X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 อาการเล็บคนท้องผิดปกติ ที่ต้องสังเกต อาจเป็นสัญญาณบอกโรค

บทความ 5 นาที
8 อาการเล็บคนท้องผิดปกติ ที่ต้องสังเกต อาจเป็นสัญญาณบอกโรค

เมื่อเล็บของคุณแม่อาจบอกโรคได้ อาการเล็บคนท้องผิดปกติ ที่ไม่ควรมองข้าม การสังเกตอาการเล็ก ๆ ในวันนี้ อาจเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาโรคบางชนิดแต่เนิ่น ๆ ได้ หากคุณแม่คนไหนสังเกตเล็บของตนเองแล้วมีความผิดปกติแม้เล็กน้อย ควรจะต้องอ่านบทความนี้ให้จบเลย

 

8 อาการเล็บคนท้องผิดปกติ

เมื่อตั้งครรภ์แล้ว การดูแลสุขภาพ และสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณแม่จะมีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยของแม่ท้อง และทารกในครรภ์ หลายคนอาจให้ความสำคัญกับสภาพร่างกาย จนอาจลืมไปว่าเล็บที่ปลายนิ้วเล็ก ๆ นี้ก็เป็นจุดสังเกตที่อาจบอกได้ว่าร่างกายของคุณแม่เกิดความผิดปกติได้เช่นกัน โดยเรายกกลุ่มอาการทั้ง 8 อาการมาให้คุณแม่สังเกตตนเองกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร ใครอยากมีลูกต้องตรวจก่อน

 

วิดีโอจาก : รายการ คุยกับหมออัจจิมา

 

1. ขอบเล็บมีสีเหลือง หรือเล็บเหลือง

หากคุณแม่พบว่าตนเองมีเล็บออกสีเหลือง อาจหมายถึงว่ามีอาการติดเชื้อรา ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้ หากคุณแม่ไม่ได้ดูแลตนเองให้มากพอ อาจเกิดจากการทำงานบ้านที่ใช้มือจุ่มน้ำบ่อย ๆ เช่น การล้างจาน หรือซักผ้าด้วยมือ เป็นต้น ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อรา หากไม่ล้างมือหลังทำงานบ้านให้ดี คุณแม่อาจสงสัยว่าทำไมเมื่อก่อนถึงไม่เป็น แต่มาเสี่ยงตอนตั้งครรภ์ นั่นเป็นเพราะว่า ในช่วงตั้งครรภ์ภูมิคุ้มกันของคุณแม่จะไม่คงที่ และมีแนวโน้มลดต่ำลงไป

นอกจากนี้การกินยาบางชนิดยังเพิ่มความเสี่ยงอีกด้วย หากมีอาการเล็บเหลืองที่เกิดจากการติดเชื้อรา หากปล่อยเอาไว้เชื้อจะสามารถลุกลามไปที่ส่วนอื่น ๆ ได้ โดยทั่วไปสามารถดูแลรักษาได้ด้วยการทายาที่ผิวตรงเล็บ และทาขอบเล็บ อาจต้องใช้ยาทาต่อเนื่องประมาณ 1 เดือน

 

2. มีจุดขาวเกิดขึ้นที่เล็บ

ลักษณะของจุดขาวจะคล้ายกับจุดเล็ก ๆ เปื้อนเล็บ อาจสร้างความเข้าใจผิดให้คุณแม่ตั้งครรภ์คิดว่าไม่เป็นอะไร แท้จริงแล้วอาการนี้อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของอาการติดเชื้อราเช่นกัน อาการนี้จะไม่รุนแรงหากรีบทำการรักษาด้วยการทายา แต่ไม่ควรซื้อยามาทานเอง เพราะมีกลุ่มยาบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

อาการแบบนี้หากต้องการหลีกเลี่ยง คุณแม่ไม่ควรทำกิจกรรมใด ๆ หรืองานบ้านที่ต้องให้มือแช่น้ำนาน ๆ เพราะหากน้ำไม่สะอาด ประกอบกับเชื้อราที่เกิดจากจานที่ไม่สะอาด หรือผ้าที่สกปรก จะทำให้มีความเสี่ยงได้ อาจดีกว่าถ้าจะแยกงานบ้านเหล่านี้ทำคนละวันกัน หรือแบ่งทำเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องนี้

 

3. เล็บมีรอยบุ๋มตามรอยขวาง

โดยทั่วไปแล้วอาการแบบนี้เกิดได้จากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เล็บมีรอยบุ๋ม จากการถูกบีบหรือกดทับ แต่ถ้าหากคุณแม่พบว่าอาการชนิดนี้เกิดขึ้นเอง โดยที่นิ้วของคุณแม่ไม่ได้ไปโดนอะไรมา อาจต้องระวังไว้หน่อย เพราะอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของโรคอันตรายหลายโรค เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ เป็นต้น จึงจะเป็นการดีกว่าถ้าหากคุณแม่ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจโรคต่าง ๆ หรือตรวจร่างกายตามที่แพทย์กำหนด หากพบความเสี่ยง หรือพบโรคร้าย การรักษาตั้งแต่ในระยะแรก ๆ จะทำได้ง่ายกว่า

 

อาการเล็บคนท้องผิดปกติ

 

4. รู้สึกว่าเล็บตนเองไม่แข็งแรง หักได้ง่าย

สาเหตุของอาการนี้เกิดขึ้นได้หลายแบบทั้งจากการที่คุณแม่เป็นคนรักสวยรักงาม ชอบทำเล็บ ทาเล็บ ทำเล็บเจล หรือต่อเล็บ เป็นต้น การทำสิ่งเหล่านี้อาจมีขั้นตอนที่ต้องใช้สารเคมี ที่สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อเล็บ และอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย หากคุณแม่ไม่ระวัง เราจึงไม่ค่อยอยากแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทำเล็บ เพื่อความปลอดภัยไปก่อน อย่างน้อยก็จนกว่าจะคลอดทารกน้อย

กรณีที่คุณแม่ไม่ได้เป็นคนทำเล็บ อาจหมายถึงร่างกายของคุณแม่ขาดสารอาหารบางอย่าง โดยเฉพาะแคลเซียม, วิตามิน C และวิตามิน B เป็นต้น เรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยเพิ่มปริมาณการทานผักผลไม้ และธัญพืชให้สมดุลกับการทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือการป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือ การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่นั่นเอง

 

5. มีเส้นคล้ายคลื่นตามแนวตั้งของเล็บ

หากคุณแม่พบอาการแบบนี้ ไม่ต้องเป็นห่วงไป เพราะไม่ใช่อาการที่หนักอะไร ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากการที่ร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายนั่นเอง นอกจากนี้ยังเกิดจากสภาวะทางอารมณ์ เช่น มีความเครียด หรือเป็นอาการของโรคบางโรคที่ไม่ได้อันตรายมากอย่างไทรอยด์ แต่โดยส่วนมากคนท้องที่มีอาการแบบนี้จะเกิดจากฮอร์โมน ทำให้วิธีแก้นั้นทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเองในระหว่างตั้งครรภ์ และรอให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติ หลังจากคลอดทารกเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามหากคุณแม่พบว่ามีอาการผิดปกติอื่น ๆ เกิดขึ้นกับร่างกายร่วมด้วย ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างจริงจัง เพราะอาจมีโรคบางโรคแทรกซ้อนหลบซ่อนอยู่ในร่างกายของคุณแม่ได้ด้วยเช่นกัน

 

6. มีเล็บงอคล้ายช้อน

อาการเล็บโค้ง ๆ งอ ๆ คล้ายช้อนนี้เป็นอาการที่น่าเป็นห่วง ไม่ควรมองข้าม เพราะเกิดจากโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ, โรคโลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น ซึ่งโลหิตจางเป็นโรคที่คนท้องมีความเสี่ยง จากการขาดธาตุเหล็ก คุณแม่อย่าลืมว่าสารอาหารในร่างกาย จะต้องใช้กันแบบหาร 2 เพราะมีทารกอยู่ในท้องด้วย จึงควรเพิ่มสารอาหารมากกว่าตอนท้องในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมาในภายหลัง

 

อาการเล็บคนท้องผิดปกติ 2

 

7. มีเส้นหนาสีดำตามแนวตั้งของเล็บ

เป็นอาการที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาการแบบนี้เป็นสัญญาณของโรคร้ายอย่าง “มะเร็งผิวหนัง” ยิ่งเส้นสีดำปรากฏออกมาชัดเจนมากเท่าไหร่ ยิ่งหมายถึงความเสี่ยงที่มากขึ้นเท่านั้น เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัย คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรอง หากพบว่าป่วยในระยะแรก การรักษาจะได้ผลลัพธ์ดีกว่าในระยะหลัง ๆ

 

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้

8. ปลายเล็บร่น

ปลายเล็บก็แยกเป็นสีเหลือง ๆ ออกจากเนื้อเล็บ ทำให้ใต้เล็บมีพื้นที่ว่างมากขึ้น อาการแบบนี้เกิดได้จากโรคบางชนิด เช่น ไทรอยด์, ผิวหนังอักเสบ หรือติดเชื้อรา เป็นต้น กรณีเลี่ยงการติดเชื้อราก็หนีไม่พ้นการดูแลทำความสะอาดเล็บของคุณแม่ เลี่ยงงานบ้านที่ทำให้แช่เล็บในน้ำนาน แต่ถ้าหากคุณแม่มั่นใจว่าไม่ได้ทำงานบ้านเหล่านี้มากอยู่แล้ว ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง

 

เล็บที่ผิดปกติอาจเป็นอาการของโรค หรือไม่ก็ได้ เพราะยังต้องสังเกตอาการอื่น ๆ ด้วย แต่เพราะความไม่แน่นอนนี้เอง คงจะดีกว่าหากคุณแม่มีความสงสัยแล้วจะปรึกษาคุณหมอในทันที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องมีตุ่มใต้รักแร้ เกิดจากอะไร ควรกังวลมากแค่ไหน

คนท้องกินบราวนี่ได้ไหม กินมากกว่า 1 ชิ้นได้ไหม กินแบบไหนให้สุขภาพดี

Babymoon Trip คืออะไร พาลูกในครรภ์เที่ยว ก่อนเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • 8 อาการเล็บคนท้องผิดปกติ ที่ต้องสังเกต อาจเป็นสัญญาณบอกโรค
แชร์ :
  • ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

    ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

  • แพ้ท้องรุนแรง อาเจียนบ่อย จะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม

    แพ้ท้องรุนแรง อาเจียนบ่อย จะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม

  • ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

    ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

  • ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

    ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

  • แพ้ท้องรุนแรง อาเจียนบ่อย จะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม

    แพ้ท้องรุนแรง อาเจียนบ่อย จะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม

  • ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

    ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว