ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์
สำหรับผู้หญิงเราแล้ว ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์ ที่ถูกผลิตออกมา จากต่อมไร้ท่อของแต่ละคน อาจแตกต่างกันไป ตามสภาวะร่างกาย แต่ละคนก็มีปริมาณฮอร์โมน ที่ไม่คงที่ในแต่ละวัน เช่นเดียวกันกับช่วงเวลาขณะตั้งครรภ์ ที่ฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ต่อสภาวะร่างกาย ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
หลังการปฏิสนธิ เซลล์น้อย ๆ ที่กำลังพัฒนาขึ้นรูปร่าง เป็นทารกน้อย ในครรภ์คุณแม่ เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างฮอร์โมน hCG หรือที่ย่อมาจาก human chorionic gonadotropin ซึ่งอุปกรณ์ตรวจสอบการตั้งครรภ์ โดยทดสอบผ่านปัสสาวะ สามารถตรวจพบฮอร์โมนชนิดนี้ ได้ภายหลังจากวันที่ประจำเดือนขาดไปวันแรก และ หลังจากนั้นจะมีการสร้างเพิ่มขึ้นในทุก 48 ชั่วโมง โดยในช่วง 8 – 10 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ จะมีการสร้างฮอร์โมน hCG นี้ในระดับเร่งสปีดและค่อย ๆ ลดลงหลังจากสัปดาห์ที่ 10 จนถึงกำหนดคลอด
hCG เป็นฮอร์โมนสำคัญ ที่ควบคุมให้ร่างกาย เริ่มสร้างรก เพื่อเป็นที่ห่อหุ้มให้กับทารกน้อยภายในครรภ์ – ทำหน้าที่ต่อเนื่อง ระหว่างที่ท้องอยู่ ด้วยการส่งสัญญาณให้รังไข่ทำงาน และสร้างฮอร์โมนตัวอื่น ๆ เสริมขึ้นมาเพื่อเป็น ประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ รวมถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน – มีผลในการช่วยปรับสภาพร่างกายของคนท้อง
โปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนิดนี้ ร่างกายของคุณแม่จะสามารถผลิตขึ้นมาเอง โดยจะทำหน้าที่รับไม้ต่อ จากฮอร์โมน hCG ในระยะตั้งครรภ์สัปดาห์ตัั้งแต่ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยฮอโมนประเภทนี้ จะช่วยปรับสภาวะที่เหมาะสม สำหรับรองรับการเจริญเติบโตของทารกที่อยู่ภายในครรภ์ ป้องกันการบีบตัวของมดลูก ในสถานะที่แปลกใหม่ของร่างกาย ที่มีทารกอยู่ในครรภ์คุณแม่ และช่วยประคองระยะตั้งครรภ์ไปอย่างช้า ๆ จนถึงราวสัปดาห์ที่ 32
เอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ที่จะพบอยู่แล้วในรังไข่ และ จะถูกสร้างเพิ่มมากขึ้น ตลอดระยะเวลา ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ และจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น โดยหน้าที่ของเอสโตรเจน เริ่มต้นตั้งแต่ การกระตุ้นให้ไข่ตก จนถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เมื่อเกิดการปฏิสนธิ อาทิ การขยายตัวของมดลูก เพื่อรองรับทารกที่เติบโตขึ้นทุกวัน และเมื่อใกล้คลอด เอสโตรเจนจะทำหน้าที่อย่างแข็งขันเพื่อให้มีเลือดมาเลี้ยงที่มดลูกเพิ่มขึ้น
ปิดท้าย ที่ฮอร์โมนตัวสำคัญ Human Placenta Lactrogen ( HPL ) เป็นฮอร์โมน ที่สัมพันธ์กับสภาวะการเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งพบว่า เกิดขึ้นได้ประมาณ 1 – 14% ฮอร์โมน HPL ชนิดนี้ จะเริ่มสร้าง ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ประมาณสัปดาห์ที่ 12 โดยมีหน้าที่ช่วยในการสลายไขมัน เพื่อให้เลือดของแม่ และ ทารกมีกรดไขมันสูงขึ้น ยับยั้งการนำกลูโคส เข้าสู่เซลล์แม่ ที่ทำให้ร่างกาย ต้องหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น และ ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส จากสารอาหารอื่น ทำให้สารอาหารประเภทโปรตีน และ กลูโคส ผ่านไปยังทารกมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีส่วนกระตุ้น ให้มีการเปลี่ยนแปลง ของเต้านม เพื่อเตรียมในการผลิตน้ำนมมากยิ่งขึ้นด้วย
ในช่วงเวลาตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เยอะแยะ มากมาย ขอให้คุณแม่มือใหม่ ค่อย ๆ ศึกษาและปรับวิธีการดำเนินชีวิต ให้สอดคล้องกับระยะครรภ์ เพื่อสุขภาพที่ดี ของคุณแม่ และ ลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลกนะคะ
Each of these hormones throughout pregnancy.
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ ของ แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการ ทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอด ที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุด ในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : www.mahidol.ac.th
บทความ อื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาการตั้งครรภ์ ของคุณแม่แต่ละสัปดาห์ มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง
การจำกัดปริมาณน้ำตาลในอาหาร สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
คำถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ที่ต้องถามแพทย์หากคุณต้องการที่จะตั้งครรภ์เร็ว ๆ นี้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!