X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

บล็อกหลังคลอดลูก คืออะไร มีแบบไหนบ้าง ปลอดภัยต่อแม่ท้องหรือไม่

บทความ 5 นาที
บล็อกหลังคลอดลูก คืออะไร มีแบบไหนบ้าง ปลอดภัยต่อแม่ท้องหรือไม่

วิธีหนึ่งที่ช่วยระงับความเจ็บปวดขณะแพทย์ทำคลอด คือ บล็อกหลังคลอดลูก สามารถทำได้ทั้งในการคลอดแบบธรรมชาติและการผ่าคลอด  การบล็อกหลังคลอดลูกนี้  คุณแม่มือใหม่อาจยังมีความกังวลว่า ขณะทำการคลอดและหลังคลอดแล้ว จะส่งผลข้างเคียงต่อตนเองและทารกหรือไม่ เราไปดูกันว่า วิธีบล็อกหลังมีกี่แบบ และมีแบบใดบ้าง

 

บล็อกหลังคลอด

บล็อกหลังคลอดลูก มีแบบไหนและมีขั้นตอนอย่างไร

คุณแม่ที่ไม่เคยผ่านการคลอดลูกมาก่อน มักจะกล้า ๆ กลัว ๆ เมื่อได้ยินคำว่าบล็อกหลังคลอดลูก ซึ่งการวางยาชานี้ จะถูกดำเนินการโดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งวิสัญญีแพทย์จะทำการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง ผ่านเข้าชั้นผิวหนัง เพื่อทำให้บริเวณกลางลำตัวตั้งแต่บั้นเอว ชาไปถึงช่วงล่าง คุณแม่จะยังมีสติ สามารถพูดคุย ตอบโต้กับคนรอบข้างได้ การฉีดยาชาจะทำเมื่อปากมดลูกเปิดออกมาประมาณ 3-4 เซนติเมตร หรือทางการแพทย์เรียกว่าช่วง Active Phase ของการคลอดบุตร ตอนนี้แหละที่มดลูกจะบีบ หด และขยายตัว ทุก ๆ 3-4 นาที

 

1. บล็อกหลังแบบ Epidural

การบล็อกหลังแบบนี้ วิสัญญีแพทย์จะนำหลอดเข็มขนาดเล็ก ฝังเข้าที่ไขสันหลังของคุณแม่ ซึ่งหลอดยาดังกล่าวจะถูกฝังตัวและค่อย ๆ ปล่อยยาชาออกมาอย่างช้า ๆ เข้าสู่ชั้นผิวหนัง คุณแม่จะเกิดอาการชาและไร้ความรู้สึกในที่สุด ซึ่งวิธีการบล็อกหลังแบบ Epidural นี้ เหมาะกับคุณแม่ที่เลือกคลอดแบบธรรมชาติ ที่บังเอิญเกิดความเจ็บปวดระหว่างคลอดจนทนไม่ไหวแล้วขอให้คุณหมอให้ยาชาด่วน

ข้อดี

  • สามารถทำได้ทันทีระหว่างคลอด
  • สามารถทำช่วงใดก็ได้ระหว่างคลอด ถ้าคุณแม่ทนความเจ็บปวดไม่ไหว
  • หลังจากฉีดยาเข้าไขสันหลังแล้ว ยาชาจะออกฤทธิ์หลัง 5-10 นาทีทันที
  • ร่างกายตั้งแต่ช่วงบั้นเอวลงไป จะไร้ความรู้สึกจากการบีบรัดของมดลูกระหว่างคลอด

ข้อเสีย

  • คุณแม่จะไม่มีความรู้สึกในการควบคุมอุ้งเชิงกรานของตนเองได้
  • หากไร้ความรู้สึกมาก ๆ บริเวณอุ้งเชิงกราน แพทย์อาจต้องอาศัยคีมช่วยดึงทารกขณะทำคลอด
  • อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้คือ ร่างกายสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะมาก
  • ถ้าคลอดแล้วแต่ยังมีอาการข้างเคียง คุณแม่ต้องได้รับการรักษาต่อไป

 

2. บล็อกหลังแบบ Spinal Block

การบล็อกหลังคลอดลูกธรรมชาติ และผ่าคลอด อีกวิธีหนึ่งคือ Spinal Block จะเป็นวิธีที่รวดเร็ว โดยแพทย์จะเจาะกระดูกเข้าไขสันหลังฉีดยาชาเข้าไป เพื่อให้ออกฤทธิ์ภายใน 1-2 นาที ซึ่งตั้งแต่บั้นเอวของคุณแม่ลงไปถึงช่วงล่างจะชาทันที เหมาะกับคุณแม่ที่ต้องคลอดด่วน เพราะฤทธิ์ยาจะอยู่ได้เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น

ข้อดี

  • สำหรับคุณแม่ที่คลอดเร่งด่วน คุณหมอสามารถบล็อกยาเข้าไขสันหลังทันที
  • ยาออกฤทธิ์เร็ว คุณแม่จึงไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดนานนัก

ข้อเสีย

  • ยาจะออกฤทธิ์แค่ 2-3 ชั่วโมง ถ้าลูกยังไม่คลอด ร่างกายจะปวดขึ้นเรื่อย ๆ
  • เมื่อกลับมาปวดอีก แพทย์ไม่สามารถบล็อกหลังด้วยยาชาเป็นครั้งที่ 2 ได้อีกแล้ว
  • ปากมดลูกจะบวมมากในคุณแม่บางท่าน
  • คุณแม่จะปวดศีรษะมาก เนื่องจากผลข้างเคียงของการฉีดยาเข้าไขสันหลังที่ต้องแทงในระดับลึกมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง: ผ่าคลอด VS คลอดธรรมชาติ ส่งผลกับภูมิต้านทานตั้งต้นอย่างไร

 

3. บล็อกหลังแบบผสม Epidural และ Spinal Block

การบล็อกหลังแบบผสม วิธีนี้แพทย์จะใช้เข็มขนาดใหญ่บรรจุเข็มขนาดเล็กข้างใน แล้วแทงเข้าไปที่กระดูกสันหลัง ซึ่งเข็มเล็ก ๆ จะแทงลงลึกไปตามแนวไขสันหลังที่ค่อย ๆ ปล่อยยาชาเข้าไปแบบ Spinal เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เร็ว หากทารกยังไม่คลอดจากมดลูก คุณหมอจะบล็อกหลังอีกครั้งในระดับ Epidural ทางเข็มหลอดใหญ่ โดยไม่ต้องแทงซ้ำเพื่อลดความเจ็บปวดของคุณแม่

ข้อดี

  • การบล็อกแบบผสมคือ ตัวยาออกฤทธิ์เร็ว และมีการฉีดยาเข้าทันทีได้โดยไม่ต้องแทงไขสันหลังซ้ำ

ข้อเสีย

  • คุณแม่จะมีอาการสั่นได้ คันตามเนื้อตัว มีทั้งอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนหลังคลอด

 

การคลอดลูกโดยใช้วิธีบล็อกหลังมีข้อดีอย่างไร

เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่าน อาจกำลังหวาดเสียวและกลัวการบล็อกหลัง กับภาพที่ถูกบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ต้องนอนงอหลังแล้วคุณหมอจะค่อย ๆ แทงเข็มบรรจุยาชาผ่านกระดูกเข้าไขสันหลัง แต่ทราบหรือไม่ว่า การบล็อกหลังนั้นก็มีข้อดี เช่น

  • คุณแม่ที่ไม่สามารถทนความเจ็บปวดระหว่างคลอดธรรมชาติได้ สามารถขอให้คุณหมอบล็อกหลังได้ทันที
  • คุณแม่จะรู้สึกตัวตลอดเวลาขณะที่คุณหมอทำคลอด สามารถพูดคุยกับคุณพ่อที่คอยให้กำลังใจข้างเตียงได้
  • ปลอดภัยต่อทารก เนื่องจากร่างกายลูกน้อยจะไม่ถูกกดลมหายใจ จากการดมยาสลบของคุณแม่
  • ระหว่างคุณหมอเย็บแผลผ่าคลอด คุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บเลย

 

การบล็อกหลักคลอด

อาการข้างเคียงจากการบล็อกหลังคลอดลูก

1. อาการเจ็บร้าวลงขา

เนื่องจากการบล็อกหลังจะมีการแทงเข็มขนาดเล็กเข้าที่กระดูกสันหลัง ในระดับเดียวกับบั้นเอว ตรงนี้อาจทำให้เจ็บร้าวตั้งแต่สันหลังลงไปถึงช่วงขา หลังคลอดลูก

 

2. ความดันโลหิตลดลงขณะคลอด

การบล็อกหลังอาจทำให้คุณแม่บางท่านมีความดันเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดที่ไปหล่อเลี้ยงมดลูกและรก ลดลงตามไปด้วย หากเข้าขั้นร้ายแรง อาจทำให้ทารกอยู่ในภาวะขาดออกซิเจนจนทำให้หัวใจเต้นช้าลงหรือหยุดเต้น

 

3. มีอาการชาอย่างต่อเนื่อง

ปกติแล้วคุณแม่จะหายจากอาการชาสัก 1 ชั่วโมง แต่สำหรับคุณแม่บางท่านที่ผ่านการบล็อกหลัง แบบผสมอาจต้องใช้เวลานานถึง 2-4 ชั่วโมงจึงจะขยับตัวได้ อีกทั้งไม่สามารถให้นมลูกได้ทันที เนื่องจากร่างกายอ่อนเพลียมาก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ผ่าคลอด

 

4. การขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ

คุณแม่ที่มีผลข้างเคียงต่อการบล็อกหลังจนชามาก ๆ จะเกิดอาการปัสสาวะไม่ออก ปวดกระเพาะปัสสาวะ หากภายใน 12 ชั่วโมงยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะทำการสวนปัสสาวะทันที

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

5. ปวดหลังอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากหลังของคุณแม่เกิดอาการบอบช้ำที่ไขสันหลัง คุณแม่บางท่านจะมีอาการปวดหลังในช่วง 2 เดือนแรก ถ้านานกว่านั้นต้องพบแพทย์ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง: เมื่อแม่ต้อง บล็อกหลัง ผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง?

การเตรียมตัวก่อนบล็อกหลังคลอดลูก

ปกติแล้วการบล็อกหลังเพื่อทำการผ่าตัดใด ๆ ก็ตาม แพทย์จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนกระทำการนี้ ดังนั้นคุณแม่ท้องก็เช่นกัน การปรึกษาคุณหมอบ่อย ๆ ระหว่างตั้งครรภ์เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะคลอดลูกไม่ว่าจะแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอดก็ตาม ล้วนมีความสำคัญมาก ซึ่งการเตรียมตัวคลอดลูกแล้วต้องใช้การบล็อกหลังเข้าช่วย ควรปฏิบัติดังนี้

  • หากคุณแม่กินอาหารเสริมหรือสมุนไพรชนิดใดก็ตามควรแจ้งแพทย์ก่อน
  • งดน้ำและอาหารตามแพทย์สั่ง
  • งดแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ก่อนคลอดลูก (จริง ๆ แล้วระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เลย)
  • หากต้องกินยาใด ๆ ก่อนบล็อกหลังควรดื่มน้ำน้อย ๆ ค่อย ๆ จิบ
  • วันคลอดลูก ควรมาก่อนเวลาและพาผู้ติดตามไม่ว่าจะครอบครัวหรือญาติมาด้วย

 

อย่างไรก็ตาม การบล็อกหลังคลอดลูก ถือเป็นวิธีหนึ่งซึ่งช่วยระงับการเจ็บปวดต่อคุณแม่ขณะคลอด ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีอย่างเหมาะสม อาจจะบล็อกหลังหรือใช้การดมยาสลบ โดยประเมินจากสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ และความเร่งด่วน ความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

16 เคล็ดลับ ช่วยแม่ท้อง คลอดธรรมชาติ

น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร มีอาการแบบไหน ใกล้คลอดหรือยังแบบนี้

หลังผ่าคลอด เท้าบวม ทำไงดี? มีวิธีช่วยลดอาการเท้าบวมไหม

ที่มา 1 , 2 , 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • บล็อกหลังคลอดลูก คืออะไร มีแบบไหนบ้าง ปลอดภัยต่อแม่ท้องหรือไม่
แชร์ :
  • 50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

    50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

  • คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

    คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • 50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

    50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

  • คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

    คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ