X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี? อันตรายต่อลูกในท้องไหม?

บทความ 5 นาที
น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี? อันตรายต่อลูกในท้องไหม?

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด คืออะไร? จะรู้ได้อย่างไรว่าปัสสาวะรั่ว หรือถุงน้ำคร่ำแตก? อ่านวิธีสังเกตอาการ และการแยกระหว่างปัสสาวะรั่วและถุงน้ำคร่ำแตกได้ที่นี่!

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ?

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยในระหว่างการตั้งครรภ์ ตัวอ่อนทารกจะค่อย ๆ เติบโตภายในมดลูกอย่างปลอดภัย ซึ่งในมดลูกจะมีถุงบรรจุน้ำคร่ำซึ่งทำหน้าที่ให้ความยืดหยุ่นป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับทารก ทำให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวโดยไม่มีอะไรกีดขวาง ทั้งพลิกตัว ดิ้น หรือแม้การเตะท้องแม่

ซึ่งเมื่อตั้งครรภ์ได้ราวสองสัปดาห์ ร่างกายจะสร้างถุงน้ำคร่ำ และเริ่มมีน้ำคร่ำเกิดขึ้น และประมาณสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ก็จะมีสารอาหารต่าง ๆ จากที่คุณแม่ทานเข้าไป ส่งไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ในช่วงต่อมาของการตั้งครรภ์ ทารกก็จะดื่มน้ำคร่ำ และขับถ่ายปัสสาวะหลังจากที่ไตของทารกเริ่มทำงาน

ตามปกติ น้ำเดินจะเริ่มตอนคุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์คลอด หากน้ำเดินหรือแตกก่อนระยะนี้ เช่น น้ำเดินตั้งแต่สัปดาห์ที่ 15 ทางการแพทย์ถือว่า เกิดอาการถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด จำเป็นต้องไปพบแพทย์โดยทันที

บทความที่น่าสนใจ : น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง

 

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด คืออะไร ?

หากถึงกำหนดคลอด ถุงน้ำคร่ำจะแตกออก และน้ำคร่ำจะไหลออกทางช่องคลอด การเกิดเหตุการณ์นี้เราเรียกว่า น้ำเดิน หรือ SROM ซึ่งคุณแม่จะมีเวลาพอที่จะโทรศัพท์ไปหาแพทย์ หรือเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งหากทารกคลอดในเวลานี้ ก็จะถือว่าเป็นการคลอดที่ปกติสมบูรณ์แบบ แต่หากน้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 หรือ 38 เราจะเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด หรือ PROM ซึ่งปริมาณน้ำคร่ำที่ออกมาจะมากหรือน้อยก็ได้

น้ำคร่ำโดยปกติจะมีสีใส แต่บางครั้งก็อาจมีเลือดปะปนทำให้เห็นเป็นสีชมพู สีเขียว หรือสีน้ำตาล เราสามารถสังเกตความแตกต่างระหว่างน้ำคร่ำ และน้ำปัสสาวะได้ เพราะน้ำคร่ำจะไหลต่อเนื่องโดยเราไม่สามารถควบคุมให้หยุดได้

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอาการปัสสาวะรั่ว หรือถุงน้ำคร่ำแตก ?

หากพบว่ามีของเหลวไหลออกทางช่องคลอด คุณแม่ต้องสังเกตที่ความต่อเนื่องของการไหลเป็นหลัก ซึ่งหากเป็นน้ำคร่ำคุณแม่จะไม่สามารถควบคุมการหยุดได้ ซึ่งแตกต่างจากน้ำปัสสาวะ คือสามารถบังคับให้หยุดไหลได้

เมื่อแน่ใจว่าของเหลวที่ไหลออกมาเป็นน้ำคร่ำ ให้ใช้ผ้าอนามัยใส่ที่กางเกงใน และเมื่อผ้าอนามัยซับน้ำจนชุ่มก็ต้องเอาออกเพื่อตรวจสอบสี และกลิ่นของน้ำคร่ำ หากเป็นน้ำคร่ำ มันจะใสไม่มีสี และมีกลิ่นหอม ซึ่งหากตรวจดูแล้วว่าเป็นน้ำคร่ำจริงก็ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเตรียมการคลอดทันที น้ำคร่ำที่ไหลออกมาอาจทำให้คุณแม่และทารกมีโอกาสติดเชื้อได้

Advertisement

 

 

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด มีสาเหตุมาจากอะไร ?

การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนเจ็บท้องคลอดอาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันดังนี้

  • มารดาเคยมีประวัติถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดมาก่อน
  • การติดเชื้อในช่องคลอด มดลูกหรือปากมดลูก
  • การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • แรงตึงมากเกินไปที่ผนังถุงน้ำคร่ำในกรณีทารกแฝดหรือทารกตัวใหญ่
  • เคยผ่าตัดมดลูกหรือปากมดลูกมาก่อน
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ดื่มสุรา ยาเสพติด หรือการขาดสารอาหาร

 

 

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำอย่างไรดี ?

หากคุณคิดว่าตัวเองมีอาการถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด จำเป็นต้องโทรศัพท์หาแพทย์ที่ดูแลครรภ์เพื่อเตรียมพร้อมในการให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อคุณแม่เดินทางไปถึงมือหมอ หรือเดินทางไปโรงพยาบาลใกล้เคียงในทันทีหากเกิดถุงน้ำคร่ำแตกขึ้นมา เวลาช่วงนี้มีความสำคัญมากเนื่องจากการฟักเชื้อจะเกิดขึ้นหากคุณแม่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด ซึ่งแพทย์จะทำการทดสอบสองสามรายการดังนี้

  • ทดสอบสัญญาณชีพ คือการวัดอุณหภูมิ วัดความดันโลหิต วัดอัตราการเต้นหัวใจ และการทดสอบเพื่อตรวจการติดเชื้อ การทดสอบเหล่านี้มีความสำคัญมากสำหรับถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด
  • ทดสอบ pH ของช่องคลอด คือการวัดค่า pH หรือความเป็นกรด-ด่างของน้ำคร่ำ น้ำคร่ำจะมีค่า pH แตกต่างจากปัสสาวะ โดยแพทย์จะใช้กระดาษลิสมัสแตะของเหลวที่กางเกงในหรือผ้าอนามัย หรือที่ช่องคลอดเพื่อตรวจว่าของเหลวนั้นมาจากส่วนไหน
  • ตรวจภายใน แพทย์จะใช้เครื่องถ่างเพื่อเปิดปากช่องคลอด และตรวจสอบว่าของเหลวมาจากส่วนไหน อาจมีการส่องกล้องไมโครสโคปเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียด
  • ตรวจอัลตราซาวนด์ แพทย์หรือเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์อาจใช้เครื่องอัลตราซาวนด์เพื่อหาสาเหตุการแตกของถุงน้ำคร่ำ รวมทั้งตรวจสอบหาระดับปริมาณน้ำคร่ำ

อาจมีการสอดกล้องตรวจทารกในครรภ์เพื่อตรวจการหดรัดตัวของมดลูก และอัตราการเต้นของหัวใจของทารก หากพบสิ่งผิดปกติ แพทย์จะให้การรักษาซึ่งจะขึ้นกับอายุครรภ์ของมารดา

 

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด

ทำอย่างไรถ้าถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด

 

  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดช่วงก่อนถึงสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์

    • แอดมิดเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ
    • ทารกในครรภ์อายุต่ำกว่า 24 สัปดาห์ถือว่ายังไม่พร้อมสำหรับการคลอด และเสี่ยงต่อการแท้ง
    • แพทย์จะทำการตรวจ และพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้

 

  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดช่วงสัปดาห์ที่ 24-31 ของการตั้งครรภ์

    • แอดมิดเข้าโรงพยาบาล
    • รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
    • ฉีดสเตียรอยด์เพื่อช่วยเร่งพัฒนาการของปอดของทารก
    • พยายามเลื่อนการคลอดออกไปให้นานที่สุดจนถึงสัปดาห์ที่ 33 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็สามารถทำคลอดในเวลานี้ได้หากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

 

  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดช่วงสัปดาห์ที่ 32-33 ของการตั้งครรภ์

    • ทำการตรวจว่าปอดทารกมีการเจริญเติบโตเต็มที่หรือยัง
    • ให้ยาปฏิชีวนะ
    • ฉีดสเตียรอยด์เพื่อเร่งพัฒนาการของปอดทารกให้เติบโตมากขึ้นอีก
    • สามารถทำการคลอดได้ในเวลานี้ หากปอดของทารกเติบโตเต็มที่ และมีความจำเป็นต้องทำการคลอด

 

  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดช่วงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์จนถึงเวลาคลอด

    • แอดมิดเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการทดสอบ และตรวจทารก
    • ให้ยาปฏิชีวนะหากพบว่าผนังถุงน้ำคร่ำแตกมานานกว่า 24 ชั่วโมงแล้ว
    • สามารถทำการคลอดได้ในเวลานี้หากมีความจำเป็น โดยทั่วไปทารกจะไม่มีความผิดปกติใด ๆ หลังผ่านการตั้งครรภ์ไปแล้ว 34 สัปดาห์

 

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด

ประสบการณ์ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด

ประสบการณ์ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ท่านอื่น ๆ

 

  • ถุงน้ำคร่ำแตกสัปดาห์ที่ 15 ของการตั้งครรภ์ – คุณแม่สเตซี่

“ฉันตั้งครรภ์ลูกแฝดเมื่อปีที่แล้ว เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 15 ถุงน้ำคร่ำก็แตก ฉันได้รับการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ และฉีดสเตียรอยด์ ฉันนอนรักษาตัวบนเตียงจนถึงสัปดาห์ที่ 30 และเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นเลยต้องทำการคลอดเนื่องจากมีการติดเชื้อ ลูกชายของฉันที่ชื่ออีแวนต้องอยู่ในตู้อบจนเขาอายุสามเดือน ส่วนฝาแฝดคือน้องสาวของเขาสามารถกลับบ้านได้เมื่ออายุสองเดือน และเธอมีสุขภาพที่ดีมาก

อีแวนเป็นเด็กที่ยอดเยี่ยมมาก เขายิ้มเก่ง แต่เขาก็ยังมีความเสี่ยงสูงอยู่ เขามีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจในทารกแรกเกิด โรคกรดไหลย้อน รวมทั้งมีปัญหาการได้ยิน เมื่อลูกแฝดทั้งสองของฉันกลับบ้านได้ฉันก็เฝ้าภาวนาให้พวกเขาหายเป็นปกติโดยเร็ว”

 

  • ถุงน้ำคร่ำแตกในสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ – คุณแม่แคนดี้

“นี่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก และฉันอุ้มท้องมา 33 สัปดาห์ แต่เมื่อราวสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ฉันก็เกิดถุงน้ำคร่ำแตก แพทย์สั่งให้พักอยู่บนเตียงที่โรงพยาบาลเป็นเวลาสองสัปดาห์ แพทย์ฉีดสเตียรอยด์ และในสัปดาห์ที่ 26 ฉันได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ แพทย์ได้ให้ฮอร์โมนเหน็บช่องคลอดเพื่อป้องกันไม่ให้ปากมดลูกขยายตัว

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 31 แพทย์ได้ทำการอัลตราซาวนด์ และพบว่าถุงน้ำคร่ำเกิดแยกตัว ทันทีที่น้ำเริ่มเดินพวกเขาก็แอดมิดฉันเข้าห้องทำคลอดพร้อมกับให้ยาอีริย์โธรมัยซิน และฉีดสเตียรอยด์เพิ่มอีก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และสร้างการเติบโตให้กับปอดของทารก ฉันยังได้รับยาสำหรับป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อในการคลอดบุตร ลูกของฉันอยู่ในครรภ์จนกระทั่งสัปดาห์ที่ 34 จึงคลอดออกมาด้วยร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง”

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกคลอดทั้งถุงน้ำคร่ำ ภาพทารกคลอดในถุงน้ำคร่ำ หายาก 1 ใน 9 หมื่น โผล่มาแบบนี้แม่ตกใจเลย

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม ลูกในท้องจะเป็นอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือเปล่า

น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง

 

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี? อันตรายต่อลูกในท้องไหม?
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว