X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำเดิน ภาวะเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

บทความ 5 นาที
น้ำเดิน ภาวะเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดน้ำเดิน ภาวะเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

น้ำเดินคืออะไร เป็นอันตายหรือไม่ มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

น้ำเดิน ภาวะเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด อาการที่คุณแม่ควรระวัง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ หากพบอาการให้รีบไปพบแพทย์ในทันที อย่ารอช้า อาการน้ำเดินเป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ ในครรภ์

 

น้ำเดินคืออะไร

น้ำเดิน หรือ เยื่อหุ้มเซลล์แตกก่อนกำหนด ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Preterm premature rupture of the membranes (PPROM) เป็นภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ในภาวะนี้ถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มเด็ก ๆ อยู่นั้นเกิดการรั่ว หรือแตกตัวก่อนกำหนดคลอด หรือก่อน 37 สัปดาห์ การที่น้ำเดินนั้นอาจส่งผลทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการคลอดก่อนกำหนดได้

 

สาเหตุของอาการน้ำเดิน

การแตกของเยื่อหุ้มเซลล์ในระยะใกล้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ (ใกล้กำหนดคลอด) อาจเกิดจากการที่เยื่อหุ้มอ่อนตัวลงตามธรรมชาติ หรือจากแรงบีบรัดของมดลูก มักเกิดจากการติดเชื้อในโพรงมดลูก และอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับทำให้เกิดอาการน้ำเดิน ได้แก่

  • การไม่ได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพ หรือไม่ได้รับการสนับสนุนในการตั้งครรภ์ หรือแม้แต่การละลายในการดูแลสุขภาพทั้งของตัวคุณแม่ หรือทารกในครรภ์เอง
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม เริม ซิฟิลิส เป็นต้น
  • ถุงน้ำคร่ำยืดมากเกินไป อาจเกิดขึ้นหากมีของเหลว หรือน้ำคร่ำมากเกินไป หากเป็นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด ทารกอาจเป็นสาเหตุหลัก
  • หากคุณแม่เคยผ่าตัด หรือตรวจชิ้นเนื้อที่ปากมดลูก หรือแม้แต่การเคยมีประวัติน้ำเดินจากการท้องครั้งก่อน ๆ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีภาวะน้ำเดินในครั้งถัด ๆ ไปเช่นกัน
  • มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด
  • การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • ในบางครั้งแพทย์ก็ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ว่าเกิดจากอะไร

บทความที่น่าสนใจ : คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

 

น้ำเดิน สัญญาณเตือนของการคลอด

 

อาการของภาวะน้ำเดิน

น้ำเดิน หรือภาษาชาวบ้านเรามักจะเรียกว่า น้ำคร่ำแตก ซึ่งในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการของอาการน้ำเดินที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีสัญญาณที่แสดงออกมาให้เห็น ดังนี้

  • การมีน้ำใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอด น้ำคร่ำนั้นไม่มีสี และไม่มีกลิ่นเหมือนกับปัสสาวะ
  • รู้สึกเปียกชื้นที่บริเวณช่องคลอด หรือชุดชั้นในมีอาการชื้น

หากมีอาการคล้าย หรือคาดว่าน่าจะเป็น คุณแม่ควรโทรหาแพทย์ หรือไปพบแพทย์ที่ปรึกษาให้เร็วที่สุด เพราะหากเป็นภาวะน้ำเดินจริง ๆ อาจเป็นอันตรายต่อคุณและลูกในครรภ์ได้

 

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะน้ำเดิน

น้ำเดิน หรือเยื่อหุ้มเซลล์แตกก่อนกำหนด มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งการที่ทารกนั้นคลอดออกเร็วกว่ากำหนดนั้นอาจเกิดปัญหาร้ายแรง หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้แก่

  • การติดเชื้อในน้ำคร่ำ หรือเยื่อหุ้มเซลล์
  • การแยกตัวของรกออกจากมดลูก
  • ปัญหาเกี่ยวกับสายสะดือ
  • การผ่าตัด หรือการผ่าคลอด (C-section)

 

น้ำเดิน ในแต่ละช่วงอายุครรภ์มีความแตกต่างกันออกไป

อาการน้ำแตก หรือน้ำเดินนั้นในบางครั้งก็มักจะเกิดก่อน หรือหลังกำหนดคลอด โดยในแต่ละช่วงที่เกิดอาการนั้นเป็นสัญญาณการแจ้งเตือนของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป

 

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์

หากการตั้งครรภ์ของคุณมีอายุครรภ์เกิน 37 สัปดาห์ การที่น้ำเดินนั้นถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะแสดงว่าทารกของคุณพร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว คุณจะต้องเข้าห้องคลอดในเวลาอันรวดเร็วที่สุดเท่าที่คุณจะสามารถทำได้ เพราะหากยิ่งใช้เวลานานเท่าใดโอกาสในการติดเชื้อก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

 

คุณแม่ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34-37

หากคุณอยู่ระหว่าง 34 ถึง 37 สัปดาห์ หรือเวลาที่ใกล้กำหนดคลอดแล้ว เมื่อน้ำเดิน แพทย์มักจะแนะนำให้คุณรับยาเพื่อถูกกระตุ้นครรภ์ให้ทารกคลอดออกก่อนกำหนด เพราะทารกในครรภ์จะปลอดภัยมากกว่า และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อสำหรับทารกที่คลอดเร็วกว่า 2-3 สัปดาห์

 

น้ำเดิน หรือน้ำครำแตก

 

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์

หากเยื่อหุ้มเซลล์ของคุณแตกก่อน หรือมีอายุครรภ์อยู่ที่ประมาณ 34 สัปดาห์ นั้นอาจเกิดปัญหาที่ร้ายแรงกว่าการคลอดตามปกติ หรือครรภ์ที่อยู่ระหว่าง 34 ถึง 37 สัปดาห์ หากแพทย์ตรวจร่างกายของคุณ และทารกในครรภ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่พบสัญญาณของการติดเชื้อ แพทย์อาจพยายามให้คุณขยับร่างกายน้อยลง โดยให้คุณนอนพัก เพื่อเป็นการชะลอการคลอดทารก ซึ่งอาจให้ยาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ (steroids) เพื่อช่วยให้ปอดของทารกเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น

หากทารกสามารถตอบสนองต่อยาได้ดี ทารกก็อาจอยู่ในครรภ์ได้จนถึงกำหนดคลอดจริง ๆ นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ยังจะได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงคุณ และลูกน้อยของคุณจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล แพทย์ของคุณอาจทำการทดสอบเพื่อตรวจสอบปอดของทารก เมื่อปอดมีการเจริญเติบโตเพียงพอ

แพทย์ของคุณอาจกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ หรือทำการกระตุ้นเพื่อให้คุณคลอดทารกในเวลาต่อมานั่นเอง หรือคุณสามารถรอจนกว่าคุณจะรู้สึกเจ็บท้องคลอดด้วยตัวคุณเอง ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับยาเพื่อเริ่มเจ็บครรภ์ และคลอดทารกภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีน้ำเดินนั้นมีโอกาสน้อยที่จะติดเชื้อ ดังนั้นการเจ็บท้องคลอดด้วยตนเอง จะปลอดภัยกว่าการได้รับยาเพื่อให้เจ็บท้อง

 

วิธีการรักษาภาวะน้ำเดิน

ถึงแม้ว่าอาการน้ำเดินนั้นจะเป็นอาการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด แต่ก็ยังพอจะมีวิธีรักษาหากเกิดภาวะน้ำเดินขึ้น ซึ่งการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับอาการ และสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าภาวะน้ำเดินนั้นมีอาการรุนแรงเพียงใด จำเป็นจะต้องเข้าโรงพยาบาล หรือสามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้านของคุณเอง โดยจะต้องมีการพูดคุยกับกุมารแพทย์ หรือแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์ของคุณ ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถาม หรือตรวจเกี่ยวกับร่างกายของคุณแม่ ดังนี้

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
  • การยืด และหดตัวของมดลูก
  • การเคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจ และการทดสอบอื่น ๆ ของเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์
  • อาการการติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงอาการที่อาจเกิดขึ้นร่วมกันกับภาวะน้ำเดิน อาทิ มีไข้ ปวดบริเวรท้อง หรือทารกในครรภ์มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้น

 

ถึงอย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะใด ๆ คุณก็ควรที่จะรู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา และรีบปรึกษา หรือเข้าพบแพทย์ในทันที เพื่อตรวจร่างกายของคุณ และทารกในครรภ์ว่ายังปลอดภัย และมีสุขภาพที่แข็งแรงดีจนกว่าจะถึงกำหนดคลอดในสัปดาห์ที่ 37 นั่นเอง

 

บทความที่น่าสนใจ :

อยากให้ลูกเกิดมามีผิวขาวใส สุขภาพดี คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทานอะไร

13 เทคนิค ลูกคลอดง่าย ลูกออกมาปลอดภัยคุณแม่หายห่วง

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการน้ำเดิน ได้ที่นี่!

น้ำเดิน ในช่วงตั้งครรภ์เกิดจากอะไรคะ อันตรายรึเปล่า

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • น้ำเดิน ภาวะเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด
แชร์ :
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

  • คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

    คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

  • ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

    ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

app info
get app banner
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

  • คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

    คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

  • ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

    ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ