อุบัติเหตุ น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ที่เกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับเด็กๆ ภายในบ้าน คุณแม่ควรระวัง อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ตลอดเวลา ต่อให้บรรดาคุณแม่ระวังแค่ไหนก็ตาม แต่เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า มันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ เป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่ดูเล็กๆ น้อย แต่มักเกิดขึ้นภายในบ้านรองมาจากการหกล้มระหว่างวิ่งเล่น แล้วเราต้องทำอย่างไรหละ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นน้อย หรือไม่เกิดมากที่สุด ไปดูกันเลย
น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ อันตรายที่เกิดขึ้นได้ภายในบ้าน
น้ำร้อนลวก คือการไหม้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับของเหลวร้อน หรือไอน้ำ ในเด็กเล็กมักพบอุบัติเหตุนี้บริเวณศีรษะมากที่สุด โดยเด็กเล็กนั้นจะมีผิวหนังที่บางกว่าเด็กโต และผู้ใหญ่ ดังนั้นผิวหนังของเด็กๆ จึงมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความร้อนได้มากกว่า ซึ่งเด็กอายุ 4 ปี หรือต่ำกว่ามีความเสี่ยงต่อการถูกน้ำร้อนลวกมากที่สุด เนื่องจากพวกเขาชอบสำรวจและไม่รู้ว่าอะไรสามารถทำร้ายพวกเขาได้ หรืออะไรที่อาจก่อให้เกิดความเป็นอันตรายได้ แต่ถึงอย่างนั้นในบางครั้ง ร่างกายของเด็กๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก จนบางครั้งคุณพ่อ คุณแม่ หรือแม้แต่ผู้ดูแล ก็ไม่ทราบว่าเลยว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงของร้อน หรืออยู่ในระยะที่เป็นอันตรายในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยอาการไหม้จากน้ำร้อนลวกมักเกิดขึ้นที่บ้าน ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจาก
- เครื่องดื่มร้อน เช่น ชา และกาแฟ
- น้ำจากกระทะ กาต้มน้ำ และกระติกน้ำร้อน
- อาหารร้อน และกระทะ
- ขี้เถ้า ถ่านหิน
- แผลไหม้จากแรงเสียดทาน – ตัวอย่างเช่น ลู่วิ่ง
- ใช้น้ำร้อนจากก๊อก ฝักบัวและน้ำอาบ
- ไฟแช็กและไม้ขีดไฟ
- น้ำมันปรุงอาหารที่มีไขมันและร้อน
- ไอน้ำและไอ
- ท่อไอเสียรถยนต์
บทความน่าสนใจ : การป้องกัน อุบัติเหตุในเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ควรรู้ ช่วง 1-12 เดือน ต้องระวังอะไรบ้าง
น้ำร้อนลวก ทำอย่างให้ปลอดไรปลอดภัย
เมื่อลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัวก็มักจะงอแงเป็นธรรมดา แต่ถ้าหากโดนน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้แล้วหละก็ พวกเขาจะงอแงมากขึ้นเป็นทวีคูณ เนื่องจากเป็นแผลที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู รวมถึงความแสบร้อนที่เด็กๆ ไม่อาจทนได้ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า เราจะปกป้องลูกน้อยของเรายังไงกัน
สำหรับเด็กทารก ถึง 1 ขวบ
ในวัยเด็กทารก ถึง 1 ขวบเป็นวัยที่พวกเขายังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่อุบัติเหตุน้ำร้อนลวก ก็สามารถทำร้ายผิวอันเบาะบางของพวกเขาได้ โดยสาเหตุหลักมักมาจากคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ดูแลที่มักประมาทนั่นเอง ซึ่งมักจะเกิดเหตุ ดังนี้
- การอาบน้ำทารก
เนื่องจากผิวของเด็กทารกเบาะบางมาก ทำให้ไวต่อความร้อน และความเย็น เมื่อคุณต้องการอาบน้ำเด็กๆ คุณควรเช็กให้แน่ใจว่า น้ำนั้นมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่ร้อน หรือเย็นเกิน ซึ่งคุณอาจจะตั้งอุณหภูมิเครื่องทำน้ำอุ่นไว้ที่ 49 องศาเซลเซียส หรือ หรือสามารถทดสอบได้โดยเทอร์โมมิเตอร์ หรือการนำข้อมือ ข้อศอกของตนเองเช็กดูอีกครั้งให้แน่ใจว่ามัน “อุ่น”
บทความที่น่าสนใจ : 5 ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก สูตรออร์แกนิก ปลอดภัย ไม่แสบ ได้ใจทั้งครอบครัว
- การอุ่นนม
แม่บ้านสมัยใหม่ที่ส่วนใหญ่มักปั๊มนมเก็บเป็นสต๊อกไว้ เพื่อที่ตัวคุณแม่เองสามารถออกไปทำงาน หรือทำอย่างอื่นได้ โดยที่มีผู้ดูแลมาดูแลลูกน้อยแทน โดยส่วนใหญ่แล้วมักนำนมที่เก็บไว้ไปอุ่นในไมโครเวฟโดยตรง ซึ่งนั่นเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ลูกน้อยของคุณอาจถูกนมลวกเอาได้ ทางที่ดีที่สุดสำหรับการอุ่นนมคือควรอุ่นนมในน้ำอุ่นแทน เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ
- การนำของร้อนไปใกล้เด็กๆ
ถึงแม้ว่าเด็กยังเล็กมาก จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่พวกเขาก็เลี่ยงที่จะไม่พบอุบัติเหตุได้เหมือนกัน อีกสาเหตุหนึ่งมักมาจากผู้ปกครองมักประมาทถือของร้อน หรือพาเด็กๆ ไปยังบริเวณที่มีของร้อนอยู่ ซึ่งอาจทำให้เด็กๆ ถูกลวกได้ง่ายๆ
สำหรับเด็กอายุ 1 ถึง 4 ขวบ
วัยกำลังซน และวัยกำลังเรียนรู้ พวกเขาในวัยนี้อยากรู้อยากเห็นไปซะหมด นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่กำลังตามติดคุณแจเลย คุณจะต้องระวังไม่ให้พวกเขาเข้าเขตที่จะเป็นอันตรายให้ได้มากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ที่มักจะเกิดอุบัติเหตุนั้น มีดังนี้
- เด็กๆ เดินเข้าครัวโดยที่คุณไม่เห็น
เด็กๆ ในวัยนี้มักต้องการอยู่กับคุณตลอดเวลา ในบางครั้งที่คุณคิดว่าลูกคุณกำลังนั่งเล่นของเล่นอยู่ด้านนอก คุณจึงเข้ามาประกอบอาหารในครัว ซึ่งพวกเขาอาจจะเดินตามคุณเข้ามาและพบกับอันตรายก็เป็นไปได้ ทางที่ดีคุณควรกั้นเขตห้องครัวอย่างชัดเจน โดยที่พวกเขาไม่สามารถเดินเข้ามาได้
- สอนให้พวกเขารู้จักคำว่า “ร้อน”
ในวัยการเรียนรู้ พวกเขามักตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่เราเขาได้พบเห็นประจำวัน ถ้าคุณสอนให้พวกเขารู้ว่า ที่คุณแม่หรือคุณพ่อบอกว่า ร้อน คืออะไร เพื่อเป็นการป้องกันในระยะต้น เพื่อให้เขาเข้าใจว่าพื้นที่ที่คุณอยู่ร้อน หรือสิ่งที่เขากำลังจะเอื้อมมือไปจับนั้นมันร้อน
- อย่าทำให้มื้ออาหารเป็นมื้ออันตราย
ในวัยนี้พวกเขาเริ่มทานอาหารเองได้แล้ว อาจจะมีงอแงบ้างในบางครั้ง แต่พวกเขาสามารถช่วยตัวเองได้เป็นอย่างดี คุณควรใส่ใจเรื่องอุณหภูมิของอาหารที่คุณให้เด็กๆ ทาน เพราะไม่เช่นนั้นอาหารอาจจะลวกปาก มือ หรือแม้แต่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายของพวกเขาได้ นอกจากนี้อาหารของผู้ใหญ่เองก็ควรที่จะอยู่ห่างมือของเด็กๆ เพราะไม่เช่นนั้น เมื่อมือของพวกเขาเอื้อมถึงต้องเกิดอันตรายแน่ๆ
สำหรับเด็ก 5 ขวบขึ้นไป
วัยที่พวกเขาเริ่มทำอะไรได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาพวกคุณอีกต่อไป แต่ถึงอย่างนั้นคุณก็ควรดูแลพวกเขาอยู่ห่างๆ อย่าให้พวกเขาทำอะไรที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ โดยส่วนใหญ่ในเด็กวัยนี้มักจะมีสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้
- เริ่มใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเอง
เมื่อพวกเขามีความสูงถึง หรือสามารถลากเก้าอี้ตัวโตเข้ามาในครัวเองได้นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ด้วยสื่อต่างๆ ที่พวกนั้นได้เห็นมา อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาถูกน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้ได้ อาทิ การหยิบของออกจากไมโครเวฟด้วยตนเอง การจุดเตาแก๊สเพื่ออุ่น หรือทำอาหาร หรือแม้แต่การยกกาน้ำร้อนออกจากฐานที่ตั้ง
- การที่ไม่รู้ว่าอะไรคือต้นเหตุ
หลายครั้งที่เด็กๆ ไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนเองทำลงไปนั้นอาจทำให้เกิดประกายไฟ หรือเกิดไฟไหม้ได้ ซึ่งเป็นเหตุทำให้เด็กๆ นั้นมีแผลไฟไหม้ได้ ผู้ปกครองควรสอน หรือให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่าอะไรที่ควรทำ หรือไม่ควรทำ หรือว่าสิ่งไหนที่สามารถทำได้ แต่ต้องมีผู้ปกครองอยู่ด้วยเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย
น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ควรทำอย่างไร
- เมื่อพบเห็นตั้งสติ อย่าตกใจ และรีบพาเด็กๆ ออกจากที่เกิดเหตุโดยทันที
- ใช้น้ำสะอาด ย้ำว่าน้ำสะอาดเท่านั้น (ถ้าสามารถหาน้ำเย็นได้จะดีมาก) ราดลงบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือ น้ำร้อนลวก เพื่อระบายความร้อนออกจากบริเวณแผล โดยไม่จำเป็นต้องถูหรือแกะผิวหนังส่วนที่พองออก เพราะยิ่งจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
- ถ้าเด็กๆ ที่ถูกน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้นั้น มีอายุที่น้อยมาก และเกิดเป็นแผลบริเวณกว้าง หลังจากที่ราดน้ำเพื่อระบายความร้อนเสร็จให้รีบนำส่งโรงพยาบาลในทันที
สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อมีแผลน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้
- อย่าใช้เนย น้ำมัน หรือขี้ผึ้ง ทาบริเวณแผลเพื่อบรรเทาอาการแสบร้อน หรือปิดรอยแผล เนื่องจากอาจทำให้เกิดการกักเก็บความร้อนด้านในของแผล และทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลง
- อย่าใช้น้ำแข็ง หรือน้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลง และทำให้อุณหภูมิร่างกายของเด็กๆ ลดลง
บทความที่น่าสนใจ : น้ำร้อนลวกลูก วัย 11 เดือน วิธีปฐมพยาบาล น้ําร้อนลวก โดนของร้อน ปฐมพยาบาล อย่างไร
อันตรายมักเกิดขึ้นได้ทุกที่ตลอดเวลา อยากให้ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กๆ นั้น อย่าประมาท และจงระวังบุตรหลายของท่านเป็นอย่างดี หรือรู้ว่าวิธีปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับในกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างละเอียดและถี่ถ้วน เพื่อไม่ทำให้แผลที่เกิดขึ้นนั้นติดเชื้อ หรือลุกลามจนอาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้
ที่มา : nct, seattlechildrens, betterhealth
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!