X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อันตราย!! เด็กเล็กใช้ยาเพนนิซิลลินเสี่ยงแพ้ยาได้ อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน

บทความ 3 นาที
อันตราย!! เด็กเล็กใช้ยาเพนนิซิลลินเสี่ยงแพ้ยาได้ อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน

การใช้ยากับเด็กเล็กคุณแม่ต้องระมัดระวังให้มากนะคะ ที่สำคัญไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้เจ้าตัวน้อยเกิดอาการแพ้ยาได้ โดยเฉพาะกลุ่มยาเพนนิซิลลิน มาดูกันว่าแพ้ยาเพนนิซิลินมีอาการเป็นอย่างไร อันตรายมากน้อยเพียงใด ติดตามอ่าน

การใช้ยาเพนนิซิลลินกับเด็กเล็กหรือคนท้อง มีความเสี่ยงที่จะเกิด อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน ได้ อาการอาจเป็นเพียงแค่ผื่นแพ้หรือรุนแรงถึงขั้นหายใจไม่ออกได้

 

ทำความรู้จัก : ยาเพนนิซิลิน

ยาเพนนิซิลลินจัดอยู่ในประเภทยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  การใช้ยาปฏิชีวนะเพนนิซิลชินต้องใช้ยาตามที่คุณหมอหรือเภสัชกรแนะนำเท่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเม็ดยาที่ต้องกินเป็นประจำวัน และจำนวนวันที่ต้องกินยา เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคุณหมอหรือเภสัชกรจะส่งผลทำให้การรักษาไม่ได้ผลเต็มที่   ที่สำคัญยาเพนนิซิลลิน  เป็นกลุ่มยาที่มีอัตราการแพ้สูงที่สุด พบได้ร้อยละ 1 – 5

 

อันตราย!! เด็กเล็กใช้ยาเพนนิซิลลินเสี่ยงแพ้ยาได้

คำเตือนจากเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาเพนนิซิลลิน   ดังนี้  สำหรับผู้ที่ใช้ยาเพนนิซิลลินอาจทำให้เกิดอาการแพ้, มีลมพิษ, ผื่นคันตามตัว, ถ้าแพ้รุนแรงอาจทำให้หอบเหนื่อย หรือเป็นลมได้  ถ้ามีอาการแพ้ยา ควรหยุดยา แล้วรีบไปพบหมอทันที  คนที่เคยแพ้ยา  เพนนิซิลลิน ห้ามใช้ยานี้ รวมถึงยาอะม็อกซีซิลลิน  ควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรเพื่อใช้ยาอื่นแทน

ดังนั้น ก่อนใช้ยานี้ ต้องแน่ใจว่าไม่เคยแพ้ยาเพนนิซิลลินมาก่อน  สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ต้องระมัดระวังในการใช้ยาเพนนิซิลลินอย่างมากเพราะอาจเกิดการแพ้ได้ง่าย

นอกจากนี้  ไม่ควรใช้ยาเพนนิซิลลินกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร รวมถึงทารกและเด็กเล็ก เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงมีอาการท้องเสีย หรือผื่นคันขึ้นหลังการใช้หรือเกิดอาการแพ้ได้

บทความแนะนำ   โรค Stevens-Johnson อาการแพ้ยาที่อาจรุนแรงถึงชีวิตลูกรัก

 

ลักษณะอาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน

1. ผื่นแพ้

แพ้ยาเพนนิซิลลิน, อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน

ผื่นจากการแพ้ที่ขึ้นมามีได้หลายรูปแบบ บางครั้งจะขึ้นแบบลมพิษ อยู่ไม่กี่ชั่วโมงก็หายไป สักพักก็กลับมาใหม่ แต่ในบางคนหรือเด็กเล็ก ๆ ผื่นที่แพ้อาจจะไม่เป็นปื้นนูน ๆ แบบในผู้ใหญ่ แต่อาจจะพบผื่นนานเป็นวัน ๆ  ผื่นที่ขึ้นอาจจะเริ่มขึ้นหลังจากทานยาไปแล้วไม่กี่วัน เวลามีผื่นพวกนี้ขึ้น ทางที่ดีถ่ายรูปไว้ด้วย เวลามาหาหมอจะช่วยให้วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

Advertisement

บทความแนะนำ   ผื่นในเด็ก อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก

2. อาการบวม

แพ้ยาเพนนิซิลลิน, อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน

เป็นการแพ้ชนิดที่รุนแรงขึ้น โดยจะพบว่ามีอาการบวมทั่วตัว มักจะขึ้นที่หน้า รวมทั้งมีอาการลมพิษทั่วตัว แน่นคอ หายใจไม่สะดวก มีอาการไอ เหนื่อยเหมือนคนเป็นหอบหืด  ประวัติการแพ้แบบนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าการแพ้ครั้งต่อ ๆ ไปอาจจะมีความรุนแรงมากกว่าเดิมได้ การแพ้แบบที่ไม่รุนแรงถึงปานกลางพบได้ค่อนข้างบ่อย คือ ประมาณ 1 ใน 5 ของคนทั่วไป

3. อาการแพ้ที่รุนแรง

แพ้ยาเพนนิซิลลิน, อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน

 

เป็นอาการแพ้ที่รุนแรงมากขึ้น   เพราะอาการที่เกิดขึ้น  เริ่มจาก หนังตา  ริมฝีปากจะบวม  มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน  กล่องเสียงบวมทำให้พูดไม่มีเสียงและหายใจลำบาก  ความดันโลหิตต่ำ  ซึ่งต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเพราะเป็นอันตรายมาก

ได้ทราบแล้วนะคะว่า  การแพ้ยามีอันตรายเริ่มตั้งแต่เป็นเพียงผื่น หรือลมพิษ ไปจนถึงหายใจลำบากและความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  ดังนั้น   การใช้ยาโดยเฉพาะกับคนท้องหรือเด็กเล็กต้องใช้ความระมัดระวัง   ที่สำคัญควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรจะดีที่สุด พร้อมทั้งปฏิบัติตามในการทานยาหรือการใช้ยาเพื่อป้องกันการแพ้และการดื้อยานะคะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

https://www.doctor.or.th

https://haamor.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

แชร์ประสบการณ์ลูกแพ้ยาลดไข้จนปากบวม

เด็กชายอายุ 15 เดือน แพ้ยาไอบูโปรเฟนขั้นรุนแรง จนเกือบเสียชีวิต

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อันตราย!! เด็กเล็กใช้ยาเพนนิซิลลินเสี่ยงแพ้ยาได้ อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว