โฟลิก เป็นสารอาหารสำคัญชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อแม่ท้องเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบประสาทของลูกน้อยกำลังพัฒนา คุณแม่จึงจำเป็นต้องได้รับโฟลิกอย่างมาก อีกทั้งโฟลิกเอง ก็มีประโยชน์ต่อตัวคุณแม่เช่นกัน เพราะช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะผิดปกติในการคลอดได้อีกด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่า โฟลิกคนท้อง สำคัญอย่างไร
โฟลิก กรดโฟลิก โฟเลต (Folic Acid) คือ วิตามินชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ และเป็นสุดยอดอาหารของผู้หญิงที่กำลังจะตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แล้ว เนื่องจากโฟลิกมีความจำเป็นในการช่วยสร้างตัวอ่อน และช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบประสาท ภาวะไม่มีเนื้อสมอง และภาวะไขสันหลังไม่ปิดจากการขาดโฟลิก นอกจากนี้โฟลิกยังช่วยควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จะเป็นในการแบ่งเซลล์ การซ่อมแซมพันธุกรรม และการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวให้แก่ลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย
ทำไมโฟลิกจึงสำคัญต่อคนท้อง?
โฟลิก เป็นวิตามินบีที่พบได้ในอาหาร และอาหารเสริมหลากหลายชนิด ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของเราต้องใช้กรดโฟลิกเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ และผลิต DNA ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา และการเติบโตของร่างกายของเรา ดังนั้นโฟลิกจึงมีความอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ในช่วงครรภ์ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยพัฒนาทารกในครรภ์ให้มีความสมบูรณ์ได้ นอกจากนี้การรับประทานกรดโฟลิกในช่วงตั้งครรภ์ อาจช่วยป้องกันลูกพิการแต่กำเนิด รวมทั้งความบกพร่องต่าง ๆ ของระบบประสาทที่ร้ายแรง เช่น กระดูกสันหลังบิดเบี้ยว ภาวะสมองเสื่อม และเยื่อหุ้มสมองเจริญนอกกะโหลก เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
โฟลิกมีประโยชน์ต่อคนท้องอย่างไร?
กรดโฟลิก มีหน้าที่ช่วยร่างกายคุณแม่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และช่วยเร่งการแบ่งเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถือเป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างมากสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังพัฒนาระบบประสาท และส่วนกลาง ซึ่งหากคุณแม่มีปริมาณโฟลิกต่ำตั้งแต่เริ่มท้อง ก็จะทำให้เด็กในครรภ์ มีโอกาสเกิดความบกพร่องทางสมอง และไขสันหลังได้ นอกจากนี้กรดโฟลิก ยังมีความสำคัญต่อแม่ท้องเอง เพราะจะช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ให้กับเลือดที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะผิดปกติต่าง ๆ ในการคลอดด้วย เช่น ครรภ์เป็นพิษ หรือภาวะคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
คนท้องต้องการโฟลิกต่อวันมากเท่าไหร่?
โดยทั่วไปแล้ว แม่ท้องทุกคนควรได้รับกรดโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมทุกวัน คุณแม่สามารถรับประทานวิตามินกรดโฟลิกเพื่อช่วยในการเพิ่มปริมาณกรดโฟลิกต่อวันได้ ทั้งนี้ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ อาจไม่ได้รับประทานโฟลิกอย่างเพียงพอ จึงมีโอกาสในการเกิดความบกพร่องของระบบประสาทของลูกน้อยในครรภ์ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรใส่ใจอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่กำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ และอยู่ในวัยที่พร้อมสำหรับการมีบุตรแล้ว ควรได้รับกรดโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน เพราะหากคุณแม่คลอดบุตรที่มีความบกพร่องของระบบประสาท อาจจำเป็นที่จะต้องได้รับปริมาณของกรดโฟลิกสูงขึ้นไปอีกหลายเดือน จึงอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป นอกจากนี้คุณแม่ที่ควรได้รับปริมาณของกรดโฟลิกที่สูง มีดังนี้
- คุณแม่ที่เป็นโรคตับ
- คุณแม่ที่เป็นโรคไต และกำลังฟอกไต
- คุณแม่ที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
- คุณแม่ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- คุณแม่ที่กำลังรับยาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคลมชัก โรคลูปัส โรคสะเก็ดเงิน โรคลำไส้อักเสบ โรคข้ออักเสบ และหอบหืด เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องขาดกรดโฟลิก ทำให้ลูกเสี่ยงพิการและพัฒนาการล่าช้า
กรดโฟลิกมากเกินไปอันตรายไหม?
การได้รับกรดโฟลิกมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นจากอาหารที่คุณแม่รับประทาน หรืออาหารเสริม อาจทำให้เกิดภาวะย่อยสลายกรดโฟลิกในกระแสเลือดไม่ทัน จนทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ ซึ่งอาจกระทบต่อร่างกายของคุณแม่ และลูกในครรภ์ โดยหากได้รับกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหา ดังนี้
- ขาดวิตามินบี 12 : หากร่างกายคุณแม่มีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้ขาดวิตามินบี 12 ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ระบบประสาท ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีสมาธิ หรือหายใจถี่ ควรรีบไปตรวจว่ามีภาวะขาดวิตามินบี 12 หรือไม่
- ปัญหาสุขภาพจิต : ผู้ที่ได้รับกรดโฟลิกมากเกินไป อาจส่งผลให้ระบบการทำงานของสมองแย่ลงถึง 3.5 เท่า ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ขาดวิตามินบี 12 จึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง
- ทำให้สมองลูกพัฒนาช้าลง : ทารกในครรภ์จำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกในระดับที่เพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตสมอง และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอวัยวะภายในเติบโตได้ไม่สมบูรณ์
โฟลิกมีในอาหารอะไรบ้าง?
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรได้รับกรดโฟลิกไม่เกิน 400 ไมโครกรัมต่อวัน ซึ่งหากคุณแม่รับประทานกรดโฟลิกมากเกินไป ก็อาจส่งผลต่อการทำงานของวิตามินบี 12 และก่อให้เกิดโรคโลหิตจางได้ ทั้งนี้อาการที่คุณแม่ควรรับประทานในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณกรดโฟลิก มีดังนี้
ผักใบเขียว เป็นอาหารชั้นดีที่อุดมไปด้วยโฟลิก หากคุณแม่รับประทานผักใบเขียวเป็นประจำอยู่แล้ว ก็จะช่วยเพิ่มกรดโฟลิกให้แก่ร่างกายได้ ดังนั้นให้คุณแม่รับประทานผักใบเขียว เช่น ผักโขม กะหล่ำปลี หรือผักกาดเขียว 1 จานใหญ่ต่อวัน ก็ช่วยเพิ่มกรดโฟลิกให้แก่ร่างกายอย่างเพียงพอแล้ว
พืชตระกูลถั่วเป็นแหล่งของโฟลิกชั้นดี ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดถั่ว ถั่วฝัก หรือถั่วเลนทิล ก็จะให้โฟลิกที่ดีแก่ร่างกายอย่างมาก อย่างไรก็ตามถั่วแต่ละประเภทนั้น มีปริมาณของโฟลิกที่แตกต่างกันไป โดยถั่วแดง 1 ถ้วย จะให้โฟลิก 131 ไมโครกรัม ส่วนถั่วเลนทิล 1 ถ้วย จะให้โฟลิก 358 ไมโครกรัม เป็นต้น ดังนั้นคุณแม่จึงควรเลือกรับประทานให้เหมาะสม และพอดี
การรับประทานบร็อคโคลี่ 1 ถ้วย ทำให้ร่างกายได้รับกรดโฟลิกมากถึง 26% ของจำนวนกรดโฟลิกที่ร่างกายต้องการต่อวัน คุณแม่สามารถรับประทานบร็อคโคลี่แบบลวก หรือทานกับน้ำสลัดสด ๆ ก็จะช่วยเพิ่มกรดโฟลิกได้ดีกว่าการนำไปผัดหรือทอด
บทความที่เกี่ยวข้อง : บร็อคโคลี่ ผักสีเขียวเข้มที่ให้คุณประโยชน์มากมายต่อทารกน้อย
แน่นอนว่าผลไม้อุดมไปด้วยสารอาหารดี ๆ มากมาย แต่สำหรับผลไม้รสเปรี้ยว จะมีกรดโฟลิกสูงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะส้ม ที่มีกรดโฟลิกสูงถึง 50 กรัม นอกจากนี้ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างองุ่น กล้วย มะละกอ และสตรอว์เบอร์รีก็ให้กรดโฟลิกที่สูงอีกเช่นกัน
ไข่ เป็นสารอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย โดยไข่ 1 ฟองจะให้โฟลิกมากถึง 22 กรัมต่อวัน อีกทั้งยังให้โปรตีน ซีลีเนียม ไรโบฟลาวิน และวิตามินบี 12 นอกจากนี้ยังมีลูทีม และซีแซนทีนที่สูง อีกทั้งยังให้สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการผิดปกติของดวงตาอีกเช่นกัน
ทานโฟลิกช่วงไหน ได้ผลดีที่สุด?
กรดโฟลิกมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3-4 สัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิ ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบประสาทและสมองของทารกกำลังพัฒนา ซึ่งถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ขาดกรดโฟลิก ทารกในครรภ์จะเสี่ยงต่อภาวะดังต่อไปนี้
- ความพิการทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ทารกอาจมีสมองและระบบประสาทที่พัฒนาไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ พัฒนาการ และการเคลื่อนไหว รวมไปถึงกระโหลกศีรษะไม่ปิดสนิท
- เสียชีวิตหลังคลอด ทารกที่คลอดออกมาจากแม่ที่มีภาวะขาดกรดโฟลิก มักมีอายุขัยสั้น อาจเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
- ความพิการของประสาทไขสันหลัง เด็กอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรือโตไม่เต็มที่ได้
- ภาวะสารโฮโมซีสเตอีนสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไขมันอุดตัน คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในอนาคตได้
โฟลิกคนท้อง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาระบบประสาทของลูกน้อยในครรภ์แล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณแม่เองในช่วงคลอดบุตรอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรรับประทานโฟลิกอย่างพอดีต่อวัน เพราะหากรับประทานมากจนเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสมองลูกน้อย และอาจเกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาอีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ไฟเบอร์ สารอาหารสำคัญที่ส่งผลดีต่อร่างกาย คนท้องกินได้ไหม?
คนท้องกินอะไรให้ลูกฉลาด พัฒนาการดี คนท้องต้องกินอะไรบำรุงครรภ์บ้าง
วิตามินเอ (Vitamin A) แหล่งสารอาหาร และประโยชน์ดี ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม
ที่มา : phyathai, healthline, enfababy, vrunvride, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!