X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการปวดข้อมือของคนท้อง เกิดจากอะไร? แม่ท้องปวดข้อมืออันตรายหรือไม่?

บทความ 5 นาที
อาการปวดข้อมือของคนท้อง เกิดจากอะไร? แม่ท้องปวดข้อมืออันตรายหรือไม่?

แม่ท้องปวดข้อมือ พบบ่อยในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ใกล้คลอด แต่ทราบหรือไม่ว่า อาการปวดข้อมือของคนท้อง ไม่ใช่แค่อาการปวดเมื่อยตามร่างกายจากการทำงานหนัก แก้ปัญหาโดยการนวดเท่านั้น แต่อาการปวดข้อมือ คือสัญญาณโรคร้าย อย่างโรคเดอเกอร์แวง ที่สามารถพบในคนหนุ่มสาวช่วงอายุวัยทำงานได้เช่นกัน

 

แม่ท้องปวดข้อมมือ

ทำไมแม่ท้องปวดข้อมือง่ายกว่าคนปกติ

แม่ท้องปวดข้อมือ ปวดข้อเท้า อาการชา ตามนิ้วมือ นิ้วเท้าง่ายกว่าคนปกติทั่วไป เนื่องจากร่างกายมีความอ่อนแอ และต้องแบกรับน้ำหนักที่มากกว่าปกติ อาการปวดข้อมือของคนท้องยัง รวมไปถึง อวัยวะต่าง ๆ ได้รับผลกระทบต่อฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในร่างกายตลอดเวลา ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

 

1. การเปลี่ยนแปลงจากฮอร์โมน

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คือสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายของแม่ตั้งครรภ์หลายอาการ อย่างผลกระทบต่อข้อมือ ข้อต่อต่าง ๆ ต่างตามร่างกาย ฮอร์โมนนี้คือตัวการทำให้เส้นเอ็นตามข้อต่อเกิดที่ยึดเส้นเอ็นคลายตัว กล้ามเนื้อจึงทำงานมากขึ้น เพราะต้องออกแรงมากกว่าเดิม ลองจินตนาการเวลาคุณยกของหนัก จะออกแรงมากขึ้น เพราะเส้นเอ็นไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อจึงอักเสบและเกิดความเจ็บปวดตามมา

 

2. น้ำหนักตัวของแม่ตั้งครรภ์

ด้วยน้ำหนักตัวในแต่ละเดือนที่เพิ่มขึ้น บวกกับไม่สามารถออกกำลังกายแบบปกติได้ แม้จะพยายามเดินเบา ๆ แล้วก็ตาม แต่กล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยได้ถูกใช้งาน มักจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เส้นเอ็นยึด หรือหลวม จนเกิดอาการอักเสบหากคุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บวกกับอาจมีภาวะตัวบวมแทรกซ้อน

 

3. คุณแม่ท้องเคลื่อนไหวผิดท่า

สาเหตุหนึ่งของอาการบาดเจ็บตรงข้อและเส้นเอ็น นั่นคือการเคลื่อนไหวผิดท่า ไม่ใช่แค่คุณแม่ท้องเท่านั้น หนุ่มสาวที่ลุกนั่ง ผิดจังหวะ การออกกำลังกายที่ผิดท่าทาง ย่อมส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากการออกกำลังกายภายใน เช่น ก้มลงเก็บของ คนเรามักจะก้มลงไปเลย จริง ๆ แล้ว การย่อตัวและนั่งลงเก็บของจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของหลัง และข้อมือ เพราะเราจะประมาณน้ำหนักได้ว่าควรออกแรงมากน้อยแค่ไหน

อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดข้อมือของแม่ท้องมีอาการชาร่วมด้วย นั่นคืออาการปวดที่เกิดจากระดับของฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ แต่จะเริ่มดีขึ้น หรือค่อย ๆ หายไปเองเมื่อคลอดบุตรแล้ว หากว่ายังไม่หายหรือมีอาการเรื้อรังคล้ายกับอาการนิ้วล็อกจนปวดแสบปวดร้อน ขอให้ระวังว่าจะเป็นโรคเดอเกอร์แวง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่านอนคนท้อง คนท้องนอนท่าไหนดี จึงจะเหมาะ ไม่นอนทับลูก

 

อาการปวดข้อมือของคนท้อง เกิดจากอะไร แม่ท้องปวดข้อมือภัยร้ายใกล้ตัว

 

โรคเดอเกอร์แวงคืออะไร

โรคเดอเกอร์แวง (De Quervain) คือ “อาการปวดข้อมือ” ที่เกิดจาก “ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ” บางครั้งอาจไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพราะเกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตประจำวัน มักจะเกิดกับผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ ซึ่งมีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ทั้งแม่ท้องและสาววัยทำงาน ทั้งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของโรคออฟฟิศซินโดรมอีกด้วย รวมไปถึงบุคคลที่มีโรคเรื้อรังอย่าง เบาหวาน รูมาตอยด์ ความดันโลหิตสูงและโรคเกาต์  ซึ่งในคนทั่วไปมีสาเหตุมาจาก

 

  • ติดสมาร์ตโฟนตลอดเวลา ไม่ว่าจะคุณแม่ท้อง และคนทั่วไป ปฏิเสธไม่ได้ว่าสมาร์ตโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ ทั้งหาความบันเทิง ข่าวสารความรู้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้เอ็นข้อมือทำงานหนัก เกิดการสะสมและอักเสบในที่สุด
  • ใช้เมาส์ไม่เหมาะกับขนาดมือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน นอกจากเสี่ยงกับสายตาเสื่อมสภาพเร็วแล้ว ข้อมือเราที่ต้องใช้เมาส์หรือปากกาแท็บเล็ตเป็นประจำ ทำให้เส้นเอ็นข้อมือเสี่ยงต่อการอักเสบได้ง่าย โดยเฉพาะเมาส์ที่นิยมใช้ขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไปก็ทำให้เกิดความปวดเมื่อยและข้อมือล้า กล้ามเนื้ออักเสบได้ง่าย

 

 

สามารถทราบได้อย่างไรว่า กำลังเป็นโรคเดอเกอร์แวง

อาการเริ่มต้นของแม่ท้องปวดข้อมือจะรู้สึกเมื่อยเล็กน้อย จึงไม่ได้ใส่ใจมากนัก อาจทำได้แค่นำยาหม่องมานวดคลายปวดเท่านั้น ส่วนคนทั่วไปที่รู้สึกปวดข้อมือมักจะอาศัยการนวดแผนไทย แต่ไม่ดีขึ้น เพราะแท้จริงแล้ว เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีอาการอักเสบ ความเจ็บปวดจะรู้สึกเหมือนเคล็ดเล็กน้อย จะแปรงฟัน ถือของก็รู้สึกรำคาญ ซึ่งหากไปพบคุณหมอจะวินิจฉัยได้ดังนี้

  • คุณหมอจะทดสอบโดยการกดบริเวณหัวแม่มือ ตรงหลังมือและอุ้งมือด้านใน
  • จากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อย ๆ งอนิ้วหัวแม่มือช้า ๆ มาตรงกลางฝ่ามือ
  • นิ้วที่เหลืออีก 4 นิ้วกำลงมาทับหัวแม่มือที่พับไปตรงกลางฝ่ามือ (กำมือโดยเอานิ้วโป้งเข้าด้านใน)
  • คุณหมอจะทดสอบความเจ็บปวดโดยให้ผู้ป่วยบิดข้อมือไปมา ว่าองศาไหนเจ็บที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องรู้ไว้!! อาการปวดตามข้อคนท้อง ปวดหลัง อาจไม่ใช่เรื่องชิล ๆ

 

อาการปวดข้อมือของคนท้อง เกิดจากอะไร แม่ท้องปวดข้อมือภัยร้ายใกล้ตัว

 

หากเป็นโรคเดอเกอร์แวง จะรักษาอย่างไร

หลังจากการวินิจฉัยโรคแล้ว คุณหมออาจสั่งยาบรรเทาปวด ยาคลายกล้ามเนื้อให้รับประทานก่อนค่ะ ส่วนคุณแม่ท้อง ต้องดูว่า สามารถรับประทานยาเหล่านี้ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่ เพราะต้องวินิจฉัยและสั่งยาให้เหมาะกับร่างกาย โดยทั่วไป การรักษาโรคนี้ จะทำได้ 2 วิธีคือ

 

1. บรรเทาอาการปวดข้อมือโดยไม่ผ่าตัด

สำหรับคนที่ปวดข้อมือน้อย ยังไม่เรื้อรัง เริ่มต้น คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่หรือผู้ป่วยใช้ยาทาบรรเทาอาการปวด นวดบริเวณข้อมือและฐานนิ้วหัวแม่มือ ควบคู่กับการประคบร้อน นอกจากนี้หากมีอาการที่อักเสบในระดับสอง อาจจะต้องรับประทานยาแก้อักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ บางรายอาจต้องใส่เฝือกที่นิ้วเลยก็มีค่ะ โดยคุณหมอจะใส่เฝือกเพื่อยึดข้อมือและนิ้วหัวแม่มือเอาไว้ ให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด

 

2. หากเรื้อรัง ร้ายแรง ต้องอาศัยวิธีผ่าตัด

จากข้อที่ 1 เป็นการรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก ซึ่งบางกรณีอาจต้องฉีดสารสเตอรอยด์เข้าช่วย โดยแพทย์จะไม่ฉีดเกิน 2 ครั้งแน่นอน เพราะอันตรายมาก หากใช้สเตอรอยด์แล้วไม่ได้ผล แพทย์จะใช้วิธีผ่าตัด โดยจะทำการกรีดเส้นเอ็นออกจากเนื้อเยื่อที่หุ้มเอาไว้ เพราะเนื้อเยื่อที่บีบเส้นเอ็นอยู่นี่แหละคือสาเหตุทำให้คุณแม่และคนทั่วไปเจ็บปวด ซึ่งผ่าตัดแล้วอาจจะเข้าเฝือกเพื่อรักษาอาการดังกล่าว ประมาณ 7 – 10 วันและหมั่นตรวจอาการทุกสองสัปดาห์

 

อาการปวดข้อมือของคนท้อง เกิดจากอะไร แม่ท้องปวดข้อมือภัยร้ายใกล้ตัว

 

วิธีบริหารข้อมือ เพื่อลดอาการเสี่ยงต่อโรคเดอเกอร์แวง

ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ท้อง หรือผู้หญิงที่ต้องเผชิญกับโรคออฟฟิศซินโดรม รวมไปนึกคนที่ชอบเล่นโทรศัพท์ทั้งหลาย แบ่งเวลามาบริหารข้อมือ เพื่อลดความเสี่ยงอาการเอ็นข้อมืออักเสบของโรคเดอเกอร์แวง กันค่ะ

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
  1. ตั้งมือขึ้น เอาปลายนิ้วโป้งและปลายนิ้วก้อย แตะเข้าหากันแล้วนับ 1 ถึง 5 ในใจ คลายออก แล้วทำใหม่ 10 ครั้ง (ปลายนิ้วแตะปลายนิ้ว ไม่ใช่การไขว้ชูสามนิ้วนะคะ จะช่วยยืดข้อมือ)
  2. บริหารข้อมือง่าย ๆ โดยการงอฝ่ามือลง นับ 1 ถึง 5 ในใจแล้วคลายออก ทำอย่างนี้ประมาณ 10 ครั้ง ทั้งข้อมือซ้ายและข้อมือขวา (คล้ายการวอร์มร่างกาย ข้อต่อก่อนออกกำลังกายค่ะ)
  3. ยื่นมือไปตรงหน้า หงายมือออก แล้วค่อย ๆ กำมือ จากนั้นกระดกข้อมือขึ้น พยายามดึงกำปั้นเข้าหาตัวเบา ๆ ทำค้างไว้ 5 วินาที แล้วหงายกำปั้น แต่ไม่คลายมือนะคะ ทำแบบนี้ 10 ครั้ง
  4. ต่อมา วิธีนี้ง่ายมาก เพียงยื่นมือไปตรงหน้าในลักษณะคว่ำมือ จากนั้นให้กระดกข้อมือขึ้น-ลง เป็นจังหวะ 10 ครั้งต่อ 1 เซต ทำ 10 เซต
  5. วิธีนี้ให้ยื่นมือไปด้านหน้า คว่ำหรือหงายก็ได้ค่ะ แล้วเอียงข้อมือซ้าย-ขวา จำนวน 10 ครั้งเป็นจังหวะ นับเป็น 1 เซต ทำ 10 เซต
  6. หาลูกบอลยางถนัดมือสัก 1 ลูก ซึ่งมีขายทั่วไป นำมาบริการหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นโดยการบีบแล้วคลาย เราสามารถทำได้เรื่อย ๆ เวลาว่าง ดูซีรีส์ไป บีบไปก็ได้ค่ะ
  7. ท่านี้ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ แต่อาศัยการเกร็งนิ้วทั้ง 5 โดยการที่เรากำ และ คลายนิ้วให้กว้างที่สุด กาง-หุบ เป็นจังหวะช้า ๆ แต่ออกแรงที่นิ้วทุกนิ้วทำ 10 ครั้งต่อ 1 เซต ทำวันละ 10 เซตค่ะ

 

ไม่ว่าจะเป็นแม่ท้องปวดข้อมือ คนทั่วไปที่กำลังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ออาการดังกล่าว ทั้งจากการทำงานและติดโซเชียลฯ มาก ๆ หากเริ่มรู้ว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้ลดการใช้งานข้อมือลง ถ้าเป็นมาก ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ รักษาตามอาการ ไม่ว่าจะเป็น การกินยา การทายา โดยแพทย์จะนัดดูอาการว่าดีขึ้นหรือไม่ หากไม่ดีขึ้นก็ต้องผ่าตัด รวมไปถึงคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรหากเจอกับอาการนี้ ต้องไปหาหมอเท่านั้น ห้ามซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด เพราะยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบหลายชนิดอาจส่งผลกระทบต่อน้ำนมแม่ได้ค่ะ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แคลเซียมคนท้อง แหล่งแคลเซียมสำหรับคนท้อง มีอะไรบ้าง? บำรุงอย่างไรดี?

7 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องการกินของคนท้อง ไม่อยากพลาดต้องอ่าน !

วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการปวดข้อมือของคนท้อง ได้ที่นี่!

อาการปวดข้อมือของคนท้อง เกิดจากอะไรคะ แบบนี้อันตรายไหมคะ

ที่มา :  1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อาการปวดข้อมือของคนท้อง เกิดจากอะไร? แม่ท้องปวดข้อมืออันตรายหรือไม่?
แชร์ :
  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ