อาการผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ ของร่างกาย บางครั้งความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้อาการของโรคส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ โรคไทรอยด์ อาการไทรอยด์เป็นพิษ ถือเป็นความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย
ไทรอยด์เป็นพิษ คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป จนเกิดสภาวะเป็นพิษและส่งผลต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย เช่นเหนื่อยง่าย ใจสั่น ขี้ร้อนง่าย เหงื่อออกมาก หงุดหงิดหรือนอนไม่หลับ โรคไทรอยด์เป็นพิษมักพบได้บ่อยในผู้หญิง มากกว่าผู้ชายประมาณ 5-10 เท่า
ไทรอยด์เป็นพิษอาจไม่แสดงอาการชัดเจน แต่อาจพบว่ามีอาการคอพอก ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกหรือเห็นก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณคอ ส่วนในรายที่มีอาการตาโปนร่วมด้วยเรียกว่า โรคคอพอกตาโปน พบได้บ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 60-80 ของผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษทั้งหมด อาการโดยทั่วไปจะเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน
รวมทั้งยังอาจมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ร่างกายมีการเผาผลาญสูงกว่าปกติ น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยคล้ายท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยเฉพาะต้นแขนและต้นขา ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ ในบางรายที่เป็นเรื้อรังจะเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงทำให้กระดูกอ่อนแอ กลายเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากไป จนส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมแคลเซียม
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก และผลกระทบของโรคต่อพัฒนาการของลูก
โรคไทรอยด์ มีกี่ชนิด?
-
โรคไทรอยด์โตแบบเป็นพิษ (Hyperthyroidism)
โรคไทรอยด์โตแบบเป็นพิษ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดโตทั่วไป ชนิดก้อนตะปุ่มตะป่ำ และ ชนิดก้อนเดี่ยว ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีต่อร่างกายตนเอง และทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีระดับไทรอยด์ในฮอร์โมนสูงกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลไปกระตุ้นให้การทำงานของเซลล์ในร่างกายมากขึ้น และเร็วขึ้น กระบวนการเมตาบอลิซึมจึงสูงขึ้น
อาการที่ส่งผลต่อร่างกาย ได้แก่ น้ำหนักลดลงผิดปกติ เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย อารมณ์ฉุนเฉียว ท้องเสีย ผิวเป็นด่างขาว มือสั่น แขนขาไม่มีเรี่ยวแรง เป็นผื่นที่หน้าขา ขาดสมาธิ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
-
โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyraidism)
ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ออกมาน้อยกว่าปกติ ซึ่งทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือด มีค่าต่ำกว่าปกติ สาเหตุส่วนมากมักเกิดจากการได้รับการรักษา ด้วยการกลืนแร่ไอโอดีน หรือ อาจมีสาเหตุมาจากการผ่าตัดรักษาต่อมไทรอยด์มาก่อน และอาจมีบางส่วนที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง
อาการที่ส่งผลได้ชัด ได้แก่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีภาวะขี้หนาว ง่วงบ่อย อ่อนเพลีย ผมร่วงง่าย ผิวแห้งแตก มีภาวะซึมเศร้า เป็นตะคริวได้ง่าย หัวใจเต้นช้า ท้องผูก ขอบตาบวม หน้าบวม ตัวบวม ต่อมไทรอยด์โต
ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากอะไร?
สาเหตุของระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในกระแสเลือดที่สูงกว่าปกติมากซึ่งอาจไม่ได้มาจากการสร้าง หรือหลั่งฮอร์โมนเพิ่มขึ้นของต่อมไทรอยด์ มีสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่
-
โรคเกรฟวส์ (Graves’ Disease)
จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนไทโรซีนออกมามากผิดปกติจนกลายเป็นพิษ ซึ่งยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคเกรฟวส์นั้นเกิดจากอะไร พบเพียงแต่ว่าโรคดังกล่าวมักเกิดขึ้นในผู้หญิงในวัยรุ่นและวัยกลางคน อีกทั้งยังเป็นได้ว่าเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยการสูบบุหรี่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคเกรฟวส์มากขึ้น
การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
-
การอักเสบของต่อมไทรอยด์ (Thyroiditis)
การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
-
การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป
ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไฮโปไทรอยด์มีอาการอย่างไรบ้าง รวมความรู้เกี่ยวกับโรคไฮโปไทรอยด์
วิธีตรวจไทรอยด์เบื้องต้นด้วยตัวเอง
- ยืนหน้ากระจก ยืดลำคอขึ้น แล้วหันทางซ้ายและขวาช้า ๆ และสังเกตความผิดปกติบริเวณลำคอ
- ใช้นิ้วชี้ และ นิ้วกลาง ของมือซ้ายและมือขวา คลำบริเวณลำคอพร้อม ๆ กัน ในแต่ละด้าน เริ่มตั้งแต่ด้านหน้า และจากบน ลงล่าง
- ถ้ารู้สึกว่ามีก้อนแปลก รู้สึกว่าสัมผัสแล้วมีก้อน ให้คลึงก้อนดู
- หากพบว่ามีก้อนผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยดู
การใช้ยาในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นยาที่ช่วยในการสกัดกั้น การสังเคราะห์ของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกาย ที่สูงเกิดไป สามารถลดลง หรือหายไปได้ เช่น อาการใจสั่น อาการเหนื่อยง่าย น้ำหนักลดลงผิดปกติ เป็นต้น
เมื่อผู้ป่วยไทรอยด์รับประทานเข้าไป ต่อมไทรอยด์ที่ถูกทำลาย จะมีขนาดหดเล็กลง และอาการไทรอยด์เป็นพิษจะค่อย ๆ ทุเลา และดีขึ้น เพราะสารไอโอดีนจะปล่อยกัมมันตรังสี ที่สามารถทำลายเซลล์ออกมา
การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์ จะทำการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษออกไปบางส่วน เพื่อทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยลงด้วยเช่นกัน อาการต่าง ๆ จะหายไปได้อย่างรวดเร็ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ ควรรับประทาน และควรเลี่ยงสารอาหารอะไรบ้าง?
อาการแทรกซ้อนของไทรอยด์เป็นพิษ
ไทรอยด์เป็นพิษถ้าหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจังก็อาจพบกับภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ เช่น
พบได้ในผู้ป่วยโรคเกรฟวส์เท่านั้น ได้แก่ ตาแห้ง ตาไวต่อแสง ตาแฉะ เห็นภาพซ้อน ตาแดง หรือบวม ตาโปนออกมามากกว่าปกติ และบริเวณเปลือกตาแดง บวม เปลือกตาปลิ้นออกมาผิดปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วอาการทางสายตาจะดีขึ้นเมื่อโรคไทรอยด์เป็นพิษได้รับการรักษา จึงต้องพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาควบคู่กันไปด้วย
ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษก็คือ ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ ไม่ว่าจะเป็น หัวใจเต้นเร็ว หรือโรคหัวใจเต้นผิดปกติที่เกิดจากการสั่นที่หัวใจห้องบน (Atrial Fibrillation) หรือแม้แต่ภาวะหัวใจวาย ซึ่งเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ
หลายครั้งการรักษาไทรอยด์เป็นพิษก็อาจทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติจนเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ และก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น รู้สึกหนาวและเหนื่อยง่าย น้ำหนักขึ้นผิดปกติ มีอาการท้องผูก และมีอาการซึมเศร้า ทว่าอาการจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
โรคไทรอยด์เป็นพิษ หากไม่ได้รับการรักษาสามารถส่งผลเสียต่อมวลกระดูก ทำให้กระดูกอ่อนแอ หรือกลายเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากไปจะส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมของกระดูกได้
สัญญาณที่บอกว่าไทรอยด์เป็นพิษเข้าขั้นวิกฤตคือ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส ท้องเสีย อาเจียน ตัวเหลือง ตาเหลือง มีอาการสับสนมึนงงอย่างรุนแรง และอาจถึงขั้นหมดสติได้ โดยสาเหตุที่อาจทำให้อาการเข้าสู่ภาวะวิกฤต ได้แก่ การติดเชื้อ การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ การตั้งครรภ์ และความเสียหายของต่อมไทรอยด์ โดยภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หากปล่อยไว้เรื้อรังไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้โดยไม่คาดคิดกันเลยทีเดียว ดังนั้นใครที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคไทรอยด์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานคืออะไร?
โรคกรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร รักษายังไงไม่ให้เป็นอีก?
โรคความดันโลหิตสูง อาการและแนวทางรักษา ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
ที่มา : phyathai, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!