X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัว สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

บทความ 5 นาที
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัว สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่หลายคนมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ที่จริงแล้ว โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นภัยเงียบที่ต้องระวัง เพราะเป็นแล้วอาจถึงตายได้หากไม่ระวัง มาทำความรู้จักกับ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และห่างไกลโรคนี้กันค่ะ

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากอะไร?

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease : CAD) เป็นโรคที่เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน ที่อยู่ในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอล และสารต่าง ๆ ในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน และตีบ จนทำให้กระแสเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการหายใจไม่ออก หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หรือ อาจส่งผลรุนแรง ถึงขั้นหัวใจวายได้ เพราะเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ประวัติส่วนตัว

  • ประวัติครอบครัว หากครอบครัวมีประวัติการเป็นโรค ไม่ว่าจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็มีโอกาสที่เราจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้เช่นกัน
  • อายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ก็อาจเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  • เพศ ผู้ชายมีโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มากกว่าผู้หญิงทั่วไป ยกเว้นแต่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จะมีโอกาสเป็นโรคเท่า ๆ กับผู้ชาย

 

2. ปัจจัยด้านสุขภาพ

  • คอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่คอเลสเตอรอลในเลือด อาจมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  • ความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูง จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย มีความหนาตัวขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • น้ำตาลในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้หลอดเลือดในร่างกายเกิดการเสื่อมสภาพ ทั้งหลอดเลือดเล็ก และใหญ่ ซึ่งทำให้เซลล์เยื่อบุภายในทำงานผิดปกติ และทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายจึงเสื่อม และถูกทำลายลง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
  • ไขมันในเลือดผิดปกติ ระดับไขมันในเลือด มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน

อ่านเพิ่มเติม โรคไขมันในเลือดสูง โรคร้ายที่เป็นได้ไม่ทันตั้งตัว ต้นเหตุของหลายโรคร้าย!

 

3. ปัจจัยด้านพฤติกรรม

  • น้ำหนักเกินเกณฑ์ หากมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน และมีดัชนีมวลกายที่มากขึ้น อาจเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  • ความเครียด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยเฉพาะภาวะความเครียดเรื้อรัง รวมถึงภาวะด้านอารมณ์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
  • ขาดการออกกำลังกาย การขาดการออกกำลังกาย จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าปกติถึง 1.5 เท่า
  • การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือ ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด มากกว่าคนปกติทั่วไปถึง 2.4 เท่า
  • การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ปัจจุบันคนเรารับประทานอาหารที่มีรสหวาน อาหารที่มีไขมัน และแคลอรีสูง หากรับประทานผัก และผลไม้ไม่เพียงพอ ทำให้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้ร่างกายไม่สามารถส่งกระแสเลือด และออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้ ซึ่งทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • เจ็บหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอก เป็นสัญญาณหนึ่งของการเกิดโรค ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอก บริเวณกลางอก หรือ ด้านซ้ายของหน้าอก ไปจนถึงแขน คอ กราม ใบหน้า หรือ ช่องท้อง โดยสาเหตุมักเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงมากขึ้น เช่น การออกกำลังกาย ความเครียด เป็นต้น

 

  • หายใจติดขัด

ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจติดขัด เหนื่อย หอบ อาจเกิดจากการได้รับเลือดไม่เพียงพอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง

 

  • หัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อหัวใจเกิดอาการอ่อนแรง จนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงยังส่วนต่าง ๆ ได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการหายใจติดขัด จากภาวะน้ำท่วมปอด หากมีอาการน้ำท่วมปอดรุนแรง อาจอันตรายถึงชีวิตของผู้ป่วยได้

 

  • หัวใจวาย

ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอก และปวดบริเวณไหล่หรือแขน ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย และอันตรายถึงชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะความดันตก หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจทำให้เกิดอาการหมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

 

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

1. ลดความเสี่ยงการเกิดโรค

แพทย์จะให้คำแนะนำในการปรับ เปลี่ยน พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น เลิกสูบบุหรี่ คุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดความเครียด เป็นต้น

  • งดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักที่เกินเกณฑ์
  • ควบคุมความเครียด
  • หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

2. การรักษาด้วยการใช้ยา

หากอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยา ซึ่งมีหน้าที่ลดความดันเลือดหรือขยายหลอดเลือด เพื่อให้การไหลเวียนและสูบฉีดเลือดได้ ยาที่ใช้ มีดังนี้

  • กลุ่มยาคอเลสเตอรอล ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด โดยเฉพาะไขมันร้าย ซึ่งจะจับตัวสะสมในหลอดเลือดหัวใจ
  • ยากลุ่มเบต้าล็อกเกอร์ ใช้รักษาความดันโลหิตสูง และช่วยป้องกันอาการเจ็บหน้าอก โดยการปิดกั้นฮอร์โมนในร่างกาย จะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดความดันโลหิต แถมยังช่วยฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด ลดความเสี่ยงภาวะหัวใจวาย
  • ยาขยายหลอดเลือด ทั้งในรูปแบบเม็ด สเปรย์ หรือ แผ่นติดผิวหนัง ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิต และอาการปวดบริเวณหัวใจ
  • ยาปิดกั้นแคลเซียม ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความดันโลหิต โดยการสร้างความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดกว้างขึ้น แต่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว
  • ยาขับปัสสาวะ ช่วยขับน้ำ และ เกลือแร่ส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านการปัสสาวะ
  • ยาต้านเกล็ดเลือด
  • ยาลดความดันโลหิต และ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • เจ็บหน้าอก เพราะการอุดตันของหลอดเลือดทำให้เลือดไม่ไปสูบฉีดเลือดส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมที่ต้องใช้งานร่างกายหนัก จึงทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
  • หัวใจวาย คราบไขมันและลิ่มเลือด ที่สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน และทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจ และส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้
  • หัวใจล้มเหลว หากผู้ป่วยเกิดภาวะที่หัวใจวายจากการขาดเลือด หัวใจจะไม่สามารถทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทำให้เกิดน้ำท่วมปอด หายใจติดขัด และหัวใจล้มเหลวในที่สุด
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะทำงานผิดปกติ และทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงผิดปกติ เร็วขึ้นผิดปกติ หรือ สั่นพริ้ว ได้ ความผิดปกตินี้อาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที เพราะหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  3. งดการสูบบุหรี่
  4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. พยายามอย่าให้เครียดจนเกินไป
  6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก ๆ ปี
  7. ลดอาหารที่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูง
  8. ลดอาหารที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่ใช่เรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรา ๆ ควรระวัง ดังนั้นใครที่กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง หรือ มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ควรรีบลด และ เลิกพฤติกรรมดังกล่าว และหมั่นดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นตามมา และสำหรับใครที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรค ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพในทุก ๆ ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรค

 

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

ที่มาข้อมูล : 1 2

บทความที่น่าสนใจ :

โรคหัวใจ เกิดจากสาเหตุอะไร โรคหัวใจมีอาการอะไรบ้าง โรคหัวใจมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานคืออะไร?

โรคลิ้นหัวใจตีบ ในเด็ก หากเข้าใจ ไม่ยากเกินรับมือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัว สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน
แชร์ :
  • อาการ กรดไหลย้อนในทารก อันตรายหรือไม่ ? มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

    อาการ กรดไหลย้อนในทารก อันตรายหรือไม่ ? มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

  • สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!

    สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!

  • เบาะรองหลัง ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

    เบาะรองหลัง ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

  • อาการ กรดไหลย้อนในทารก อันตรายหรือไม่ ? มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

    อาการ กรดไหลย้อนในทารก อันตรายหรือไม่ ? มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

  • สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!

    สาเหตุอาการปวดหลัง เกิดจากอะไร? ปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบรักษา!

  • เบาะรองหลัง ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

    เบาะรองหลัง ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่? ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ