X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก อันตรายหรือไม่? มีสาเหตุมาจากอะไร?

บทความ 5 นาที
ความดันโลหิตต่ำในเด็ก อันตรายหรือไม่? มีสาเหตุมาจากอะไร?

คุณพ่อคุณแม่จะต้องระวังให้เป็นอย่างดี ความดันโลหิตต่ำอันตรายกับเด็ก ๆ อย่างไร และสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง มาดูกัน

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก นั้นเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องระวังให้เป็นอย่างดี เพราะว่าผลข้างเคียงของการเกิดความดันโลหิตต่ำนั้นอาจส่งผลอันตรายต่อบุตรหลานของคุณได้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า ความดันโลหิตต่ำในเด็ก นั้นเป็นอันตรายกับพวกเขาอย่างไร และสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง

 

ความดันโลหิตต่ำคืออะไร?

ความดันโลหิตต่ำ คือการที่ความดันโลหิตในร่างกายของเรามีค่าที่ต่ำกว่าปกติ หลายคนอาจคิดว่าความดันโลหิตต่ำนั้นดีกว่าอาการความดันโลหิตสูง แต่ในบางสถานการณ์นั้นความดันโลหิตต่ำนั้นเป็นอันตราย และส่งผลกระทบต่อร่างกายของเด็ก ๆ มากกว่า หากเด็ก ๆ มีความดันโลหิตที่ต่ำนั้นแสดงว่าค่าที่อ่านได้จากความดันซิสโตลี (systolic) นั้นต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันไดแอสโตลี ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท

บทความที่น่าสนใจ : โรค PPHN ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

 

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก 1

 

สาเหตุของความดันโลหิตต่ำคืออะไร?

การที่ความดันโลหิตของเด็ก ๆ จะมีค่าที่ต่ำลงนั้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งอาจมาจากปัจจัยภายนอก และภายในร่างกายของเด็ก ๆ เอง โดยสาเหตุของความดันโลหิตต่ำในเด็กมีดังต่อไปนี้

  • การลุกขึ้นหลังจากที่เด็ก ๆ นั่งอยู่ หรือนอนราบอยู่กับพื้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า ภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อมีการเปลี่ยนท่า (orthostatic hypotension)
  • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะขาดน้ำ เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ความดันโลหิตต่ำเป็นอาการหนึ่งของภาวะขาดน้ำที่อาจส่งผลเล็กน้อยไปจนถึงอาการที่รุนแรง
  • ยารักษาโรค เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง หรือยารักษาโรคหัวใจ และอื่น ๆ
  • ปัญหาด้านสุขภาพของเด็ก ๆ อาทิ โรคไทรอยด์ การติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือเลือดออกในลำไส้
  • การบาดเจ็บ อย่างเช่น เลือดออกเป็นจำนวนมาก หรือเกิดแผลไฟไหม้แบบรุนแรง
  • โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ความดันโลหิตต่ำเป็นหนึ่งในหลาย ๆ อาการของภาวะโลหิตจางตากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก
  • ปัญหาด้านสุขภาพหัวใจ ความดันโลหิตต่ำอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจของเด็ก และอาการอื่น ๆ อาทิ หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก เป็นต้น
  • ภาวะขาดสารอาหาร และปัญหาเรื่องการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย สารอาหารที่จำเป็นที่ถ้าหากมีการขาดไปก็อาจส่งผลต่อร่างกายของเด็ก ๆ ได้ อาทิ กรดโฟลิก และวิตามินบี 12 อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้
  • ความเครียดทางร่างกาย การยืน หรือนั่งนานเกินไป การตากแดดเป็นเวลานาน การออกกำลังกายอย่างหนัก และการพบเจอเหตุการณ์ที่ตึงเครียดทางอารมณ์ อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้เช่นกัน

 

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก กับผู้ใหญ่แตกต่างกันอย่างไร

ทารก เด็กวันเตาะแตะ และเด็กที่กำลังเข้าสู่ช่วงของวัยรุ่นนั้นมักมีความดันโลหิตที่ต่ำกว่าผู้ใหญ่ หรือวัยกำลังเจริญพันธุ์ ซึ่งในแต่วัยนั้นก็มีเกณฑ์เป็นของตัวเอง แต่ไม่ตายตัวมากนัก หากคุณต้องการทราบว่าสุขภาพของพวกเขาเป็นอย่างไร สิ่งที่คุณต้องคำนึงถึงนั่นคือ

  • อายุของเด็ก
  • เพศ
  • ส่วนสูง และน้ำหนัก

 

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก 2

 

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก จะมีอาการอย่างไรบ้าง

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าโรคความดันโลหิตต่ำนั้นเป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ แล้วผู้ปกครองอย่างเราทราบได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ นั้นกำลังอยู่ในภาวะความดันโลหิตต่ำหรือไม่ มาดูกันดีกว่าหากเด็ก ๆ มีความดันโลหิตต่ำจะเกิดอาการใดบ้าง

  • เวียนศีรษะ หน้ามืด
  • รู้สึกไม่สบายท้อง หรืออาเจียน
  • รู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • สายตาพร่ามัว
  • รู้สึกอ่อนแอ
  • มึนงง
  • เหนื่อยล้า
  • ร่างกายเย็นชืด
  • หายใจเร็ว

 

แน่ใจได้อย่างไรว่าอาการที่เกิดขึ้นคือความดันโลหิตต่ำ?

บ่อยครั้งที่คุณอาจมีความดันโลหิตต่ำโดยที่ไม่รู้ตัว และจะทราบก็ต่อเมื่อเข้าพบแพทย์แล้ว ดังนั้นหากคุณไม่แน่ใจอาการที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ นั้นคืออะไรควรพาพวกเขาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคทันทีก่อนที่เด็ก ๆ จะกลายเป็นโรคร้ายแรงชนิดอื่น ๆ โดยเมื่อคุณพาเด็ก ๆ ไปพบแพทย์แล้วนั้น แพทย์อาจสอบถามถึงอาการ และประวัติการรักษา หรือการใช้ยาต่าง ๆ ที่เคยใช้มาทั้งหมด และทำการตรวจร่างกาย ซึ่งการตรวจต่าง ๆ เหล่านี้อาจพบได้ว่าลูกของคุณนั้นมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำนั่นเอง

 

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก 3

 

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก รักษาได้หรือไม่?

หากการเกิดความดันโลหิตต่ำของเด็ก ๆ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ หรือการเกิดความดันโลหิตต่ำแบบกะทันหันนั้นคุณก็สามารถช่วยพวกเขาได้เองจากที่บ้าน แต่การรักษานี้ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสาเหตุของการเกิดอาการด้วย โดยสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • เติมเกลือลงในอาหารมากขึ้น หรือการดื่มน้ำเกลือแร่ ทำให้ร่างกายของเด็ก ๆ ได้รับโซเดียมจำนวนหนึ่งเข้าสู่ร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการ และช่วยเพิ่มความดันโลหิตให้สูงมากขึ้น
  • หากเด็ก ๆ ได้รับการจ่ายยาสำหรับลดความดันโลหิตให้หยุดใช้ในทันที และหลังจากมีอาการที่ดีขึ้นควรเข้าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบของยา ซึ่งอาจต้องมีการเปลี่ยนตัวยาให้มีความเข้มข้นน้อยลง สำหรับเด็กที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ทานยาที่แพทย์จ่ายมาให้ หากคุณพาเด็ก ๆ ไปพบแพทย์และได้รับยามาทาน เมื่อเด็ก ๆ เกิดอาการอีกครั้งคุณควรให้ยารักษาแก่เด็ก ๆ เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น

บทความที่น่าสนใจ : บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายเด็กบ้าง?

 

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก 4

 

เคล็ดลับ สำหรับการดูแลเด็กที่มีความดันโลหิตต่ำ

กิจกรรม หรืออาหารการกินประจำวันของเด็ก ๆ ที่คุณเองก็สามารถทำร่วมกับเด็ก ๆ ได้ ที่จะสามารถช่วยให้พวกเขาห่างไกลจากความดันโลหิตต่ำในเด็ก หรือสามารถจัดการ และช่วยฟื้นฟูความดันโลหิตของเด็ก ๆ ให้กลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

 

  • อาหารที่มีโซเดียม

    สามารถช่วยในการรักษาความดันโลหิตได้ ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็มักเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ หลายคนอาจชอบทานกันอยู่แล้ว อาทิ ของว่างรสเผ็ด เนื้อหมัก ชีส ขนมถุง และขนมปัง เป็นต้น ซึ่งการทานอาหารประเภทนี้คุณจะต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะหากทานในปริมาณมากจนเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของพวกเขาได้ ทางที่ดีที่สุดคุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ๆ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุด

 

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
  • การรับประทานอาหารที่สามารถช่วยเรื่องความดันโลหิตได้

    ซึ่งเป็นการรับประทานจำพวกผัก ผลไม้ และถั่ว ซึ่งถือเป็นสุดยอดอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มีส่วนช่วยเรื่องความดันโลหิตได้

 

  • การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ

    เด็ก ๆ ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน หรือมากกว่าหากต้องอยู่กลางแจ้ง หรือในที่ร้อนอบอ้าวเป็นเวลานาน ซึ่งการดื่มน้ำอย่างเพียงพอนั้นสามารถช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้

 

  • สอนพวกเขาเรื่องความพอดีในการใช้กำลัง

    ในบางครั้งที่เด็ก ๆ อยู่ในวัยกำลังซนมักจะวิ่งเล่นด้วยความรวดเร็ว หรือแม้แต่การขยับร่างกายเร็วจนเกินไป รวมถึงการเล่นกลางแจ้งเป็นเวลานาน ก็ส่งผลต่อความดันโลหิตของพวกเขาได้

 

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก 5

 

  • ดูแลพวกเขาให้เติบโตตามเกณฑ์

    สิ่งที่สำคัญที่สุดคือลูกของคุณจะต้องมีน้ำหนักที่เหมาะสมกับวัยของเขา หากพวกเขามีน้ำหนักที่น้อยจนเกินไปอาจส่งผลทำให้มีความดันโลหิตที่ต่ำได้ แต่ถ้าหากพวกเขามีน้ำหนักที่มากเกินการเกณฑ์นั้นจะส่งผลทำให้พวกเขาสามารถเป็นได้หลายโรค อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวานในเด็ก และโรคอ้วน เป็นต้น

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคำสำหรับความดันโลหิตต่ำในเด็ก เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของเรามาก ๆ เลย เพราะอาการที่มีการแสดงออกมานั้นเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปกติทั่วไปที่พบในเด็ก ๆ แต่ก็อย่าชะล่าใจเกินไปนะคะ เพราะความดันโลหิตต่ำนั้นอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ดังนั้นหากเด็ก ๆ มีอาการหรือเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ให้รีบพาพวกเขาไปพบแพทย์ในทันทีนะคะ  

 

บทความที่น่าสนใจ :

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง

อาหารเป็นพิษในเด็ก โรคฮิตช่วงหน้าร้อน เกิดจากอะไร รักษายังไง

ฮีทสโตรก (Heatstroke) วิธีการรับมือ เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงอย่างเฉียบพลัน

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ความดันโลหิตต่ำในเด็ก อันตรายหรือไม่? มีสาเหตุมาจากอะไร?
แชร์ :
  • รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

    รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคร้ายที่อาจทำให้คุณแม่มีบุตรยาก

    เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคร้ายที่อาจทำให้คุณแม่มีบุตรยาก

  • คนท้องคิดมาก ต้องรีบแก้ไข ทำอย่างไร ก่อนส่งผลต่อทารกในครรภ์

    คนท้องคิดมาก ต้องรีบแก้ไข ทำอย่างไร ก่อนส่งผลต่อทารกในครรภ์

  • รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

    รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคร้ายที่อาจทำให้คุณแม่มีบุตรยาก

    เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคร้ายที่อาจทำให้คุณแม่มีบุตรยาก

  • คนท้องคิดมาก ต้องรีบแก้ไข ทำอย่างไร ก่อนส่งผลต่อทารกในครรภ์

    คนท้องคิดมาก ต้องรีบแก้ไข ทำอย่างไร ก่อนส่งผลต่อทารกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว