X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เคล็ดลับลดอาการ ท้องผูก จากธรรมชาติ

บทความ 3 นาที
เคล็ดลับลดอาการ ท้องผูก จากธรรมชาติ

เมื่อลูกน้อยท้องผูก โดยอาการท้องผูกเกิดจากร่างกายของเด็กทารกยังทำงานไม่เต็มที่ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร คุณแม่อาจสังเกตสุขภาพของลูกจาก “อึ” ของลูกได้ว่ามีลักษณะผิดปกติเช่นไร ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจ นั่นคือ เวลาเปลี่ยนนมให้ลูกเมื่อไร เจ้าตัวเล็กอาจจะมีปัญหาการขับถ่าย โดยเฉพาะอาการท้องผูก ซึ่งทำให้ลูกเจ็บปวดเวลาถ่าย ส่งผลต่ออารมณ์ จิตใจ และสุขภาพร่างกายที่ดี

อาการ ท้องผูก หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง แห้งๆ หรือถ่ายเป็นเม็ดๆ เจ็บเวลาถ่าย และอาจมีความรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด แม้ลูกจะถ่ายทุกวัน แต่ถ้ามีอาการที่ว่านี้ แสดงว่าลูกท้องผูก หรือถ้า 2-3 วัน ถ่ายหนึ่งครั้งแต่อุจจาระนิ่มหรือแข็งจนเกินไปก็ถือว่าปกติค่ะ

 

10 เคล็ดลับช่วยลูกน้อยลดอาการ ท้องผูก ด้วยวิธีธรรมชาติ

  1. วัยทารกที่กินนมแม่ ควรได้รับปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ โดยคำนวณเฉลี่ย ชั่วโมงละ 1 ออนซ์ ถ้าลูกกินนมไม่มากพอจะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้มากขึ้น คุณแม่ต้องแน่ใจด้วยว่าได้ให้นมเพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยแล้ว
  2. เมื่อเด็กเริ่มทานอาหารเสริม ควรเพิ่มอาหารที่มีกากใยให้เหมาะสม เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช
  3. ควรหยุดให้อาหารจำพวกข้าว และกล้วยกับลูกของคุณ เมื่อลูกเกิดอาการท้องผูก เนื่องจากอาหารประเภทนี้จะทำให้ของเสียในลำไส้ของเด็กแข็งตัว
  4. เพิ่มน้ำส้มคั้นให้ลูกกินทุกวัน แต่ต้องพิถีพิถันเรื่องความสะอาดมากสักนิด ทางที่ดีควรล้างส้มหลายๆ ครั้ง ยาระบายธรรมชาติชนิดนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป
  5. การดื่มน้ำลูกพรุนที่ผสมกับน้ำเป็นวิธีที่นิยมใช้กัน และสามารถใช้ได้กับเด็กทารกส่วนใหญ่ สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนหรือมากกว่า ให้ลูกจิบดื่มเล็กน้อยหรือให้ดื่มน้ำผสมน้ำลูกพรุนประมาณ 4 ออนซ์ สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ยังไม่ควรให้ทานอะไรอย่างอื่นนอกจากนมแม่ หากลูกไม่ถ่ายเกินสัปดาห์ให้ไปพบแพทย์
  6. บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง ด้วยการนวดท้อง โดยกดบริเวณรอบสะดือแล้วนวดวนไปเรื่อยๆ ช่วยในการระบาย หรือการจับเด็กทำท่าปั่นจักรยานอากาศจะช่วยให้เด็กขับถ่ายง่ายขึ้น
  7. ควรฝึกกระโถนเมื่อลูกพร้อม โดยปกติแล้วจะเริ่มเมื่อเด็ก อายุประมาณ 18 เดือน แต่หากลูกยังไม่พร้อม ไม่ควรบังคับเพราะจะทำให้เด็กกลัวการขับถ่าย ควรให้เด็กทำความคุ้นเคยก่อนแล้วค่อยเริ่มฝึกใหม่ ฝึกให้นั่งถ่ายประมาณ 10-15 นาที หลังรับประทานอาหารเสร็จสักพัก เพราะหลังจากรับประทานอาหาร ร่างกายจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ช่วยให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านออกมาได้ง่ายขึ้น
  8. สังเกตวิธีชงนมว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น ชงนมเข้มข้นหรือเจือจางเกินไป ควรศึกษาข้อมูลในการชงนม โดยดูได้จากฉลากบนผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  9. หากให้นมเสริมกับลูก “นมแพะ” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นั่นเพราะในนมแพะอุดมไปด้วย โปรตีนที่ดี มีลักษณะนุ่ม ย่อยได้ง่าย ซึ่งก็คือโปรตีน CPP (Casein Phosphopeptides) นอกจากย่อยง่าย ร่างกายนำไปใช้ได้เต็มที่แล้ว โปรตีน CPP ยังมีส่วนช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ในนมแพะยังมี พรีไบโอติก (Prebiotics) ชนิด Oligosaccharides (Inulin และ Oligofructose) ซึ่งเป็นใยอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่จะเป็นตัวช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของลูกน้อย เช่น แลคโตบาซิลัส และ บิฟิโดแบคทีเรีย ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ลดอาการท้องผูก สร้างภูมิต้านทานในลำไส้ ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี ไม่ค่อยงอแง คุณพ่อคุณแม่จึงเลี้ยงลูกน้อยได้อย่างง่าย ๆ สบาย ๆ มากขึ้น
  10. และหากสังเกตว่าลูกน้อยมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ไม่หายสักที ควรปรึกษาแพทย์ และที่สำคัญไม่ควรใช้ยาสวนเอง

 

ภาวะท้องผูกเป็นปัญหาที่พบบ่อย และทำให้คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวลได้มากๆ แต่การรักษาต้องใช้ระยะเวลาและความอดทนอย่างมาก ถ้าทั้งหมดที่คุณแม่ได้ลองทำมาแล้ว ด้วยวิธีธรรมชาติที่แนะนำข้างต้น แต่ลูกน้อยก็ยังมีอาการท้องผูกอยู่เป็นประจำ หรือ ไม่ถ่ายเกิน 1 สัปดาห์ขึ้นไป  ให้รีบพาลูกน้อยไปหาหมอ เพื่อที่คุณหมอจะวินิจฉัยได้อย่างลึกซึ้งว่า ควรปฏิบัติอย่างไรต่อไป ถ้าถึงคราวจำเป็นต้องใช้ยาระบายจริงๆ คุณหมอจะมียาที่ทำให้อุจจาระนิ่มลงได้ เพื่อลูกจะถ่ายได้ง่ายขึ้น

 

ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และรูปภาพนำไปเผยแพร่ต่อ ไม่ว่าวิธีใดๆ ถ้าฝ่าฝืนทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

บทความที่น่าสนใจ

แม่ต้องรู้! ลูกวัยนี้ให้กินอะไรดี อาหารที่เหมาะกับทารกแต่ละวัย ป้องกันลูกกินยาก

ทารกร้องเวลาถ่าย ไขข้อข้องใจเรื่องการขับถ่ายของทารก ทำไมลูกชอบร้องตอนอึ ท้องผูกหรือท้องเสีย

อึอึ๊ไม่ยากอย่างที่คิด! ฝึกลูกนั่งกระโถน แบบนี้สิ แฮปปี้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • โภชนาการและการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ
  • /
  • เคล็ดลับลดอาการ ท้องผูก จากธรรมชาติ
แชร์ :
  • นมแรกสำหรับลูกสำคัญที่สุด วิธีเลือกนมผงแรกให้ลูก ต่อจากนมแม่ ต้องเลือกอย่างไรให้ดีกับลูกน้อยที่สุด
    บทความจากพันธมิตร

    นมแรกสำหรับลูกสำคัญที่สุด วิธีเลือกนมผงแรกให้ลูก ต่อจากนมแม่ ต้องเลือกอย่างไรให้ดีกับลูกน้อยที่สุด

  • ดื่มนมแพะดีอย่างไร? รวมประโยชน์จากธรรมชาติของนมแพะที่อยากให้คุณแม่รู้ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก
    บทความจากพันธมิตร

    ดื่มนมแพะดีอย่างไร? รวมประโยชน์จากธรรมชาติของนมแพะที่อยากให้คุณแม่รู้ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

  • อะโพไครน์ จุดเริ่มต้นความพิเศษโดยธรรมชาติของนมแม่ อาหารที่ดีที่สุดของลูก
    บทความจากพันธมิตร

    อะโพไครน์ จุดเริ่มต้นความพิเศษโดยธรรมชาติของนมแม่ อาหารที่ดีที่สุดของลูก

  • นมแรกสำหรับลูกสำคัญที่สุด วิธีเลือกนมผงแรกให้ลูก ต่อจากนมแม่ ต้องเลือกอย่างไรให้ดีกับลูกน้อยที่สุด
    บทความจากพันธมิตร

    นมแรกสำหรับลูกสำคัญที่สุด วิธีเลือกนมผงแรกให้ลูก ต่อจากนมแม่ ต้องเลือกอย่างไรให้ดีกับลูกน้อยที่สุด

  • ดื่มนมแพะดีอย่างไร? รวมประโยชน์จากธรรมชาติของนมแพะที่อยากให้คุณแม่รู้ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก
    บทความจากพันธมิตร

    ดื่มนมแพะดีอย่างไร? รวมประโยชน์จากธรรมชาติของนมแพะที่อยากให้คุณแม่รู้ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

  • อะโพไครน์ จุดเริ่มต้นความพิเศษโดยธรรมชาติของนมแม่ อาหารที่ดีที่สุดของลูก
    บทความจากพันธมิตร

    อะโพไครน์ จุดเริ่มต้นความพิเศษโดยธรรมชาติของนมแม่ อาหารที่ดีที่สุดของลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ