X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !

บทความ 5 นาที
วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !

ช่วงตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่แล้ว ว่าแม่จะต้องแบ่งแคลเซียมในร่างกายไปให้เด็กในครรภ์ด้วย ฉะนั้น แคลเซียมในร่างกายของคุณแม่ ก็คงมีน้อยลง และอาจทำให้กระดูกของคุณแม่อ่อนแอขึ้น จนเสี่ยงต่อการแตกหัก จะมีวิธีไหนบ้าง ที่ช่วยป้องกันไม่ให้คุณแม่หกล้ม กระดูกหัก หรือบาดเจ็บได้ง่ายในช่วงที่ตั้งครรภ์ เรามาดูไปพร้อม ๆ กัน

 

วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !

วิธีช่วยลดความเสี่ยง ไม่ให้กระดูกหักง่ายระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อตั้งครรภ์อยู่ คุณแม่ควรระมัดระวัง และใส่ใจตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจนหกล้ม กระดูกหัก หรือบาดเจ็บรุนแรง ซึ่งสามารถดูแลตัวเองง่าย ๆ ทำได้ด้วย 9 วิธี ดังนี้

 

1. ออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เพศไหน ก็ออกกำลังกายได้ตลอด แม้กระทั่งคนท้องเอง แต่ในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะไม่สามารถเล่นกีฬาที่ต้องมีการเคลื่อนไหวได้เยอะ ๆ แต่ก็ให้ลองลุกขึ้นมาเดินในบ้าน รำมวยไทย ขยับแขนขา ลองยกเวท หรือดัมเบลเบา ๆ เพื่อให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้

 

2. รับประทานวิตามินดี และแคลเซียม

แน่นอนว่าการรับประทานอาหารเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะช่วยให้คุณแม่ได้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งอาหารที่ควรรับประทานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ได้แก่ เนื้อปลาซาร์ดีน บรอกโคลี นมที่มีไขมันต่ำ และโยเกิร์ต

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องลื่นล้ม ล้มในห้องน้ำ ตกบันได หกล้ม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม?

 

กระดูกหัก

 

3. ดูผลข้างเคียงของยาที่จะรับประทาน

ยาบางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หากประทานเข้าไปอาจทำให้หกล้มหรือเดินเซได้ คุณแม่ควรศึกษาผลกระทบหรือผลข้างเคียงของยา ก่อนที่จะกินยาทุกชนิด และควรปรึกษาหมอก่อนทุกครั้งที่จะรับประทานยา เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการรับประทานที่ถูกต้องและปลอดภัย

 

 4. อยู่ให้ห่างจากบุหรี่ และแอลกอฮอล์

ควันบุหรี่และแอลกอฮอล์เป็นสิ่งอันตรายต่อกระดูกของคนท้อง แถมกลิ่นบุหรี่ก็ยังทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดและทำให้แม่ครรภ์เป็นพิษได้ด้วย ดังนั้น คุณแม่ที่ท้องไม่ควรดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ หรืออยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ หรือสูบบุหรี่เองโดยเด็ดขาด

 

5.  อย่าปล่อยให้สายตาของตัวเองพร่ามัว

หากสายตาสั้นหรือสายตายาว ให้หาแว่นสายตามาใส่เพื่อให้ตัวเองมองเห็นได้ชัด หากสายตาพร่ามัว มองอะไรไม่ค่อยเห็น อาจทำให้หกล้มอย่างรุนแรงเมื่อกำลังเดินอยู่ได้ จนอาจทำให้กระดูกหักหรือเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง

 

 6. ตรวจดูของใช้ในบ้าน

 

กระดูกหัก

 

ของใช้ในบ้านบางอย่าง ทำให้คุณแม่หกล้มได้ง่าย เช่น พรมเช็ดเท้าในห้องน้ำ พรมตามห้องรับแขก สายไฟที่อยู่ตามพื้นบ้าน เป็นต้น หากมีสิ่งของเหล่านี้อยู่ในบ้าน อาจจะต้องเก็บให้พ้นจากทางเดินของคุณแม่ก่อนไปในช่วงนี้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิด แต่หากยังอยากใช้พรมอยู่ ให้เปลี่ยนมาใช้พรมทำจากยาง แทนพรมที่ทำจากผ้า ทั้งนี้ คุณแม่ควรรักษาความสะอาดบ้านอยู่เสมอ ไม่ให้ห้องรกเกะกะ หรือมีของวางอยู่ตามพื้นเยอะเกินไป เพราะสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามพื้นบ้าน ก็อาจทำให้สะดุดหรือหกล้มได้

 

7. สวมใส่รองเท้าที่ไม่ลื่น

รองเท้าบางชนิดใส่แล้วลื่นได้ง่าย โดยเฉพาะรองเท้าใส่ในบ้าน หรือรองเท้าที่มีดอกยางน้อย ซึ่งช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ไม่ควรสวมใส่รองเท้าเหล่านี้ เพื่อป้องกันการหกล้ม หรือข้อเท้าพลิก รวมทั้งไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง เพื่อไม่ให้เดินหรือยืนไม่ถูกท่า

 

8. ไม่เดินในที่มืด

เมื่อต้องตื่นไปเข้าห้องน้ำ หรือลงบันไดบ้านในตอนกลางคืน ควรเปิดไฟให้สว่างเพื่อให้มองเห็นทางเดินชัด หรือจะเปิดไฟอ่อน ๆ ไว้ในที่ใดที่หนึ่งของบ้านในตอนกลางคืน เพื่อให้มองเห็นทางเดิน นอกจากนี้ หากเตียงนอนอยู่ไกลจากสวิตช์ไฟ คุณแม่ก็ควรพกไฟฉายไว้ใกล้ ๆ ตัวอยู่เสมอ โดยอาจจะวางไว้ที่หัวเตียง หรือโต๊ะข้างเตียงก็ได้

 

9. ยืนอาบน้ำแทน

แม้ว่าคุณแม่จะอยากนั่งอาบน้ำในอ่างสบาย ๆ แต่นั่นก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในช่วงที่ตั้งครรภ์ เพราะคุณแม่อาจล้มได้ในขณะที่พยายามลุกขึ้นมาจากอ่างอาบน้ำ หากเป็นไปได้ ให้ยืนอาบน้ำจะดีที่สุดนะคะ

นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว อาจจะมีวิธีอื่น ๆ อีกที่ช่วยลดความเสี่ยง และทำให้แม่ ๆ ไม่กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งคุณแม่สามารถขอเข้ารับคำปรึกษาได้กับคุณหมอเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้รู้ ว่าจะดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในช่วงที่ตั้งครรภ์ และหากเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกอยู่แล้ว ก็ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้กระดูกหักด้วย

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

 

กระดูกหัก สังเกตได้ยังไงบ้าง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือหกล้ม คุณแม่สามารถเฝ้าสังเกตตัวเองได้ ว่ามีอาการต่อไปนี้หรือไม่

  • อวัยวะดูผิดรูป ซึ่งอาจเกิดจากการที่กระดูกหักจนทิ่มออกมา
  • ปวดบริเวณที่ได้รับอุบัติเหตุ กดแล้วรู้สึกเจ็บ
  • บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บปูดบวม
  • ได้ยินเสียงกระดูกเคลื่อน

 

อาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของปัญหากระดูกหัก หากพบว่าตัวเองหกล้มและมีอาการดังกล่าว คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์ทันที แต่หากไม่ได้มีอาการดังกล่าว แต่ก็สงสัยและกังวลว่าตัวเองอาจกระดูกหัก ก็ควรเข้าพบแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อเข้ารับการตรวจเช็กร่างกาย และรักษาได้ทันท่วงทีหากกระดูกเกิดความเสียหาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก

 

วิธีระมัดระวังเมื่อต้องใช้ชีวิตนอกบ้าน

 

กระดูกหัก

 

คุณแม่จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากเราต้องออกไปข้างนอกบ่อย ๆ ก็ควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้หกล้มจนกระดูกหักหรือเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง

  • ค่อย ๆ เดินไม่ต้องวิ่ง หรือรีบเดิน เพราะอาจทำให้สะดุดเท้าตัวเองจนหกล้ม
  • หมั่นสำรวจและมองทางเดิน ว่ามีหลุมบ่อ หรือพื้นผิวขรุขระอยู่หรือไม่
  • ไม่เดินบนพรม เพราะอาจทำให้ลื่นล้มได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงการเดินตามทางที่มีสิ่งของระเกะระกะ หรือคนพลุกพล่าน
  • เมื่อต้องขึ้นลงบันได ควรจับราวบันไดทุกครั้ง และค่อย ๆ เดินอย่างช้า ๆ

 

มาฟังคุณหมอพูดกัน! แม่ท้องห้ามทำอะไรบ้าง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องกระดูก และวิธีดูแลตัวเองไม่ให้เสี่ยง กระดูกหัก ขณะตั้งครรภ์ ต้องจำไว้เลยว่าแม้ว่าคุณแม่จะสุขภาพแข็งแรงดีอยู่แล้ว แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากเราพึงระมัดระวัง และใช้ชีวิตทุกย่างก้าวอย่างมีสติ ก็จะช่วยให้เราอุ้มท้องลูกน้อยได้อย่างปลอดภัย แถมตัวเราเองยังปลอดภัยและไม่บาดเจ็บอีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สิ่งห้ามทำสำหรับการออกกำลังกาย 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 7

อาหารแคลเซียมสูง ที่กรมการแพทย์แนะนำ คนท้องยิ่งต้องกิน ห้ามขาดแคลเซียม บำรุงกระดูก ฟัน

อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้อง อาหารเสริมสำหรับแม่ท้องเพิ่มแคลเซียม

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !
แชร์ :
  • การตั้งครรภ์ : รวมเคล็ดลับและความรู้เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ

    การตั้งครรภ์ : รวมเคล็ดลับและความรู้เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ

  • 3 วิธีเลี่ยงไม่ให้ต้องผ่าคลอด

    3 วิธีเลี่ยงไม่ให้ต้องผ่าคลอด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การตั้งครรภ์ : รวมเคล็ดลับและความรู้เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ

    การตั้งครรภ์ : รวมเคล็ดลับและความรู้เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ

  • 3 วิธีเลี่ยงไม่ให้ต้องผ่าคลอด

    3 วิธีเลี่ยงไม่ให้ต้องผ่าคลอด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ