X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานได้

บทความ 5 นาที
14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานได้

วันเบาหวานโลก ถูกกำหนดขึ้นโดย สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation) ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1911 เพื่อตอบสนองต่อความกังวลเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี

วันเบาหวานโลก มีสัญลักษณ์เป็น รูปวงกลมสีฟ้า สื่อความหมายถึงชีวิตและสุขภาพ “สีฟ้า” หมายถึง ท้องฟ้า ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนในโลกก็จะเห็นท้องฟ้าเป็นสีเดียวกัน เมื่อนำสี และสัญลักษณ์ มารวมกัน จึงหมายความว่า การรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของประชากรโลก ที่ต้องเผชิญหน้ากับภาวะเบาหวานที่กระจายอยู่ทั่วโลก

เนื่องใน วันเบาหวานโลก เราทุกคนควรตระหนักถึงความรุนแรงของโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี โดยสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 5 ล้านคน

วันเบาหวานโลก

มีการคาดการณ์ว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 1 แสนคน และกว่า 40 % ยังไม่รู้ว่าตนเองกำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในขณะที่ตัวเลขของผู้ที่เข้ารับการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างเหมาะสมมีเพียง 2.6 ล้านคนเท่านั้น ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษากลับมามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ทำให้ตัวเลขของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานในประเทศไทยสูงถึง 200 รายต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์เพิ่มเติมด้วยว่า ภายในปี พ.ศ. 2583 ความชุกของโรคเบาหวานในประเทศไทย จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคน

จากสถานการณ์โรคเบาหวานที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้ที่มีอายุน้อย เช่น วัยเด็ก วัยเรียน หนุ่มสาววัยทำงาน ไปจนถึงผู้ใหญ่วัยเริ่มต้น ซึ่งมีการตอบสนองต่อการรักษาได้น้อยกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ หรือวัยสูงอายุ ด้วยสาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้ตลอดเวลา เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การไม่ออกกำลังกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เป็นต้น 

Advertisement

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่อายุยังน้อย จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งไม่อยู่ในสิทธิเบิกจ่ายของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) ทำให้ต้องออกค่าใช้จ่ายเองประมาณ 13,000 บาท เป็นสาเหตุให้เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจนมากกว่า 100,000 คน ขาดโอกาสในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องไปอย่างน่าเสียดาย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง เบาหวานในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกตรองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

 

เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้ตระหนักและตื่นรู้เกี่ยวกับ โรคเบาหวาน ซึ่งเป็น 1 ในโรคกลุ่ม NCDs (โรคติดต่อไม่เรื้อรัง) ที่คร่าชีวิตประชากรโลก และคนไทยสูงเป็นอันดับ 1 theAsianparent ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน มาให้อ่านกันดังนี้

ทำความรู้จักกับ โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) 

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในลือดให้เป็นพลังงาน ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

โรคเบาหวาน แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค ดังนี้

  • เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus, T1DM) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน พบประมาณ 5 – 10 % ของโรคเบาหวานทั้งหมด โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดเบาหวานชนิดนี้ คือ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเอง
  • เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus, T2DM) พบมากถึงร้อยละ 90 – 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด สาเหตุเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่วนมากเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะอ้วน อายุที่มากขึ้น เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เคยมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes mellitus, GDM) พบได้ในหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 – 3 พบว่า 2 – 5 % ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยร้อยละ 40 ของคุณแม่ที่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์มีโอกาสพัฒนาเป็นเบาหวานต่อไปได้ในอนาคต
  • เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (Specific Types of Diabetes Due to Other Causes) เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรม การผ่าตัด สารเสพติด ภาวะขาดสารอาหาร การติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคจากตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ หรืออาจเกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรดี และจะมีผลกับลูกในท้องหรือไม่

 

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน 

หลักเกณฑ์ที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน มี 4 วิธี ดังนี้

วันเบาหวานโลก

 

  1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสมา (Fasting plasma glucose : FPG) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่บางครั้งแพทย์อาจเลือกใช้วิธีวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (Oral glucose tolerance test: OGTT) ก็ได้เช่นกัน
  2. ตรวจวัดระดับน้ำตาลแล้วพบว่า มีค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)**
  3. ผลการสุ่มวัดระดับกลูโคลในพลาสมา กับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีภาวะเบาหวานชัดเจน คือ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ โดยแพทย์จะให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่สั่งงดอาหารและน้ำ หากมีค่าตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  4. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (Oral glucose tolerance test: OGTT) แพทย์จะให้ดื่มน้ำผสมน้ำตาล 75  กรัม แล้ววัดระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังจากดื่มน้ำตาล หากมีค่าน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน

หากวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคเบาหวาน คุณหมอจะแนะนำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับค่าปกติ โดยรูปแบบของการควบคุมระดับน้ำตาล และวิธีรักษาภาวะเบาหวานแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกันของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมีทั้งการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการฉีดอินซูลิน ร่วมกับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกวัน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายแค่ไหน? หมอให้กินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน แม่ท้องควรน้ำหนักขึ้นกี่กิโลกรัม

 

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะเบาหวานชนิดต่าง ๆ 

วันเบาหวานโลก

  • โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจสูงขึ้น 2 – 4 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60 – 65 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
  • สูญเสียการมองเห็น ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 20 – 74 ปี มีโอกาสตาบอด
  • โรคไต ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคไตวายเรื้อรัง และโรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุหลักของโรคไตวายระยะสุดท้าย
  • สูญเสียอวัยวะอื่น ๆ ผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมาก ต้องลงเอยด้วยการตัดอวัยวะทิ้งจากการติดเชื้อ เช่น แขน ขา เท้า
  • สตรีที่ไม่ได้วางแผนเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่ทำให้ ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด สูงถึง 10 %

 

ห่างไกลโรคเบาหวานได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต (Lifestyle Modification)

World Diabetes Day

 

เนื่องจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานในปัจจุบัน ล้วนมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น จึงถือเป็นอีกหนึ่งวิธีดี ๆ ที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ดีเยี่ยม ทั้งในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง และผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (Pre – Diabetes) โดยทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ได้ดังนี้

 

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
รวมโมเมนต์แห่งความสุขจากงาน Central x theAsianparent Baby Fair 2025
รวมโมเมนต์แห่งความสุขจากงาน Central x theAsianparent Baby Fair 2025
ช้อปสุดฟิน!  ครั้งแรกของปี รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว Central x theAsianparent Baby Fair งานแฟร์สินค้าแม่ลูกสุดยิ่งใหญ่ ลดสูงสุด 70%
ช้อปสุดฟิน! ครั้งแรกของปี รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว Central x theAsianparent Baby Fair งานแฟร์สินค้าแม่ลูกสุดยิ่งใหญ่ ลดสูงสุด 70%
Dragonfly H.E.A.L. Summit 2024 ปลดล็อคพลังแห่งผู้นำ สู่การเป็นผู้นำที่ดีในทุกมิติ
Dragonfly H.E.A.L. Summit 2024 ปลดล็อคพลังแห่งผู้นำ สู่การเป็นผู้นำที่ดีในทุกมิติ

World Diabetes Day

 

  • รับประทานอาหารให้ครบหมู่ แต่ควรลดอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงเมนูทอด เปลี่ยนมาทานเมนูต้ม และนึ่งแทน พร้อมกันนี้ให้เพิ่มอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ อกไก่ ปลานึ่ง เต้าหู้ และเน้นบริโภคผักผลไม้กากใยสูง
  • การรับประทานน้ำตาลเทียม แม้จะช่วยให้คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี แต่กลับมาผลข้างเคียงคือทำให้เกิดการอยากกินของหวานเพิ่มมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน ควรหันมาดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 6 – 8 แก้ว
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือทำกิจกรรมที่มีการเผาผลาญพลังงานให้ได้อย่างน้อย 700 แคลลอรี่ต่อสัปดาห์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียดเป็นระยะเวลานาน

หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้ตามข้อแนะนำข้างต้น ก็จะช่วยให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และป้องกันการเกิดโรคอื่น ๆ ในกลุ่ม NCDs ได้อีกด้วย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

กินน้ำตาลได้แค่ไหนเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์

ที่มา: dmthai.org , bumrungrad.com , bangkokhospital.com, hfocus.org 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Molwalee Moungchoo

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานได้
แชร์ :
  • สลด! เด็ก 2 ขวบหัวติดราวเตียง ดิ้นรนนาน 26 นาที ก่อนดับกลางเนอสเซอรี่

    สลด! เด็ก 2 ขวบหัวติดราวเตียง ดิ้นรนนาน 26 นาที ก่อนดับกลางเนอสเซอรี่

  • 8 ข้อคิดสอนเด็กจาก Lilo & Stitch 2025 ภาพยนตร์สุดน่ารัก ดูสนุกทั้งครอบครัว

    8 ข้อคิดสอนเด็กจาก Lilo & Stitch 2025 ภาพยนตร์สุดน่ารัก ดูสนุกทั้งครอบครัว

  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

  • สลด! เด็ก 2 ขวบหัวติดราวเตียง ดิ้นรนนาน 26 นาที ก่อนดับกลางเนอสเซอรี่

    สลด! เด็ก 2 ขวบหัวติดราวเตียง ดิ้นรนนาน 26 นาที ก่อนดับกลางเนอสเซอรี่

  • 8 ข้อคิดสอนเด็กจาก Lilo & Stitch 2025 ภาพยนตร์สุดน่ารัก ดูสนุกทั้งครอบครัว

    8 ข้อคิดสอนเด็กจาก Lilo & Stitch 2025 ภาพยนตร์สุดน่ารัก ดูสนุกทั้งครอบครัว

  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว