X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

มูกปนเลือด ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม? เกิดจากอะไร?

บทความ 5 นาที
มูกปนเลือด ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม? เกิดจากอะไร?

มูกปนเลือด สิ่งผิดปกติที่มักพบในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย หรือใกล้คลอด ความเป็นจริงแล้วมูกเลือดคืออะไร เป็นสัญญาณของอันตรายที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ หรือสัญญาณเตือนใกล้คลอด มาเรียนรู้ไปพร้อมกันดีกว่าค่ะ

 

 

มูกระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร ?

มูก มีลักษณะคล้ายวุ้นเหนียวที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 มักพบเจอเวลาอาบน้ำทำความสะอาด หรือแม้แต่เราใช้ทิชชูเช็ดทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ โดยมูกเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นหลังจากที่ไข่ และอสุจิได้มีการปฏิสนธิกันแล้ว และจะอยู่บริเวณของปากมดลูก โดยมูกนั้นมีความสำคัญดังต่อไปนี้

  • ปิดปากมดลูกหลังจากการปฏิสนธิ เมื่อไข่ที่มีการปฏิสนธิฝังตัวอยู่ภายในมดลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือปากมดลูกจะนิ่มและพองตัว มูกนี้จะช่วยในการปิดปากมดลูก และเริ่มเข้าสู่กระบวนการการสร้างรก และน้ำคร่ำ
  • ป้องกันแบคทีเรีย ไวรัส และสารก่อโรคอื่น ๆ ให้กับทารกในครรภ์ เมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะผลิตมูกออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อให้มูกเหล่านั้นใหม่อยู่เสมอ โดยภายในมูกนั้นมีแอนติบอดีที่สามารถช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เข้าสู่ทารกได้

 

มูกปนเลือด คือ?

มูกปนเลือด เป็นมูกชนิดเดียวกับมูกปกติทั่วไปที่คุณแม่ตั้งครรภ์สร้างขึ้นมาในช่วงของการตั้งครรภ์ การมีมูกหรือมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด แสดงว่าปากมดลูกอาจจะเริ่มเปิด และมีการฉีกขาดของเยื่อบุและหลอดเลือดฝอยบริเวณนั้น ทำให้มีเลือดปนออกมา

แต่ก่อนที่จะเกิดการคลอดบุตรนั้น ความสมดุลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนั้นจะเปลี่ยนแปลงไป โดยจะมีการเพิ่มมากขึ้น เมื่อกระบวนการพัฒนาของทารกในครรภ์นั้นใกล้จะสมบูรณ์ หรือใกล้คลอดนั่นเอง มูกเหล่านั้นจะเริ่มถูกผลิตน้อยลง และปากมดลูกก็จะเริ่มขยายออก เพื่อเปิดทางให้ทารกออกมา

แต่ในระหว่างนั้นที่มูกเหล่านั้นถูกขับออกมาจากการขยายของปากมดลูกอาจทำให้เส้นเลือดฝอยแตก จึงทำให้มูกที่ออกมากลายเป็น มูกเลือด หรือมูกปนเลือด นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง :นับวันไข่ตกยังไง ? สังเกต มูกไข่ตก จากช่องคลอด บอกวันไข่ตกได้

 

มูกปนเลือด ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม? เกิดจากอะไร?

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นมูกหรือมูกเลือดจากปากมดลูก?

มูกปนเลือด หรือมูกเลือด นั้นจะมีขนาดประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ เป็นวุ้นเหนียวขนาดที่สามารถสังเกตเห็นได้ แต่อาจปรากฏในรูปลักษณะ และสีที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • โดยทั่วไปแล้วมูกจะเป็นสีครีมถึงขาวอมเหลือง และในบางครั้งแจกลายเป็นสีชมพู
  • บางครั้งอาจมีการปนของเลือด และแสดงออกเป็นสีต่าง ๆ อาทิ มูกเลือดสีน้ำตาล มูกเลือดสีชมพู หรือมูกเลือดสีแดง โดยสามารถสังเกตเห็นได้จากชุดชั้นใน หรือกระดาษชำระหลังจากปัสสาวะ

สำหรับคุณแม่บางท่านอาจมีอาการปวดท้องล่าง หรือการปวดคล้ายเป็นตะคริวบริเวณด้านล่างของท้อง แต่จะไม่ได้ปวดหนักเหมือนตอนใกล้คลอด หรือเป็นตะคริวร่วมด้วย

 

การพบมูกเลือดเป็นสัญญาณของการใกล้คลอดใช่หรือไม่?

หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงท้าย หรือไตรมาสที่ 3 นั้นสังเกตเห็นถึงมูกเลือดที่ออกมา อย่าพึ่งปักใช่เชื่อว่าเป็นสัญญาณของการใกล้คลอด เพราะในบางครั้งมูกเลือดนั้นอาจออกมาก่อนที่คุณจะเจ็บท้องคลอดก่อนเป็นวัน สัปดาห์ หรือหลายสัปดาห์ โดยคุณแม่สามารถสังเกตอาการตนเองเบื้องต้นได้เมื่อมีอาการเหล่านี้ร่วมกับการพบมูกเลือด อาจเป็นสัญญาณของการใกล้คลอดจริง ๆ ดังนี้

 

  • ท้องลด

คุณจะรู้สึกว่าหน้าท้องของคุณจะมีขนาดเล็กลง โดยมีสาเหตุมาจากทารกในครรภ์นั้นเริ่มหย่อนตัวลงไปยังช่วงของกระดูกเชิงกราน ซึ่งจะทำให้คุณแม่นั้นสามารถหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นเนื่องจากทารกจะกดทับกระเพาะปัสสาวะของคุณ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการที่บ่งบอกว่าพวกเขาพร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว

 

  • ภาวะน้ำเดิน

การที่มีของเหลวใสไหลออกมาจากช่องคลอด น้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำแตก นั้นจะเกิดขึ้นเร็วมากจนคุณไม่ทันได้ตั้งตัว คุณควรรีบเข้าพบแพทย์ในทันที เพราะคุณอาจจะพร้อมคลอดมากเต็มทีแล้ว

 

  • การขยายตัวของปากมดลูก

เมื่อเกิดภาวะน้ำเดินแล้วคุณถึงมือแพทย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณอาจต้องทรมานนอนต่อด้วยความเจ็บปวด เนื่องจากคุณจะต้องรอการขยายตัวของปากมดลูกก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แพทย์จะเริ่มทำคลอดให้กับคุณเมื่อปากมดลูกขยายถึง 10 เซนติเมตรแล้ว

 

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการพบมูก หรือมูกเลือดนั้นไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนการคลอดของทารกเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีสัญญาณอื่นร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตามหากคุณแม่พบมูกเลือด พร้อมกับอาการผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ ที่คาดว่าจะเป็นอันตรายต่อตนเองและทารกในครรภ์ให้รีบเข้าปรึกษาแพทย์ในทันที

 

มูกปนเลือด ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม? เกิดจากอะไร?

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด

 

พบมูกแบบไหนถึงน่าเป็นกังวล? มูกเลือดก่อนคลอด

บางครั้งการพบมูกก่อนคลอดนั้นไม่ได้เป็นสัญญาณของการคลอดบุตรเสมอไป โดยเฉพาะหากคุณพบความปกติของมูกเลือดที่ออกมาอาจเป็นการบ่งชี้ถึงปัญหาร้ายแรง เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัว การคลอดก่อนกำหนด หรือการติดเชื้อ โดยคุณแม่สามารถสังเกตอาการเหล่านี้ได้จากดังนี้

  • มูกเลือด เป็นสีแดงสดมากกว่าปกติ
  • มูกเลือดออกมาทางช่องคลอดในช่วงที่อายุครรภ์น้อยกว่า 36 สัปดาห์
  • พบตกขาวสีเขียว หรือตกขาวมีกลิ่นเหม็น

 

มูก หรือมูกเลือดจะหมดไปเมื่อใด?

คุณแม่หลายคนอาจมีการตกขาวระหว่างการตั้งครรภ์ ร่วมกับการที่พบมูก หรือมูกเลือดร่วมด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะระบุได้ว่ามูกที่หลุดออกมาจากปากมดลูกนั้นจะหมดเมื่อใด แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถสังเกตมูกด้วยตนเองได้ โดยมูกหรือมูกเลือดนั้นจะมีลักษณะเป็นเส้น หรือเป็นวุ้นหนา ๆ และอาจมีการปนเปื้อนของเลือดร่วมด้วย

 

พบมูก หรือมูกเลือดช่วงไหนถือว่าอันตราย?

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นย่อมมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพลูกน้อยอยู่แล้ว ถ้าหากพบสิ่งแปลกปล่อย หรือความผิดปกติของร่างกายยิ่งทำให้เกิดความกังวลเข้าไปอีก ดังนั้นเรามาลองดูกันดีกว่าการที่คุณแม่พบมูกหรือมูกเลือดในช่วงใดถือว่าเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์

 

  • คุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 36 สัปดาห์

หากคุณแม่ที่พบมูกเลือดในช่วงก่อนของการตั้งครรภ์ช่วง 1-36 สัปดาห์นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด โดยหากคุณแม่พบว่ามูกเหล่านั้นได้หมดไป คุณแม่อาจต้องเข้ารับการตรวจประเมินกับแพทย์โดยด่วน เพราะตรวจเช็กสุขภาพของทารก และการขยายตัวของปากมดลูก

 

  • คุณแม่ที่มีอายุครรภ์หลัง 37 สัปดาห์เป็นต้นไป

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้นานกว่า 37 สัปดาห์และยังไม่มีอาการใด ๆ นั้นไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะในบางครั้งมูกเหล่านั้นอาจได้เกิดขึ้นแล้ว แต่คุณไม่ทันได้รู้ตัว คุณสามารถปรึกษากับแพทย์เรื่องนี้ได้เมื่อถึงนัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไป แต่อย่างไรก็ตามคุณหมอจะคอยตรวจสุขภาพทารกในครรภ์และปากมดลูกของคุณอยู่เสมอ และจะให้คุณแม่หมั่นเฝ้าสังเกตอาการของตนเอง เพราะอาจพบสัญญาณใกล้คลอดเร็ว ๆ นี้ก็เป็นได้

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สบายใจกันได้แล้วสำหรับคุณแม่ที่พบกรณีมูก หรือมูกเลือดดังกล่าวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือในตอนที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบความผิดปกติของร่างกายในช่วงการตั้งครรภ์นั้นไม่ควรที่จะชะล่าใจ ให้รีบพบแพทย์ในทันทีเลยนะคะ เพราะอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อทั้งตัวคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บล็อกหลังคลอดลูก คืออะไร มีแบบไหนบ้าง ปลอดภัยต่อแม่ท้องหรือไม่

คลอดธรรมชาติ เจ็บไหม? วิธีคลอดลูกแบบธรรมชาติอย่างไรให้ปลอดภัย?

ท้องแข็ง คือสัญญาณเตรียมพร้อมก่อนคลอดรึเปล่า? หรือทารกมีอันตราย

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับลูกเลือดของคนท้อง ได้ที่นี่!

มูกเลือด ช่วงตั้งครรภ์จะเป็นอันตรายไหมคะ ควรไปหาหมอไหมคะ

มูกปนเลือด คืออะไรคะ แล้วจะเป็นอันตรายไหมคะ

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • มูกปนเลือด ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม? เกิดจากอะไร?
แชร์ :
  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

    คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

    คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ