ดูแลลูกอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยง การแพ้อาหารในเด็ก
การแพ้อาหารในเด็ก-1
นอกจากการลดความเสี่ยงในการเป็น ภูมิแพ้ ของลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์คุณแม่แล้ว เมื่อลูกน้อยคลอดออกมา คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า เรายังมีวิธีการที่จะช่วยลดโอกาส ในการเป็นโรคภูมิแพ้ของลูกได้อีก ดูแลลูกเพื่อลดความเสี่ยง การแพ้อาหารในเด็ก ได้อย่างไรบ้าง สามารถอ่าน และ ทำความเข้าใจได้จากบทความนี้ค่ะ
ข้อแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่
การแพ้อาหารในเด็ก-2
ควรให้ลูกทาน นมแม่ นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 ถึง 6 เดือน เพราะนมแม่เป็นนมที่ดีที่สุด ในการป้องกันโรคภูมิแพ้ อีกทั้งยังมีภูมิคุ้มกันโรคผ่านจากแม่มาสู่ลูก ซึ่งไม่มีนมใดสามารถทดแทนได้
คุณแม่ให้นม ไม่จำเป็นต้องงดอาหารชนิดใด รวมทั้งอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ ได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี ถั่วลิสง และ อาหารทะเล จะงดก็เฉพาะ ในกรณีที่ตัวคุณแม่เอง แพ้อาหารชนิดนั้น หรือ ลูกมีอาการที่เข้ากันได้ กับการแพ้อาหาร และ ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า แพ้อาหารชนิดใด เพราะมีรายงานการศึกษาว่า หากคุณแม่ให้นม งดอาหารโดยไม่จำเป็น นอกจากจะทำให้เกิดภาวะขาดอาหาร ทั้งแม่ และ ลูกแล้ว ยังจะเพิ่มความเสี่ยง ของการที่ลูกแพ้อาหารมากขึ้นอีกด้วย
การเริ่มอาหารตามวัยสำหรับลูกน้อยวัยทารก
- คุณพ่อ คุณแม่ สามารถเริ่มอาหารตามวัยสำหรับทารกได้ตั้งแต่อายุช่วง 4 ถึง 6 เดือน โดยไม่ควรเริ่มเร็ว หรือ ช้ากว่าช่วงวัยนี้
- อาหารที่เริ่มอาจเป็น ข้าว ผัก ผลไม้ แล้วจึงตามด้วยเนื้อสัตว์ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับอายุของทารก ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารทีละน้อย
- การเริ่มอาหารชนิดใหม่ควรเริ่มทุก 3 ถึง 5 วัน หรือ หากให้จําง่าย ๆ ก็อาจเริ่มอาหารใหม่ สัปดาห์ละชนิดก็ได้ค่ะ
- อาหารกลุ่มเสี่ยง ที่มีรายงานการแพ้บ่อยในทารก สามารถเริ่มหลังจากอายุ 4 ถึง 6 เดือนได้เช่นกัน ทั้งนี้ควรเริ่มหลังจากที่ทานอาหารตามวัย ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงได้แล้ว โดยใช้หลักการเริ่มทีละอย่าง แล้วสังเกตอาการอย่างน้อย 3 ถึง 5 วันเช่นกัน
- อาหารทะเลได้แก่ กุ้ง ปู ปลาหมึก และ หอย ควรเริ่มทานที่อายุมากกว่า 1 ปี ส่วนปลาทะเลอาจเริ่มก่อน 1 ปีได้ เพราะอัตราการแพ้ไม่บ่อย เท่ากลุ่มอาหารทะเลเปลือกแข็ง แต่ก็ต้องทานแล้ว สังเกตอาการเช่นกัน เพราะปลาทะเลบางชนิด ที่นิยมให้ทารกทาน ก็มีรายงานการแพ้ได้บ้าง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า
วิธีการสังเกตว่าลูกแพ้อาหาร หรือไม่
การแพ้อาหารในเด็ก-3
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูกรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง และ มีอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกายเกิดขึ้น อาจเป็นอาการของการ แพ้อาหาร ได้แก่ มีผื่นลมพิษ หรือ ผื่นแดงทั่วตัว ริมฝีปากบวม ตาบวม หายใจลำบาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ถ่ายเป็นมูกเลือด ท้องเสียเรื้อรัง โดยอาการอาจเกิดขึ้นเพียงระบบเดียว หรือ หลายระบบของร่างกาย หากมีอาการแพ้รุนแรงอาจถึงขั้น ช็อก หมดสติ ความดันโลหิตต่ำได้
หากมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเกิดจากการแพ้อาหาร ซึ่งควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อจะได้รับการซักถามประวัติ ชนิดของอาหาร ปริมาณ อาการที่เกิดขึ้น ตรวจร่างกาย และทำการทดสอบภูมิแพ้ เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ตรวจเลือด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยชนิดของอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้
ทั้งนี้ หากลูกยังเล็ก บางครั้งการทำทดสอบอาจให้ผลไม่ชัดเจน คุณหมอก็จะแนะนำให้หยุดรับประทานอาหารที่สงสัยว่าแพ้ แล้วนัดมาดูอาการว่าเป็นปกติภายใน 2-6 สัปดาห์ ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่าแพ้อาหารชนิดนั้นได้ เช่นกันค่ะ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
multimedia.anamai.moph.go.th
อุ้ม ลักขณา เล่า ลูกแพ้อาหาร ลมพิษ ปากม่วง ที่ญี่ปุ่น สงสารลูกแทบขาดใจ
ลูกแพ้นมวัว แพ้ไข่ เป็นอย่างไร อาการลูกแพ้อาหาร ทารกแพ้อาหารผ่านน้ำนมแม่ ที่ต้องระวัง!
ลูกแพ้อาหารควรทําอย่างไร อาการทารกแพ้อาหารผ่านน้ำนม แม่ควรทําอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!