X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำหนักควรจะขึ้นเท่าไหร่ช่วง "ตั้งครรภ์"

บทความ 5 นาที
น้ำหนักควรจะขึ้นเท่าไหร่ช่วง "ตั้งครรภ์"

น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เท่าใด เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานและความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่สิ่งที่คุณแม่ทั้งหลายสงสัยกันมากกว่าก็คือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากไหนบ้าง

ผู้หญิงน้ำหนักควรขึ้นเท่าไหร่ช่วงตั้งครรภ์

ผู้หญิงน้ำหนักควรขึ้นเท่าไหร่ช่วงตั้งครรภ์

“ลูกหนัก 3 กก. แต่ฉันน้ำหนักขึ้นมาถึง 12 กก. น้ำหนักที่เกินมาจากไหน”

“ตอนนี้ฉันท้อง 5 เดือนและน้ำหนักขึ้นมา 3 กก. กว่า ๆ คุณหมอก็ไม่เห็นว่าอะไร แต่พี่สะใภ้ของฉันที่ตอนนี้ท้อง 8 เดือน เธอน้ำหนักขึ้นตั้งเกือบ 10 กก. ทำไมมันถึงต่างกันขนาดนี้”

จริง ๆ แล้วน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าใด

นั่นเป็นคำถามที่ดี แต่คำตอบที่ถูกต้องนั้นมีมากกว่าคำตอบเดียว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับ

1) คุณ “ตั้งครรภ์” ลูกคนเดียวหรือแฝด

2) น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณ

เมื่อคุณได้คำนวณค่า BMI แล้ว ให้ใช้ชาร์ทต่อไปนี้เป็นข้อมูลในการตัดสินว่าน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นระหว่าง ตั้งครรภ์ คือเท่าใด

ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.34-15.87 กก.

ค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.07-18.14 กก.

ค่า BMI ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 6.8-11.34 กก.

ค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 4.99-9.07 กก.

แล้วน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากไหนกัน

น้ำหนักต่อไปนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น ไม่มีคุณแม่คนไหนที่จะมีน้ำหนักตรงเป๊ะตามที่ระบุไว้ ดังนั้น ข้อมูลนี้จึงเป็นภาพรวมให้คุณเข้าใจ แต่ไม่ได้เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เที่ยงตรงแม่นยำ

เด็ก: 3.15-3.62 กก.

รก: 0.45-0.90 กก.

น้ำคร่ำ: 0.90 กก.

มดลูก: 0.90 กก.

เนื้อเยื่อเต้านมที่พัฒนาระหว่างตั้งครรภ์: 0.90 กก.

ปริมาตรเลือดที่เพิ่มระหว่างตั้งครรภ์: 1.81 กก.

ของเหลวในเนื้อเยื่อที่พัฒนาระหว่าง ตั้งครรภ์ : 1.81 กก.

ไขมันและสารอาหารที่สะสมระหว่าง ตั้งครรภ์ : 3.17 กก.

น้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส หน้าถัดไป >>>

ฉันมีน้ำหนักเหมาะสมหรือไม่

ช่วง 13-14 สัปดาห์แรกของการ ตั้งครรภ์ คุณส้มโอมีอาการแพ้ท้องอย่างหนัก ทานอะไรก็อาเจียนเกือบหมด เธอจะทานได้แต่ผักสดไม่กี่อย่างและข้าวเท่านั้น ในฐานะที่ตัวเธอเป็นพยาบาลเอง คุณส้มโอจึงเข้าใจว่าทุกอย่างจะดีขึ้น และเธอก็ทราบดีว่าการแพ้ท้อง เป็นปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักขึ้นไม่ถึง 3 กก. ก่อนที่อายุครรภ์จะได้ 6 เดือน ผลอัลตร้าซาวน์พบว่าลูกมีสุขภาพแข็งแรงดีและมีน้ำหนัก0.90 กก. ซึ่งเป็นน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับอายุครรภ์

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ในช่วงการ “ตั้งครรภ์” ระยะที่ 1 น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.45-2.04 กก. ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการแพ้ท้องและ/หรือตัวอ่อนและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ยังมีขนาดเล็กอยู่

ในช่วงการ “ตั้งครรภ์” ระยะที่ 2 และ 3 คุณจะมีน้ำหนักขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 0.45-0.9 กก. ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นช่วง 3-5 สัปดาห์สุดท้ายซึ่งทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 1 ออนซ์หรือ 28.35 กรัม

หมายเหตุ: ข้อมูลนี้อิงตามคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกคนเดียว น้ำหนักสำหรับคุณแม่ที่ ตั้งครรภ์ ลูกแฝดจะมากกว่านี้แต่ไม่ได้เพิ่มเป็นสองเท่า

บทความใกล้เคียง: น้ำหนักของทารกในครรภ์

นิสัยการรับประทานอาหารและเพิ่มน้ำหนักที่ดีระหว่าง ตั้งครรภ์

เมื่อ ตั้งครรภ์ คุณจะต้องรับประทานอาหารและอาหารว่างที่ครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสมโดยรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อและอาหารว่าง 3 ครั้ง ควรได้รับโปรตีนและไขมันจากถั่วและไข่ เนื้อสัตว์ที่รับประทานควรไม่ติดมัน ถ้าเป็นปลาก็จะยิ่งดี แต่ไม่ควรรับประทานปลาทูน่าเกิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์

รับประทานวิตามินสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ ดื่มน้ำมาก ๆ จำกัดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและน้ำตาล เลือกดื่มเฉพาะน้ำผลไม้ที่ทำจากน้ำผลไม้แท้ ๆ หลีกเลี่ยงอาหารขยะ การรับประทานน้ำตาลมากเกินไป รวมถึงการรับประทานอาหารเสริมสมุนไพรต่าง ๆ และยาที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง

การเดิน ว่ายน้ำแบบเบา ๆ โยนโบว์ลิง โยคะและพิลาทีสเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องปรึกษาคุณหมอก่อนออกกำลังไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม

การดูแลตัวเองและลูกน้อยระหว่างตั้งครรภ์ช่วยป้องกันอาการปวดขาและหลัง เส้นเลือดขอด เบาหวานขณะ ตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งความจำเป็นในการผ่าคลอด

ดังนั้น… ขอให้คุณแม่ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ใช้ชีวิตอย่างฉลาดและสนุกสนานกับช่วงเวลาสุดพิเศษของคุณ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Thailand Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • น้ำหนักควรจะขึ้นเท่าไหร่ช่วง "ตั้งครรภ์"
แชร์ :
  • ความสำคัญของ น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักก่อนท้อง สำคัญยังไง?

    ความสำคัญของ น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักก่อนท้อง สำคัญยังไง?

  • น้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มเท่าไรดี ?

    น้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มเท่าไรดี ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • ความสำคัญของ น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักก่อนท้อง สำคัญยังไง?

    ความสำคัญของ น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักก่อนท้อง สำคัญยังไง?

  • น้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มเท่าไรดี ?

    น้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มเท่าไรดี ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ