X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคไขมันในเลือดสูง โรคร้ายที่เป็นได้ไม่ทันตั้งตัว ต้นเหตุของหลายโรคร้าย!

บทความ 5 นาที
โรคไขมันในเลือดสูง โรคร้ายที่เป็นได้ไม่ทันตั้งตัว ต้นเหตุของหลายโรคร้าย!

โรคไขมันในเลือดสูง แม้ไม่ได้ส่งผลอันตรายโดยตรงต่อร่างกาย แต่ก็ก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อน และโรคร้ายแรงต่าง ๆ ตามมา ป้องกันเอาไว้ก่อน ดีกว่าแก้!

โรคไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือด ไขมันในเส้นเลือด ใครที่ชอบรับประทาน อาหารมัน อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ต้องมาทางนี้! เพราะภัยร้ายที่กำลังรอคุณอยู่ ก็คือ โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคนี้ ไม่ได้เป็นได้แค่เฉพาะคนอ้วนเท่านั้น อย่าเข้าใจผิดกันล่ะ เราไปทำความรู้จักกับเจ้า โรคไขมันในเลือดสูง กัน ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีดูแลตนเอง พร้อมป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อย่างไร

 

ไขมันในเลือดสูง คืออะไร?

ไขมันในเลือดสูง ไขมันในเส้นเลือด เป็นสภาวะที่ร่างกายของเรา มีไขมันอยู่ในเลือดมากเกินกว่าปกติ  ไขมันที่สูงอาจเป็น คอเลสเตอรอล หรือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นปัจจัยใจ ที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ หลอดเลือด และเส้นเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคไขมันในเลือดสูง

 

ชนิดของไขมันในเลือด

  • คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

ไขมันในเส้นเลือด เกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เช่น อาหารมัน อาหารหวาน เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทะเล และอาหารที่มีรสเค็ม เป็นต้น โดยในผู้ป่วยบางราย อาจมีระดับคอเลสเตอรอลที่สูง จากกรรมพันธุ์ ได้เช่นกัน 

 

  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

ไขมันไตรกลีเซอไรด์ อาจมีระดับที่สูงขึ้นจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์ และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น และอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ได้เช่นกัน

 

โรคไขมันในเลือดสูง เกิดจากอะไร?

สาเหตุของ โรคไขมันในเลือดสูง อาจมาจากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • พฤติกรรมการรับประทาน

การรับประทานอาหาร ที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว หรือ คาร์โบไฮเดรต ที่สูงเกิดไป เช่น อาหารทอด ชีส เนื้อ ขนม วิปครีม ไอศกรีม เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด ไขมันสะสมในเส้นเลือด

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ก็มีส่วนในการเกิด โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เช่น การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่จัด ก็เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน

  • อายุ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ก็มีโอกาสที่จะสูงขึ้นตามอายุไปด้วยเช่นกัน

  • กรรมพันธุ์

โรคไขมันในเลือดสูง ไขมันในเส้นเลือด  สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ ในการเผาผลาญไขมัน ซึ่งจะนำไปสู่โรคหลอดเลือดแข็ง หรือ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ ต่อให้ผู้ป่วยจะมีอายุยังไม่มากก็ตาม

  • โรคประจำตัว

การมีโรคประจำตัว หรือ ปัญหาสุขภาพ มีผลทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคไต เป็นต้น

  • การใช้ยาบางชนิด

การใช้ยาบางชนิด ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูงได้ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

โรคไขมันในเลือดสูง

 

เกณฑ์การวินิจฉัยไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง ในระยะแรกจะไม่มีอาการแสดงออกมา การวินิจฉัยจึงใช้การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาไขมันในเลือด ซึ่งก่อนจะเข้ารับการเก็บตัวอย่างเลือด ผู้ตรวจต้องงดอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ โดยเกณฑ์มีดังนี้

ค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (DHL)
ระดับต่ำ น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูง มากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ค่าคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
ระดับปกติ น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับใกล้เคียงปกติ 100-129 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงเล็กน้อย 130-159 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูง 160-189 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงมาก มากกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ค่าไตรกลีเซอไรด์
ระดับปกติ น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงเล็กน้อย 150-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูง 200-499 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงมาก มากกว่า 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ค่าคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) 
ระดับปกติ น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงเล็กน้อย 200-239 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูง มากกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 

การรักษาไขมันในเลือดสูง

การรักษาไขมันในเลือด จะต้องทำเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลลง ซึ่งอาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิต หรือ อาจต้องใช้ยาควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. การปรับพฤติกรรม

การรักษาไขมันในเลือด ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการรักษาโรค เพราะปัจจัยหลัก ปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค คือ พฤติกรรมผิด ๆ ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยังอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยา ในการลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์สูง เช่น ของทอด เนื้อแดง อาหารแปรรูปต่าง ๆ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยผู้ป่วยควรขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อเป็นการปรับการรักษาร่วมกัน
  • เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ เพื่อช่วยเผาผลาญพลังงาน
  • ลดน้ำหนัก และรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

 

2. การใช้ยา

แพทย์จะทำการจ่ายยา เพื่อช่วยในการลดระดับการผลิตคอเลสเตอรอล หากแพทย์ทำการสั่งจ่ายยา ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่อง เป็นประจำอย่างเคร่งครัดตามคำสั่งของแพทย์ เพื่อรักษาระดับไขมัน ให้อยู่ในระดับปกติ การลดหรือปรับเปลี่ยนยา จำเป็นต้องรอแพทย์เป็นผู้สั่งเท่านั้น

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไขมันในเลือดสูง

ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง จะทำให้ไขมัน ไปสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือดแดง จนเกิดเป็นโรคหลอดเลือดแดงขึ้น ซึ่งจะทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดแดงได้น้อยลง และทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ดังนี้

  1. โรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะหลอดเลือดแดง ที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดดี ไปเลี้ยงร่างกาย ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดการเจ็บหน้าอก และก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  2. หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เมื่อไขมันที่สะสมอยู่ เกิดการแตกออก เกิดเป็นลิ่มเลือดปิดกั้นการไหลเวียน นำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
  3. โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ จากการมีลิ่มเลือดไปอุดตันการไหลเวียนของเลือด ในสมอง

โรคไขมันในเลือดสูง

 

โรคไขมันในเลือดสูงป้องกันได้

เพียงแค่เราหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และใส่ใจการใช้ชีวิตมากขึ้น ก็สามารถหลีกเลี่ยงโอกาสการเป็น โรคไขมันในเลือดสูง ได้ ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยลดความเสี่ยงทั้งต่อโรค และต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรค โดยสามารถทำได้ ด้วยการดูแลสุขภาพตนเองให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อย่างผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เป็นต้น พร้อมทั้งลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของมัน ของทอด และไขมันจากสัตว์ เป็นต้น

 

โรคไขมันในเลือดสูง อาจไม่ได้ส่งผลอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย แต่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มีความอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น เราควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปี ในทุก ๆ ปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงโรคต่าง ๆ นั่นเอง

 

ที่มาข้อมูล: 1 2

บทความที่น่าสนใจ :

โรคไทรอยด์ ใครว่าไทรอยด์ไม่น่ากลัว อันตรายกว่าที่คิด รู้ไว้ปลอดภัยกว่า

โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานคืออะไร?

อาการของโรคไต เป็นแบบไหน โรคไต สาเหตุมาจากอะไร วิธีการรักษาอย่างไร?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคไขมันในเลือดสูง โรคร้ายที่เป็นได้ไม่ทันตั้งตัว ต้นเหตุของหลายโรคร้าย!
แชร์ :
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

    คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • 8 เคล็ดลับ! ดูแลจุดซ่อนเร้นตอนท้อง ต้องดูแลน้องสาวอย่างไร?

    8 เคล็ดลับ! ดูแลจุดซ่อนเร้นตอนท้อง ต้องดูแลน้องสาวอย่างไร?

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

    คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • 8 เคล็ดลับ! ดูแลจุดซ่อนเร้นตอนท้อง ต้องดูแลน้องสาวอย่างไร?

    8 เคล็ดลับ! ดูแลจุดซ่อนเร้นตอนท้อง ต้องดูแลน้องสาวอย่างไร?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ