ลูกป่วยบ่อย เกิดจากแพ้อาหารได้หรือไม่? – ผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี
ลูกป่วยบ่อย เกิดจากแพ้อาหารได้หรือไม่? – ผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี
ลองมาดูกันนะคะว่าอาการแบบใดบ้างที่น่าสงสัยว่าลูกมีอาการแพ้อาหาร
แพ้อาหารเป็นอย่างไร?
แพ้อาหารเป็นปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อได้รับประทานอาหารที่แพ้ ผ่านกลไกภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดอาการในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่
- ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ หรือผื่นแดงทั่วตัว ริมฝีปากบวม
- ระบบทางเดินหายใจ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
- ระบบทางเดินอาหาร เช่น ถ่ายเป็นมูก / เลือด ท้องเสีย ปวดมวนท้อง
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำ
โดยอาการอาจเกิดขึ้นเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยพบในในเด็กประมาณ 6 – 8 %
แพ้อาหารพบได้กับใครบ้าง?
การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยพบในในเด็กประมาณ 6 – 8 % และผู้ใหญ่ประมาณ 3 – 5 % พบมากที่สุดในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เนื่องจากระบบการย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์
อาหารอะไรที่แพ้ได้บ่อย?
อาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ในเด็กเล็กที่พบมาก คือ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลีและถั่วลิสง สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่พบว่าอาหารทะเลเป็นสาเหตุสำคัญของการแพ้อาหาร
สาเหตุของการแพ้ในเด็กเล็กที่พบมาก คือ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลีและถั่วลิสง
ทราบได้อย่างไรว่าลูกแพ้อาหาร?
คุณพ่อคุณแม่หากสังเกตว่าลูกรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งและมีอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ เกิดขึ้นซ้ำ ๆ จะเป็นข้อสงสัยว่าแพ้อาหารชนิดนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ ชนิดของอาหาร ปริมาณ อาการที่เกิดขึ้น และตรวจร่างกายเพื่อหาอาการแสดงของระบบต่าง ๆ สำหรับการทดสอบภูมิแพ้ เช่น การทดสอบทางผิวหนัง (skin test) หรือการตรวจเลือดก็จะช่วยในการวินิจฉัยชนิดของอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ได้
นอกจากนี้ การให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานอาหารที่สงสัยว่าแพ้แล้วอาการหายไปภายใน 2 – 6 สัปดาห์ และเมื่อรับประทานอีกครั้งก็เกิดอาการขึ้น สามารถวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ ได้ แต่ขั้นตอนเหล่านี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ ชนิดของอาหาร ปริมาณ อาการที่เกิดขึ้น และตรวจร่างกาย
ถ้าลูกแพ้อาหารคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร?
หากคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกแพ้อาหารชนิดใด ควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นและอาหารที่มีส่วนประกอบของอาหารที่แพ้ด้วย เช่น หากแพ้นมวัว จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น ไอศครีม เค้ก คุกกี้ ถ้าเป็นเด็กเล็กที่ยังต้องทานนมอยู่ ควรให้กลับมาทานนมแม่ โดยคุณแม่ก็ต้องงดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวด้วยเช่นกัน หากไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรให้ลูกดื่มนมสูตรพิเศษสำหรับเด็กแพ้นมวัว หรือนมถั่วเหลืองแทน
เมื่อลูกมีอาการแพ้อาหาร คุณหมออาจรักษาโดยการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้แพ้เพื่อลดอาการคันและผื่นลมพิษ ยาพ่นขยายหลอดลมเพื่อลดอาการหอบ เป็นต้น
เด็กที่แพ้อาหารมีโอกาสหายหรือไม่?
แพ้อาหารมีโอกาสหายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าแพ้อาหารชนิดใดค่ะ สำหรับเด็ก ๆ ที่แพ้นมวัว หรือ ไข่ ซึ่งเป็นในเด็กเล็ก อาการมักจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อโตขึ้น เช่นเด็กที่แพ้นมวัวมีโอกาสหาย 50 % เมื่ออายุ 1 ปี 70 % เมื่ออายุ 3 ปี และ 85 % เมื่ออายุ 5 ปี เด็กที่แพ้ไข่ขาวมีโอกาสหาย 50 % เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป แต่เด็กที่แพ้ถั่วลิสง หรือ อาหารทะเล มักจะแพ้จนเป็นผู้ใหญ่
สำหรับเด็ก ๆ ที่แพ้นมวัว หรือ ไข่ ซึ่งเป็นในเด็กเล็ก อาการมักจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อโตขึ้น
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Healthline.com – Kids and Food Allergies: What to Look For
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาล อย่างไร ป้อนอาหารเด็กเล็ก ต้องระวัง! อาหารอันตราย
สารอาหารเด็กเล็ก อาหารที่เหมาะสม กับวัยทารก 1 – 3 ปี ลูกต้องการ สารอาหาร อะไรบ้าง
อาหารเด็ก 6 เดือน ตัวอย่างอาหารตามวัย ลูก 6 เดือนแล้ว ให้กินอะไรดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!