โรคเบาหวาน นับเป็นอาการเจ็บป่วยที่ผู้สูงอายุในประเทศไทย ป่วยและเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 รองจากความดัน ซึ่งวันที่ 14 พ.ย. ของทุกปี ถูกจัดตั้งให้เป็น วันเบาหวานโลก มีมาตั้งแต่ในปี 1991 โดยสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (IDF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) กลายเป็นวันสหประชาชาติอย่างเป็นทางการในปี 2006 ซึ่งหลายที่ก็แนะนำว่าอาการนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
จากรายงานสถิติสาธารณสุข โรคเบาหวานทั่วโลกในปี 64 มีผู้ป่วยจำนวน 537 ล้านคน และคาดว่าในปี 2573 จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และโรคเบาหวานมีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก ๆ 5 วินาที ส่วนในประเทศไทยพบว่าโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.3 ล้านคน ในปี 63 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 16,388 คน
โรคเบาหวาน คืออะไร ?
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติ ในการผลิตหรือตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพและทำงานล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตาสูญเสียการมองเห็น ไตวายเรื้อรัง หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ชาปลายมือปลายเท้า รวมถึงเป็นแผลหายยาก บางรายอาจจำเป็นต้องตัดขา
กรมควบคุมโรค ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดโรงเรียนเบาหวาน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานในการจัดการตนเองไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ และการดูแลทางด้านจิตใจผู้ป่วยให้เข้าถึงโปรแกรมความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคเบาหวานทั้งบุคคล ครัวเรือน และชุมชน การติดตามผลการดูแลด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชันสมุดสุขภาพประชาชน เพื่อดูแลและจัดการตนเองให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี
บทความที่เกี่ยวข้อง : 13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน
โรคเบาหวานมีกี่ชนิด
แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค ดังนี้
1. เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus, T1DM)
เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน พบประมาณ 5 – 10 % ของโรคเบาหวานทั้งหมด โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดเบาหวานชนิดนี้ คือ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเอง
2. เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus, T2DM)
พบมากถึงร้อยละ 90 – 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด สาเหตุเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่วนมากเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะอ้วน อายุที่มากขึ้น เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เคยมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานได้
3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes mellitus, GDM)
พบได้ในหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 – 3 พบว่า 2 – 5 % ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยร้อยละ 40 ของคุณแม่ที่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์มีโอกาสพัฒนาเป็นเบาหวานต่อไปได้ในอนาคต
4. เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (Specific Types of Diabetes Due to Other Causes)
เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรม การผ่าตัด สารเสพติด ภาวะขาดสารอาหาร การติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคจากตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ หรืออาจเกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี พบแพทย์สม่ำเสมอ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งแพทย์ที่รักษา ห้ามปรับยาเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเท้าด้วยตัวเอง หากเป็นแผลควรรีบไปพบแพทย์ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่
การป้องกันโรคเบาหวานควรปฏิบัติ
- เลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เน้นผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ
- ลดอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม
- ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
- ทำจิตใจให้แจ่มใส นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
- ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพทุกปี
ธีมและคำขวัญ วันเบาหวานโลก
ธีมของวันเบาหวานสากล ประจำปี 2022-2023 คือ “Access to Diabetes Care” หรือ ส่งเสริมการเข้าถึงและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องมาจาก มีผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการดูแลได้ เพราะผู้ป่วยต้องการการดูแลและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการสภาพของตนเองและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นกิจกรรมหลักในวันโลกเบาหวาน จึงเป็นการเรียนรู้สำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน และเชิญชวนให้ทุกคนไปตรวจสุขภาพโรคเบาหวานประจำปีนั่นเอง
คำขวัญประจำวันเบาหวานโลกล่าสุด ที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้เมื่อปี 2561-2562 คือ The Family and Diabetes เพราะครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในการรักษาเบาหวาน ทั้งนี้ สัญลักษณ์ของวันเบาหวานโลก คือ วงกลมที่มีขอบสีฟ้า วงกลมสื่อถึงชีวิตและสุขภาพที่ดี ส่วนสีฟ้าหมายถึงท้องฟ้าทั่วโลกเปรียบได้กับความเป็นสากลโลก เมื่อรวมกันแล้ว “วงกลมสีฟ้า” จึงหมายถึง การรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของชุมชนทั่วทุกมุมโลกโดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการแก้ปัญหาภาวะเบาหวานทั่วโลก
วันเบาหวานโลก มีกิจกรรมอะไรบ้าง ?
จัดขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุข ในการกำหนดให้บุคลากรสาธารณสุขและโรงพยาบาลทั่วประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในประเด็นดังต่อไปนี้
- เรื่องสถานการณ์ความรุนแรงของโรคเบาหวาน
- ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคเบาหวาน
- การประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน
- สัญญาณเตือนภัยโรคเบาหวาน
- วิธีลดความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน
- การดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน
- การป้องกันโรคแทรกซ้อน
เช็กสิทธิประกันสังคม ตรวจสุขภาพประจำปี
เนื่องในวันเบาหวานโลก อยากชวนให้คนไทยใช้สิทธิประกันสังคม ตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 ตามโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการกับทางสำนักงานประกันสังคม โดยเป็นการตรวจสุขภาพประจำปีฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด 14 รายการ ดังนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง คุ้มครองอะไรได้บ้าง
|
No. |
ประเภทการตรวจ |
อายุที่ควรตรวจ |
จำนวนการตรวจ |
1 |
การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test |
15 ปีขึ้นไป |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
2
|
การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากร
|
30-39 ปี |
ตรวจทุก 3 ปี |
40-54 ปี |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
55 ปีขึ้นไป |
ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง
|
3
|
การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์
|
40-54 ปี |
ตรวจ 1 ครั้ง |
55 ปีขึ้นไป |
ตรวจทุก 1-2 ปี |
4 |
การตรวจสายตาด้วย Snellen eye Chart |
55 ปีขึ้นไป |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
5
|
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
|
18-54 ปี |
ตรวจ 1 ครั้ง |
55-70 ปี |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
6 |
ตรวจปัสสาวะ |
55 ปีขึ้นไป |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
7
|
น้ำตาลในเลือด
|
35-54 ปี |
ตรวจทุก 3 ปี |
55 ปีขึ้นไป |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
8 |
การทำงานของไต |
55 ปีขึ้นไป |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
9 |
ไขมันในเลือดชนิด Total cholesterol & HDL |
20 ปีขึ้นไป |
ตรวจทุก 5 ปี |
10 |
เชื้อไวรัสตับอักเสบ |
สำหรับผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ.2535 |
ตรวจ 1 ครั้ง |
11
|
มะเร็งปากมดลูก วิธี Pap Smear
|
30-54 ปี |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
55 ปีขึ้นไป |
ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง
|
12
|
มะเร็งปากมดลูกวิธี Via
|
30-54 ปี |
ตรวจทุก 5 ปี |
55 ปีขึ้นไป |
|
13 |
เลือดในอุจจาระ FOBT |
50 ปีขึ้นไป |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
14 |
Chest X-ray |
15 ปีขึ้นไป |
ตรวจ 1 ครั้ง/ปี |
ทั้งนี้ หากตรวจพบความผิดปกติระหว่างการตรวจ ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 จะได้รับการดูแลบำบัดในระยะแรก ซึ่งรวมถึงการตรวจไขมันในเส้นเลือด เพื่อหาความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานนั่นเอง ผู้ประกันตนสามารถเข้าตรวจสุขภาพประจำปี ก่อนสิ้นปีนี้ ตรวจสอบข้อมูลสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลที่ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
ผู้เป็นโรคเบาหวานควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โดยกินอาหารควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ลดความเครียดหรือวิตกกังวล ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่จะไปขัดขวางการทำงานของอินซูลิน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับวัย เช่น เดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
คุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โรคมะเร็งปอด สาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต อาการป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ !
ไม่รู้ว่าท้อง สาววัย 31 คลอดลูกในห้องน้ำ คิดว่ากินจุจนอ้วน เชื่อลูกให้โชค!
ทำไมต้องเตรียมตัว ตรวจเบาหวาน
ที่มา : pptvhd36.com, news.ch7.com, tnnthailand.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!