ทารกนอนบิดตัว นั้นเกิดจากอะไร หากลูกน้อยมีอาการนอนในลักษณะนี้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวัน หรือ เวลากลางคืน เชื่อว่า คุณแม่หลายคนต้องเกิดความกังวลอย่างแน่นอน แต่การที่ลูกนอนบิดตัวบ่อยๆ นั้นมีหลายสาเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้ทางธรรมชาติของร่างกาย และเกิดจากอาหารการกิน ดังต่อไปนี้
ทารกนอนบิดตัว คือปฏิกิริยาทางธรรมชาติของร่างกาย
ทางการแพทย์หรือคุณหมอเอง ก็เคยกล่าวไว้ว่า ไม่ต้องตกใจหากพบว่า เด็กนอนบิดตัวบ่อยๆ เช่น การบิดแขน ขา ลำตัวไปมา เพราะว่าเป็นอาการคลายกังวล คล้ายๆ กับผู้ใหญ่ที่เพิ่งตื่นนอน โทยทางการแพทย์เรียกว่าการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อ เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวซึ่งเป็นปฏิกิริยาของ ทารกนอนบิดตัว ทั่วๆ ไป
บทความที่เกี่ยวข้อง: ตารางการนอนของทารก กลางวัน/กลางคืน ทารกควรนอนกี่ชั่วโมงถึงดี
ทารกนอนบิดตัว เกิดจากการดื่มนมมากเกินไป
อาหารในที่นี้คงหนีไม่พ้นนม ซึ่งเกิดจากภาวะ Overfeeding หรือ การดื่มนมมากเกินไป จนเกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารของเด็ก เนื่องจากระบบย่อยอาหารเด็กเล็กๆ นั้นยังไม่สมบูรณ์จึงเกิดความอึดอัด ไม่สบายตัว แน่นท้องทำให้ทารกอาเจียน แหวะนม และเกิดอาการบิดตัวบ่อยๆ นั่นเอง สามารถสังเกตได้ดังนี้
1. ลูกแหวะนมบ่อย บิดตัวไปมาผิดปกติ
ทารกแหวะนมบ่อยๆ หนูน้อยบางคนเริ่มมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับความสะอาดของนม แต่มาจากที่เขาดื่มนมมากไป จนไม่สบายเนื้อตัว เป็นไข้ ตรงนี้อาจมีการติดเชื้อภายในร่างกาย ถ้าลูกบิดตัวบ่อย ๆ คุณแม่พยายามสังเกตดี ๆ ว่าบิดเพราะเมื่อยเนื้อตัวทั่วไปหรือเป็นไข้ท้องเสีย ต้องรีบพาไปพบคุณหมอด่วนค่ะ
2. ทารกมีเสียงร้องผิดปกติ
เนื่องจากทารกน้อยไม่สามารถสื่อสารได้ เมื่อรู้สึกไม่สบายตัวจะร้องออกมาเสียงคล้ายแกะหรือแพะ เอ๊าะ ๆ แอ๊ะ ๆ โดยเฉพาะช่วงหลังดื่มนม หากลูกน้อยร้องลักษณะนี้หลังเข้าเต้าดูดนมหรือดูดนมจากขวด คุณแม่ต้องคอยสังเกตว่าลูกร้องแปลกไปหรือไม่ ร้องเหมือนมีอะไรติดคอ นั่นคือการที่ลูกได้รับอาหารมากเกินไปค่ะ
3. ทารกร้องเสียงครืดคราด
โดยปกติ คุณแม่ได้เรียนรู้การให้นมบุตรแรกเกิดมาอย่างดี แต่อย่าลืม เด็กแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน อาจจะใช้ไม่ได้กับมาตรฐานที่คุณแม่มือใหม่เตรียมตัวมา ยิ่งการให้นม คุณแม่มักจะมีปัญหากันมากในเรื่องปริมาตรความจุในกระเพาะของลูกวัยทารก ซึ่งส่วนใหญ่จะค่อนข้างน้อยและระบบทางเดินอาหาร การย่อยอาหารยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ถ้าลูกน้อยได้นมมากเกินไป จนท้องอืด เด็กจะร้องงอแงและมีเสียงครืดคราดในลำคอ คล้ายกับมีเสมหะอยู่ข้างใน นั่นหมายความว่า เขาได้รับน้ำนมมากเกินไป จนล้นออกมาที่คอหอย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกแหวะนมบ่อย สามารถสังเกตความถี่และปริมาตรนมที่ให้แต่ละครั้งลงและหมั่นชั่งน้ำหนักลูกให้เพิ่มตามเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน น้ำหนักควรเพิ่ม 600 ถึง 900 กรัม
- อายุ 4-6 เดือน น้ำหนักพิ่มในอัตราน้อยลงคือ 450 ถึง 600 กรัม
- ทารกอายุ 7 เดือน ถึง 1 ขวบ น้ำหนักจะเพิ่มช้าที่สุดคือประมาณ 300 กรัมในแต่ละเดือน
หากน้ำหนักลูกเพิ่มเร็วกว่าเกณฑ์ควบคู่กับมีอาการดังกล่าว แสดงว่าลูกได้น้ำนมปริมาณมากเกินไป ฉะนั้นคุณแม่ควรปรับการกินเพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับสบายอารมณ์แจ่มใส่ สุขภาพกายแข็งแรงค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง: การนอนช่วยพัฒนาสมอง ทารกควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะฉลาด
ทารกนอนบิดตัว และร้องไห้
สืบเนื่องมาจากการกิน การให้ลูกดื่มนมมากเกินไป จนน้ำนมแน่นกระเพาะ เกิดการไม่สบายท้อง ท้องอืด หงุดหงิด จึงแสดงออกโดยการบิดตัวไปมา ซึ่งเป็นสัญชาตญาณโดยธรรมชาติของเด็ก แต่จะแตกต่างจากการบิดตัวแล้วร้องไห้ด้วย นั้นเกิดจากการที่ลูกนอนไม่อิ่มค่ะ เช่น นอนงอแง เพราะนอนไม่ตรงเวลา เพราะมีคนมาเล่นด้วยมากเกินไป จนนอนไม่อิ่มหรืออนอนผิดเวลา เราอาจจะเคยได้ยินผู้ใหญ่เตือนว่า อย่าเล่นกับน้องมากเกินไป เดี๋ยวน้องนอนผวา สำหรับการที่ทารกนอนร้องไห้เพราะไม่สบายเจ็บป่วย มักจะมีอาการไข้หรือมีผดผื่นตามลำตัวหรือมีอาการโคลิคที่ทารกจะร้องไห้เป็นเวลา เช่น ช่วงเวลาเย็น หรือหัวค่ำของทุกวัน ทั้งที่ยังไม่เวลาค่ำที่พวกเขาควรจะนอนค่ะ
ทารกนอนบิดตัว ยุกยิก กำลังส่งสัญญาณบางอย่าง
ทารกนอนบิดตัวยุก ๆ ยิก ๆ โดยที่ไม่มีอาการแหวะนม นั่นแสดงว่า การรับประทานอาหารหรือดูดนมนั้นปกติ แล้วทารกบิดตัวทำไม หากไม่มีอาการงอแงร่วมด้วยอีก ทั้งนี้คุณแม่ต้องสังเกตดูว่า ลูกน้อยกำลังส่งสัญญาณอะไรหรือไม่ เช่น ลูกน้อยของคุณกำลังพยาบาลจะพลิกตัวคลานหรือเปล่า ปัจจุบันเด็กมีพัฒนาการเร็วมาก ไม่กี่เดือนพอพวกเขารู้เรื่องนิดหน่อย ก็พยายามพลิกตัวเองแล้ว
เช่น ทารกอายุ 2 – 3 สัปดาห์ หนูน้อยทำท่าแอ่นหลังหรือบิดตัวไปมา หรืออาจจะมีร้องไห้งอแงร่วมด้วยนิดหน่อย นั่นก็แสดงว่าลูกน้อยของคุณกำลังรู้สึกไม่สบายตัว พยายามดิ้นไปมาเพื่อหาตำแหน่งที่ตัวเองรู้สึกสบายขึ้น อาจจะบอกว่า อิ่มแล้วก็ได้ แต่หากเป็นทารกอายุ 4 – 5 เดือนทำท่านี้โดยไม่ร้องไห้ นั่นเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยของคุณกำลังพยายามพลิกตัวเป็นครั้งแรก จากนั้น ลูกน้อยก็จะเริ่มกระดึ๊บๆ แล้วค่ะ
อาการบิดตัวของทารก ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ตอนนอน
ทารกนอนบิดตัว อาจเป็นความกังวลของคุณแม่ แต่การบิดตัวไปมาไม่ว่าตอนตื่นหรือนอนหลับก็เป็นเรื่องน่ากังวลเช่นกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามช่วงวัย และมีสาเหตุแตกต่างกัน เช่น
บิดตัวเรียกเนื้อ
อาการนี้เกิดได้กับทารกทุกคน ทุกช่วงเวลา ซึ่งเป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อของเด็กเล็กที่มักทำตอนตื่นนอน มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า ทารกบิดขี้เกียจเรื่อยๆ จะทำให้เด็กมีเนื้อเยอะ โตเร็ว แต่หากอาการบิดขี้เกียจมาพร้อมกับ เสียงร้องของกล้ามเนื้อ กระดูกแสดงว่า ลูกน้อยยังควบคุมกล้ามเนื้อได้ไม่ดี ตรงนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กที่น้ำหนักตัวขึ้นเร็ว แต่ไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใดค่ะ
บิดตัวจากอาการโคลิค
แค่ชื่อว่า อาการโคลิค คุณแม่อาจเป็นกังวล แต่เรามารู้จักอาการนี้กับการปวดบิดกันก่อนค่ะ หนึ่งในอาการปวดบิดเนื้อตัวของทารกที่พบบ่อยคือ โคลิค (Baby Colic) หรือที่เรารู้จักกันว่า เด็กร้อง 100 วัน เนื่องจากโคลิคเป็นอาการที่เด็กแรกเกิด อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึง 3 เดือน มีภาวะร้องไห้หนักมาก และร้องเป็นเวลานานโดยหาสาเหตุไม่ได้โดยเฉพาะในตอนกลางคืน มักจะมีอาการร่วมดวยต่อไปนี้
- ร้องไห้หนักมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ติดต่อกัน 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งอาจจะเป็นอยู่นานมากกว่า 3 เดือน
- ทารกแผดเสียงคล้ายโมโห ร้องไห้แทบขาดใจ
- ทารกมีอาการบิดตัวไปมา คล้ายเอาแต่ใจหรือไม่สบายตัว
- ทารกมีปฏิกิริยา งอขาเข้าหาหน้าท้อง งอตัว กำมือแน่น คล้ายจะทำร้ายตัวเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง: หลากปัญหาเรื่อง “นอน” ของลูกที่พ่อแม่อยากรู้
สาเหตุของอาการปวดบิดจากโคลิค
แม้ว่าลูกน้อยจะดื่มนมได้ตามปกติ มีสุขภาพที่แข็งแรงดี แต่ยังร้องไห้โคลิคเป็นเวลานาน จนคุณพ่อคุณแม่หลายคนหาสาเหตุไม่เจอ แต่จริงๆ แล้วสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
1. ระบบทางเดินอาหารของทารก
ทารกร้องไห้หนักมาก ติดต่อกัน มาจากการที่ทารกกลืนก๊าซเข้าไปในลำไส้เข้าไปตอนดูดนม โดยเฉพาะการดูดขวด ทำให้แน่นท้อง เกิดการไม่สบายตัว จนร้องไห้ออกมาอย่างรุนแรง อีกทั้งงอขาไปชิดหน้าท้อง คล้ายกับว่าปวดบิดภายในท้องของพวกเขา จึงเดาได้ว่าอาจมีการเคลื่อนไหวของลำไส้มากกว่าปกติ หากได้รับยาลดการบีบตัวของลำไส้ ก็อาจช่วยให้เด็กบางคนมีอาการที่ดีขึ้นได้ ที่สำคัญเวลาลูกดื่มนมแล้ว คุณแม่ควรอุ้มลูกพาดบ่าแล้วให้ลูกเรอ เพื่อระบายแก๊สในท้องค่ะ
2. สุขภาพจิตของคุณแม่
คุณแม่มือใหม่หรือคุณแม่เพิ่งคลอด มักจะพกความเครียดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งติดอาการนี้มาตั้งแต่ตอนท้อง จนมีผลต่ออาการของทารก รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่มักจะกังวลเรื่องการเลี้ยงลูก หรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่จำเป็นต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพัง ทำให้รู้สึกอ่อนล้า ท้อแท้ กังวล เครียด เมื่อลูกร้องไห้จึงไม่รู้วิธีจัดการอย่างถูกต้องเพื่อให้เขาหยุดร้อง
โรคของทารกที่แฝงอาการโคลิค
- ภาวะกรดไหลย้อนในเด็กเล็ก เกิดจากการดื่มนมมากเกินไป
- ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
- ท้องผูก
- แพ้นมสำลักอาหารหรือขย้อน
- แผลที่รูก้น
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- หูชั้นกลางอักเสบ เช่น ได้รับอุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก แผลที่ตาดำ และแมลงเข้าไปในหูเป็นต้น
คุณแม่สามารถดูแลลูกเมื่อมีอาการโคลิคได้ดังนี้
- อุ้มทารกเมื่อลูกร้องโคลิค คุณแม่ต้องคอยปลอบและดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด
- คุณแม่ไม่ควรให้นมมากเกินไป เพราะ Overfeeding ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
- ถ้าจำเป็นต้องให้ลูกดูดขวดนม ดื่มเสร็จอย่าลืมอุ้มเรอทุกครั้ง
- หมั่นดูการขับถ่ายของลูก ว่าต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือยัง อย่าปล่อยให้ทารกไม่สบายตัว
- หมั่นเช็คสภาพอากาศว่าร้อนหรือเย็นเกินไปหรือไม่ ซึ่งส่งผลให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัว
เรื่องของนมที่คุณแม่ดื่มตอนให้นมบุตร
อาการโคลิคสามารถเกิดขึ้นได้จากการดื่มนมของทารก ทั้งนมผงและนมแม่ ถ้าคุณแม่กังวลเรื่องอาหารของตนเอง ว่าอาจทำให้ลูกมีอาการโคลิค ให้ลองเช็คตัวเองเวลาดื่มนมวัว นมถั่วเหลือง แล้วไปให้นมลูก ดูว่าลูกมีอาการอย่างไรบ้าง นมแบบไหนที่แม่กินแล้วมีอาการแหวะนม ผื่นขึ้น ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด
ทั้งนี้ถ้าลูกมีอาการปวดบิด มีไข้ ร้องนานกว่าเดิมจนหน้าดำหน้าแดง สีอุจจาระเปลี่ยนไป หรือหายใจผิดปกติ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอด่วนค่ะ
บทความที่น่าสนใจ :
พัฒนาการสร้างได้ ด้วยกิจกรรมง่ายๆ ในทุกวัน
10 วิธี ฝึกลูกนอนเร็ว เทคนิคที่ทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น วิธีให้ลูกนอนง่ายๆ
9 เทคนิคที่ทำให้ลูกหลับง่าย โดยที่คุณเเม่ไม่ต้องอดหลับอดนอน
ที่มา :amarinbabyandkids , huggies
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!