X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

บทความ 5 นาที
เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

เบาหวานในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด บางทีลูกน้อยของคุณอาจจะเป็นโรคเบาหวานอยู่ แต่คุณยังไม่รู้ก็เป็นไปได้ โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ มาดูกันดีกว่า เบาหวานนั้นน่ากลัวหรือไม่ มีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง

 

เบาหวาน คือ?

เบาหวาน เป็นภาวะทางการแพทย์เรื้อรังที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความสามารถของร่างกายในการเปลี่ยนอาหาร โดยเฉพาะน้ำตาล (คาร์โบไฮเดรต) ให้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับร่างกาย น้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นจากการไม่ได้รับการรักษาโรคเบาหวานอย่างถูกต้องสามารถทำลายหัวใจ หลอดเลือด ไต ตา และระบบประสาทได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

บทความน่าสนใจ : ทำไมต้องเตรียมตัว ตรวจเบาหวาน

 

เบาหวานในเด็ก

รูปแบบของเบาหวาน

เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยไม่มีชื่ออย่างชัดเจน แต่จะเรียกว่า “ประเภทที่ 1” และ “ประเภทที่ 2” โดยทั้งสองรูปแบบสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่ถ้าเบาหวานในเด็ก มักจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1

 

เบาหวาน ประเภทที่ 1

โรคเบาหวานประเภทที่ 1 เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อตับอ่อนผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า “อินซูลิน” ไม่เพียงพอ โดยอินซูลินจะหยุดไม่ให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ ซึ่งน้ำตาล (เรียกอีกอย่างว่ากลูโคส) จะถูกสร้างขึ้นในกระแสเลือด หากร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ ก็จะถูกขับออกจากร่างกายในปัสสาวะ และนำน้ำไปด้วย เบาหวานประเภทที่ 1 สามารถเริ่มเป็นได้ในทุกช่วงอายุ แต่มีช่วงสูงสุดที่อายุประมาณ 5 ถึง 6 ปี และจากนั้นอีกครั้งที่อายุ 11 ถึง 13 ปี

เบาหวาน ประเภท1

สัญญาณของการเป็นเบาหวาน ประเภทที่ 1

  • เพิ่มความกระหาย เด็กๆ จะมีการอยากทานน้ำมากกว่าปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย เด็กที่กำลังอยู่ในวัยฝึกเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน อาจปัสสาวะรดที่นอนได้
  • หิวมาก จากการทานมื้อปกติ เด็กๆ จะขอทานข้าวเพิ่ม หรือเพิ่มปริมาณของทานเล่นในแต่ละช่วงของวัน
  • การลดน้ำหนักโดยไม่ได้ตั้งใจ ถึงแม้ว่าจะทานมากขึ้น แต่น้ำหนักของเขาอาจจะลงแบบน่าตกใจ สวนทางกับลักษณะการกิน
  • ความเหนื่อยล้ามากขึ้น จากที่เคยวิ่งเล่นอย่างบ้าพลังทั้งวัน จะทำให้เขาเหนื่อยล้ามากขึ้น หลังจากวิ่งไปแค่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง
  • ความหงุดหงิดหรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พฤติกรรมที่อาจส่งผลมาจากความไม่สบายตัว ซึ่งอาจทำให้เด็กๆ สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นโมโหร้ายมากยิ่งขึ้น

 

ความเสี่ยงของการเป็นเบาหวาน ประเภทที่ 1

  1. ประวัติครอบครัว ทุกคนที่มีพ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการเกิดภาวะนี้
  2. พันธุศาสตร์ ยีนบางตัวบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานประเภท 1
  3. ไวรัสบางชนิด การสัมผัสกับไวรัสหลายชนิด อาจก่อให้เกิดการทำลายภูมิคุ้มกันของเซลล์

 

ภาวะแทรกซ้อน

  1. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงของบุตรหลานของคุณในการเกิดภาวะต่างๆ แทรกซ้อน เช่น หลอดเลือดตีบ ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
  2. เส้นประสาทเสียหาย น้ำตาลส่วนเกินสามารถจะทำร้ายผนังหลอดเลือดเล็กๆ ที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทของเด็กได้ อาจทำให้รู้สึกเสียวซ่า มึนงง แสบร้อน หรือปวดได้
  3. ไตถูกทำลาย โรคเบาหวานสามารถทำลายกลุ่มเส้นเลือดเล็ก ๆ จำนวนมากที่กรองของเสีย (ไต) ออกจากเลือดของเด็กๆ ได้
  4. ความเสียหายต่อดวงตา โรคเบาหวานสามารถทำลายหลอดเลือดของจอประสาทตา ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการมองเห็น
  5. โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวานอาจทำให้ความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่าปกติ ทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

 

เบาหวาน ประเภทที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการที่ร่างกายประมวลผลน้ำตาล (กลูโคส) หากไม่ได้รับการรักษาความผิดปกตินี้จะทำให้น้ำตาลสะสมในเลือดซึ่งอาจนำไปสู่ผลกระทบระยะยาวที่ร้ายแรง พบมากและเริ่มมีอาการในผู้ใหญ่ เพราะเด็ก ๆ แทบจะไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ตามด้วยอัตราโรคอ้วนในวัยเด็กที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกปี เด็กจำนวนมากขึ้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 10 ปี นอกจากปัญหาเรื่องน้ำหนักแล้ว ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของโรคเบาหวานประเภท 2 ในเด็ก ได้แก่ การมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรค และการเกิดกับแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ ที่ส่งผลต่อร่างกายในการจัดการกับอินซูลินในร่างกาย

 

เบาหวาน ในเด็ก

สัญญาณของการเป็นเบาหวาน ประเภทที่ 2

  • เพิ่มความกระหายและปัสสาวะบ่อย น้ำตาลส่วนเกินที่สร้างขึ้นในกระแสเลือดจะดึงของเหลวจากเนื้อเยื่อ ผลที่ตามมาคือ อาจกระหายน้ำและดื่มน้ำและปัสสาวะมากกว่าปกติ
  • ความเหนื่อยล้า การขาดน้ำตาลในเซลล์ อาจทำให้อ่อนเพลีย
  • มองเห็นไม่ชัด หากน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปของเหลวอาจถูกดึงออกจากเลนส์ตาโดยทำให้ไม่สามารถโฟกัสได้ชัดเจน
  • บริเวณที่มีสีคล้ำของผิวหนัง ก่อนที่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเกิดขึ้นผิวหนังบางส่วนจะเริ่มมีสีเข้มขึ้น มักพบบริเวณคอ หรือรักแร้
  • น้ำหนักลด หากไม่มีพลังงานที่น้ำตาลส่งไปเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อและไขมันก็จะหดตัวลง อย่างไรก็ตามการลดของน้ำหนักพบได้น้อยในเด็กที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 มากกว่าในเด็กที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1

 

ความเสี่ยงของการเป็นเบาหวาน ประเภทที่ 2

  1. น้ำหนัก การมีน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคเบาหวานประเภท 2 ในเด็ก ยิ่งมีเนื้อเยื่อ ไขมันมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง เซลล์ของร่างกายก็จะกลายเป็นอินซูลินได้มากขึ้น
  2. ยิ่งคุณกระตือรือร้นน้อยลง หรืออยากขยับร่างกายน้อยลง ความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 ก็จะยิ่งมากขึ้น การออกกำลังกายช่วยให้คุณสามารถควบคุมน้ำหนัก การใช้กลูโคสเป็นพลังงานและทำให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น
  3. ประวัติครอบครัว ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะเพิ่มขึ้นหากพวกเขามีพ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นโรคนี้
  4. เชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าทำไมคนบางคนรวมถึงคนผิวดำเชื้อสายฮิสแปนิก อเมริกัน อินเดียนและเอเชียนอเมริกัน จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
  5. อายุและเพศ เด็กหลายคนเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ในวัยรุ่นตอนต้น เด็กวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มากกว่า
  6. น้ำหนักแรกเกิดและเบาหวานขณะตั้งครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดต่ำและเกิดกับแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
  7. การคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนด (ก่อนอายุครรภ์ 39 ถึง 42 สัปดาห์) มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 มากขึ้น

บทความที่น่าสนใจ : โรคอ้วน โรคน่ากลัวของเด็กจ้ำม่ำ!

ภาวะแทรกซ้อน

  1. ความดันโลหิตสูง
  2. คอเลสเตอรอลสูง
  3. โรคหัวใจ และหลอดเลือด
  4. โรคหลอดเลือดสมอง
  5. โรคไขมันในตับ
  6. โรคไต
  7. ตาบอด
  8. อาจนำไปถึงการตัดแขนหรือขา

 

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเมื่อพบว่าลูกเป็น เบาหวาน

  • คุณควรการจับตาดูระดับน้ำตาลในเลือดของบุตรหลานอย่างเข้มงวด การหลีกเลี่ยงระดับต่ำและสูง อาจเป็นส่วนสำคัญของการเป็นพ่อแม่ของเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ปกครองต้องทราบว่าเด็กที่เป็นโรคเบาหวานมีข้อ จำกัด ในการรับประทานอาหารและต้องติดตามระดับกิจกรรมของพวกเขาอย่างใกล้ชิด
  • ในระยะแรกและตลอดอายุของโรคเบาหวาน อาจเป็นความเครียดที่ร้ายแรง เด็กๆ และครอบครัวควรทราบว่าเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดการและการรักษาโรคที่อาจดูซับซ้อนมาก
  • การทำความเข้าใจว่าโรคนี้ส่งผลต่อลูกของคุณอย่างไร การปรับตัวและอดทนเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการโรคเบาหวานให้ประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม คุณควรดูแลตนเอง และลูกน้อยของคุณให้ดี เพื่อให้แน่ใจว่าโรคเบาหวานยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นเข้าพบแพทย์ตามที่กำลัง ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

 

ที่มา : 1, 2, 3, 4

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด
แชร์ :
  • อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

    อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

  • คนท้องและเบาหวาน โรคที่แม่หลายคนกังวลกันมาก เป็นเบาหวานกระทบลูก?

    คนท้องและเบาหวาน โรคที่แม่หลายคนกังวลกันมาก เป็นเบาหวานกระทบลูก?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

    อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

  • คนท้องและเบาหวาน โรคที่แม่หลายคนกังวลกันมาก เป็นเบาหวานกระทบลูก?

    คนท้องและเบาหวาน โรคที่แม่หลายคนกังวลกันมาก เป็นเบาหวานกระทบลูก?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ