ่งต่าง ๆ ของพวกเขาได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าคุณจะดุ หรือว่าเขา
บทความที่น่าสนใจ : สอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธ ด้วยคำว่า “ไม่” ทำไมถึงต้องสอน?
7. สร้างความมั่นใจ และสนับสนุนเขา
ในบางครั้งความคิดของเด็ก ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เขาชอบ หรือสิ่งที่เขาต้องการอาจไม่ได้รับการสนับสนุน และถูกตอกย้ำด้วยความคิดของผู้ปกครอง หรือคนในสังคมด้วยความคิดเชิงลบ ทำให้พวกเขาไม่กล้าที่จะแสดงความรู้สึก ความคิด หรือแม้แต่การสูญเสียความมั่นใจในตัวเองไป หากคุณเคยทำแบบนั้นคุณควรหยุดทันที เพราะการบังคับให้เขาทำ หรือไม่สนับสนุนในความคิด ความชอบของเด็ก ๆ นั้นนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ คุณควรที่จะสนับสนุนเขาไปในทางที่ดี หากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เขาชอบและไม่ได้ผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม แต่หากเขาทำมันไม่ถูกต้องคุณแค่บอกเหตุผล และอธิบายให้เขาฟังว่าสิ่งนั้นไม่ดีอย่างไร แค่นั้นก็ถือว่าคุณได้สนับสนุนพวกเขาแล้ว
หากใครที่กำลังประสบปัญหาลูกเป็นภาวะซึมเศร้านั้นอย่าเพิ่งเครียดไปนะคะ ทุกอย่างมีทางออกเสมอ แต่สิ่งแรกที่คุณควรทำคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณเอง โดยคุณจะต้องเข้าใจ และมีเวลาอยู่กับเขาให้มาก ๆ ใช้ความรักที่คุณมีกับกิจกรรมต้านเศร้าของเราช่วยให้ลูกของคุณมีความสัมพันธ์ทางอารมณ์และความรู้สึกกันมากขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้ผลเกี่ยวกับการรักษาโรคโดยตรง แต่ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของคุณต้องดีขึ้นแน่ ๆ ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ :
พาลูกเที่ยวทิพย์ พร้อมกิจกรรมช่วงอยู่บ้าน กักตัวอยู่บ้านยังไงไม่ให้เบื่อ
กิจกรรมฮา ๆ ที่บ้าน คลายเครียด ให้เหมือนได้เที่ยวช่วงโควิด
ที่มา : katielear, medicalnewstoday, marathonkids, youngminds, nami
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!