X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำตาลเทียม ปลอดภัยสำหรับคนท้องหรือไม่ ? สารให้ความหวานเทียม คืออะไร ?

บทความ 5 นาที
น้ำตาลเทียม ปลอดภัยสำหรับคนท้องหรือไม่ ? สารให้ความหวานเทียม คืออะไร ?

ลองเช็กกันหน่อย แม่ท้องรู้จัก "น้ำตาลเทียม" หรือสารให้ความหวานที่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ทดแทนความหวานของน้ำตาลถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการนำมาประกอบอาหาร หรือเครื่องดื่มมากมาย ความจริงแล้วปลอดภัยจริงหรือไม่ สำหรับคนท้องและทารกในครรภ์ถ้ามีการรับประทานจำนวนมากจะเป็นอันตรายหรือไม่ มาดูกัน

 

น้ำตาลเทียม คืออะไร ?

สารให้ความหวานทดแทน (artificial sweeteners) หรือที่เรามักนิยมเรียกกันว่า น้ำตาลเทียม เป็นสารเคมีที่เติมลงในอาหาร และเครื่องดื่มบางประเภทเพื่อให้มีรสหวาน โดยน้ำตาลเทียมนั้นมีรสหวานคล้ายน้ำตาล แต่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลหลายเท่า บางประเภทมีแคลอรี แต่บางประเภทก็ปราศจากแคลอรี ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หรือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเรื่องของฟันผุที่เกิดจากน้ำตาลได้อีกด้วย

 

วิดีโอจาก : Thai PBS

 

สารให้ความหวานมีกี่ประเภท

น้ำตาลเทียม หรือสารทดแทนความหวานนั้นมีหลากหลายประเภทมากมาย แตกต่างกันออกไปที่ระดับความหวาน และการให้พลังงานแต่ร่างกายมนุษย์ที่รับประทานเข้าไป โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน

ในกลุ่มของสารที่ให้ความหวานที่ให้พลังงานนั้นไม่ได้เพียงให้แค่พลังงานแก่ร่างกายของเรา แต่ยังมีคุณค่าโภชนาการเพิ่มเติมมาด้วย ได้แก่ ฟรุกโตส (Fructose) เป็นสารทดแทนความหวานที่ได้จากผลไม้ มัลติทอล (Maltitol) ซอร์บิทอล (Sorbitol) และ ไซลิทอล (Xylitol)

  • สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน

กลุ่มของสารให้ความหวาน ที่ไม่ให้พลังงาน หรือกลุ่มของน้ำตาลเทียมนั้นมักถูกใช้ในการเพิ่มรสหวานให้กับอาหารต่าง ๆ ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ ได้แก่ ซูคราโลส (Sucralose) สตีเวีย (Stevia) หรือสารสกัดจากหญ้าหวาน แอสปาร์แตม (Aspartame) อะซิซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) แซคคารีน และแซกคารีน (Saccharin) หรือขัณฑสกร

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน คนท้องกินได้ แต่มีวิธีเลือกอย่างไร

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับน้ำตาลเทียม

สำหรับการนำน้ำตาลเทียม หรือสารทดแทนความหวานมาใช้ในปัจจุบันอย่างแพร่หลายนั้น ผู้ที่นำมาใช้ก็มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งน้ำตาลนี้มีข้อควรระวัง หรือส่งผลต่อร่างกายของเราอย่างไรได้บ้าง สามารถดูรายละเอียด ดังต่อไปนี้

 

  • ส่งผลต่อความอยากอาหาร

บางคนเชื่อว่าน้ำตาลเทียมนั้นอาจเพิ่มความอยากอาหาร และส่งเสริมการเพิ่มน้ำหนักของร่างกายได้ โดยบางคนมีความคิดที่ว่าสารให้ความหวานเหล่านี้ไม่มีแคลอรีสามารถทานได้มากเท่าที่ต้องการ ทำให้การรับประทานอาหารนั้นมากขึ้นกว่าปกติ ถ้าเทียบกับการทานอาหารที่มีรสหวานปกติที่จะทำให้อิ่มง่ายกว่า หรือในบางคนอาจส่งผลทำให้ยิ่งรับประทานก็ยิ่งต้องการอาหารที่มีน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น

 

น้ำตาลเทียม 1

 

  • ส่งผลต่อน้ำหนัก

จากการศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน โดยมีรายงานว่าสารทดแทนความหวานนั้นมีส่วนช่วยให้น้ำหนักตัว มวลไขมัน และรอบเอวลดลง นอกจากนี้ยังช่วยให้การได้รับแคลอรีที่ควรบริโภคต่อวันลดลง แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากคุณต้องการที่จะลดน้ำหนัก และเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานทดแทนนั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่การดื่มน้ำเปล่าจะให้ผลที่ดีกว่า

 

  • โรคเบาหวาน

ผู้ที่เป็นเบาหวานอาจได้รับประโยชน์จากการเลือกสารให้ความหวานเทียม เนื่องจากมีรสหวานโดยที่ไม่ต้องเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตามการศึกษาบางกรณีพบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลเทียมนั้นมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเบาหวานประเภทที่ 2 เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ผลการศึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องการใช้น้ำตาลเทียมกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อประเมินผลกระทบระยะยาวของการใช้สารให้ความหวานทดแทนนี้

 

  • กลุ่มอาการเมตาบอลิซึม (metabolic syndrome)

กลุ่มอาการเมตาบอลิซึม หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวานประเภท 2 โดยการดื่มเครื่องดื่มที่ใช้สารทดแทนความหวานนั้นมีความเสี่ยงสูงถึง 36 เปอร์เซ็นต์ที่จะเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการเมตาบอลิซึม

 

น้ำตาลเทียมปลอดภัยสำหรับคนท้องหรือไม่ ?

สารให้ความหวานทดแทนที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหาร 4 ชนิดที่พบเจอบ่อยในปัจจุบันที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแล้วว่าปลอดภัยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่ สตีเวีย (Stevia) หรือสารสกัดจากหญ้าหวาน แอสปาร์แตม (Aspartame) ซูคราโลส (Sucralose) แซกคารีน (Saccharin) หรือขัณฑสกร และอะซิซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการใช้สารทดแทนความหวานสำหรับคนท้องนั้นอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับประโยชน์จากอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง

 

น้ำตาลเทียม 2

 

สารให้ความหวานทดแทนส่งผลอย่างไรต่อแม่ท้องบ้าง

น้ำตาลเทียมแต่ละประเภทส่งผลต่อร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

 

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
อยากให้ลูกสมองไว ทำไมต้องรอให้ถึงอนุบาล
อยากให้ลูกสมองไว ทำไมต้องรอให้ถึงอนุบาล
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
  • แอสปาร์แตม (Aspartame)

ถือว่าเป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัยสามารถนำมาประกอบอาหาร หรือเครื่องดื่มให้แก่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ โดยสารดังกล่าวยังไม่ส่งผ่านถึงทารกในช่วงของคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีแอสปาร์แตมนั้นอาจทำให้คุณแม่ปวดหัว แต่ถือว่าไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่ หรือทารกในครรภ์ นอกจากนี้แอสปาร์แตมยังมีข้อจำกัดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายาก ที่ชื่อว่า โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria : PKU) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขาดเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนที่เป็นส่วนผสมในแอสปาร์แตม หากคุณแม่ได้รับแอสปาร์แตมเข้าไปอาจทำให้มีระดีบฟีนิลอะลานีนสูง และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

 

  • ซูคราโลส (Sucralose)

เป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรีที่ หรือชื่อที่ทุกคนคุ้นหูกันคือ น้ำตาลทราย ถือว่าปลอดภัยที่จะนำมาใช้ในการประกอบอาหารให้กับคนท้อง ซึ่งในการศึกษาวิจัยพบว่าการรับประทานน้ำตาลทรายในปริมาณปกตินั้นไม่ได้เพิ่งความเสี่ยงของทารกให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิด หรือทำให้การตั้งครรภ์นั้นมีปัญหา แต่ถ้าหากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลทำให้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือภาวะอื่น ๆ ได้

 

  • แซกคารีน (Saccharin) หรือขัณฑสกร

ผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ดูแลครรภ์อาจให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการทานสารทดแทนความหวานแซกคารีนในช่วงของการตั้งครรภ์ เพราะว่ายังไม่มีผลการศึกษาอย่างแน่ชัดว่าปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสารให้ความหวานนี้สามารถแทรกซึมผ่านรก และเข้าไปผสมอยู่ในน้ำคร่ำได้ และในการศึกษาทดลองในหนูปี 1970 พบว่าการได้สารขัณฑสกรจำนวนมากนั้นทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะในหนูเพศผู้ แต่ภายหลังการศึกษาพบว่าไม่ได้ส่งผลในมนุษย์ หากคุณแม่เผลอทานเข้าไป ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะขัณฑสกรในปริมาณเล็กน้อยนั้นจะไม่ทำร้ายทารกในครรภ์ แต่สำหรับการให้นมบุตรนั้นสามารถส่งผ่านน้ำนมไปยังทารกได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงหากอยู่ในช่วงของการให้นมบุตร

 

  • สตีเวีย (Stevia) หรือสารสกัดจากหญ้าหวาน

หญ้าหวานเป็นอีกหนึ่งสารทดแทนน้ำตาลที่ได้มาจากพืชธรรมชาติที่นิยมมากในปัจจุบัน โดยองค์การอาหารและยาได้มีการรับรองและว่า สารสกัดหญ้าหวานนั้นปลอดภัยสามารถใช้ในการทดแทนความหวานในอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักถึงว่าจะสามารถใช้ได้ โดยรูปแบบที่ไม่สามารถนำมาใช้ ได้แก่ หญ้าหวานทั้งใบ หรือสารสกัดจากหญ้าหวานที่ไม่ผ่านการขัดสี เป็นต้น เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือด ไต ระบบสืบพันธุ์ และระบบหัวใจและหลอดเลือด

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำตาลหญ้าหวาน คืออะไร หญ้าหวานแทนน้ำตาล ดีจริงหรือ

 

น้ำตาลเทียม 3

 

  • อะซิซัลเฟม-เค (Acesulfame-K)

เป็นสารให้ความหวานอีกชนิดหนึ่งที่มีความเข้มข้นสูงมากที่ใช้ในอาหารประเภทลูกอม หมากฝรั่ง เครื่องดื่ม ของหวาน และผลิตภัณฑ์นมผสม ซึ่งถือว่าปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่หากทานในปริมาณที่มากอาจทำให้เกิดปัญหาของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืดและท้องร่วงได้

 

เป็นอย่างไรบ้างกับสารให้ความหวาน หรือน้ำตาลเทียม ถึงแม้ว่าสารให้ความหวานบางชนิดจะปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ก็ต้องระวังเรื่องของการรับประทานอาหารให้เป็นอย่างดี หากคุณแม่ท่านใดไม่มั่นใจเกี่ยวกับอาหารเสริม สารทดแทนความหวาน หรือโภชนาการต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ดูแลครรภ์ก่อนที่จะรับประทานเสมอ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารกในครรภ์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ประโยชน์จากน้ำผึ้งที่แม่ท้องต้องรู้ เรื่องผึ้ง ๆ ที่แม่ท้องต้องพึ่ง

สูตรเมนูอาหารเช้าที่ปราศจากน้ำตาล ถูกใจสายคลีนเอาใจสายสุขภาพ

13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวคนท้องกินน้ำตาลเทียมได้ไหม ได้ที่นี่ !

น้ำตาลเทียม คนท้องทานได้ไหมคะ จะเป็นอันตรายไหมคะ

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • น้ำตาลเทียม ปลอดภัยสำหรับคนท้องหรือไม่ ? สารให้ความหวานเทียม คืออะไร ?
แชร์ :
  • คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ

    คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ

  • วิตามินหลังคลอดต้องกินนานแค่ไหน กินนานเกินไปจะเป็นอันตรายหรือไม่ ?

    วิตามินหลังคลอดต้องกินนานแค่ไหน กินนานเกินไปจะเป็นอันตรายหรือไม่ ?

  • วิตามินหลังคลอด เลือกยังไง เพื่อฟื้นฟูสุขภาพคุณแม่หลังคลอดให้แข็งแรงได้เร็วขึ้น

    วิตามินหลังคลอด เลือกยังไง เพื่อฟื้นฟูสุขภาพคุณแม่หลังคลอดให้แข็งแรงได้เร็วขึ้น

  • คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ

    คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ

  • วิตามินหลังคลอดต้องกินนานแค่ไหน กินนานเกินไปจะเป็นอันตรายหรือไม่ ?

    วิตามินหลังคลอดต้องกินนานแค่ไหน กินนานเกินไปจะเป็นอันตรายหรือไม่ ?

  • วิตามินหลังคลอด เลือกยังไง เพื่อฟื้นฟูสุขภาพคุณแม่หลังคลอดให้แข็งแรงได้เร็วขึ้น

    วิตามินหลังคลอด เลือกยังไง เพื่อฟื้นฟูสุขภาพคุณแม่หลังคลอดให้แข็งแรงได้เร็วขึ้น

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ