X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคลิ้นหัวใจตีบ ในเด็ก หากเข้าใจ ไม่ยากเกินรับมือ

บทความ 5 นาที
โรคลิ้นหัวใจตีบ ในเด็ก หากเข้าใจ ไม่ยากเกินรับมือ

เมื่อพูดถึงโรคหัวใจ คนส่วนใหญ่อาจนึกว่าเป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ แต่จริงๆ แล้วโรคลิ้นหัวใจสามารถพบได้ในคนทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ เพศชายและเพศหญิงมีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกัน โดยในแต่ละปีมีเด็กเกิดมาพร้อมกับการป่วยโรคหัวใจราว 8,000 คน และในจำนวนนั้น เป็นโรคลิ้นหัวใจตีบ

โรคลิ้นหัวใจตีบ

สาเหตุของ โรคลิ้นหัวใจตีบ

โรคลิ้นหัวใจตีบ เป็นหนึ่งในโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด กว่าร้อยละ 90 ของเด็กที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ยังไม่ทราบว่า อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุการเกิดโรค เพราะไม่เกี่ยวข้องกับยีนหรือพันธุกรรม

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อธิบายว่า โรคลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease หรือ Heart valve disease) คือ โรคที่เกิดจากลิ้นหัวใจ (Heart valve) ทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการไหลเวียนโลหิต เกิดปัญหาต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งในรายที่รุนแรง จะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว (หัวใจวาย) และเสียชีวิตได้

โรคลิ้นหัวใจตีบ

โรคลิ้นหัวใจตีบ (Stenosis) มักพบที่

  • ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย ซึ่งมักมีสาเหตุเกิดจากโรคไข้รูมาติค
  • ลิ้นหัวใจซึ่งกั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับท่อเลือดแดงเอออร์ตา (Aortic valve) ซึ่งมักเกิดจากโรคไข้รูมาติค และในผู้สูงอายุ (จากมีภาวะท่อเลือดแดงเอออร์ตาแข็ง และ/หรือมีหินปูนไปจับที่ลิ้นหัวใจนี้)

โดยช่องเปิดของลิ้นจะตีบแคบลง เนื่องจากลิ้นหัวใจหนาขึ้น แข็ง ไม่ยืดหยุ่น ดังนั้นเมื่อหัวใจบีบตัวเลือดจึงไหลออกไม่หมด เนื่องจากช่องทางไหลออกตีบแคบ จึงส่งผลให้หัวใจต้องออกแรงบีบตัวเพิ่มขึ้น เพื่อคงการไหลเวียนโลหิตให้เป็นปกติ จึงส่งผลให้เกิดภาวะเลือดคั่งในหัวใจ ภาวะหัวใจโต และภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด

การสังเกตอาการโรคหัวใจในเด็ก

รศ.นพ. สัมพันธ์ พรวิลาวัณย์ ศัลยแพทย์หัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้กล่าวถึงการวินิจฉัยโรคหัวใจในเด็กไว้ว่า โรคหัวใจในเด็กสังเกตอาการได้ง่ายแม้ว่าเด็กจะบอกไม่ได้ว่าเหนื่อย ใจสั่นหรือเจ็บหน้าอก แพทย์จะดูอาการของเด็กซึ่งมีอยู่เพียงสองอาการเท่านั้น คือ หัวใจวายกับอาการเขียว ถ้าเด็กเขียวก็สังเกตได้ง่าย แต่ถ้าหัวใจวาย หลายครั้งไม่อาจสังเกตได้ทันที พ่อแม่ของเด็กแทบจะไม่รู้เลย เพราะหัวใจวายในเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างสิ้นเชิง

โรคหัวใจ

ภาวะหัวใจวายในผู้ใหญ่ จะสังเกตได้จากอาการขาบวม หน้าบวมหอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย แต่ภาวะหัวใจวายในเด็กไม่มีอาการดังกล่าว ดังนั้น ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ ดังนี้

  • เลี้ยงไม่โต หมายความว่า สัดส่วนระหว่างส่วนสูง น้ำหนักตัว และอายุไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าต้องมีอะไรผิดปกติ
  • เมื่อกินนมต้องหยุดเป็นพัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูดนมแม่หรือนมจากขวด เด็กทั่วไปจะดูดรวดเดียวหรือพักครั้งเดียวจบ ไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่เด็กที่เป็นโรคหัวใจจะทำไม่ได้ ดูดได้พักเดียวต้องหยุดหอบ แล้วค่อยกลับไปดูดใหม่ กว่าจะอิ่มต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง ตรงนี้สำคัญมากเพราะเป็นอาการที่พ่อแม่มักจะไม่ได้สังเกต และคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น หากเด็กดูด
  • หายใจหอบถี่ หมายความว่าอาการแย่ลง เด็กแรกเกิดอาจหายใจ 40 ครั้งต่อนาที แต่เด็กที่หัวใจวายอาจหายใจเร็วถึง 60 ครั้งต่อนาที แม้ในขณะที่นอนหลับ

โรคลิ้นหัวใจรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?

แพทย์หญิง พวงทอง กล่าวว่า ความรุนแรงของโรคลิ้นหัวใจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความเสียหายของลิ้นหัวใจ การมีความผิดปกติอื่นๆ ของหัวใจร่วมด้วยหรือไม่ (เช่น ของผนังกั้นห้องหัวใจ) โรคหัวใจจากสาเหตุอื่นๆ (เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ) การมีหลอดเลือดแดงแข็ง โรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุ อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม โรคลิ้นหัวใจเป็นโรครุนแรง จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเสมอ เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เพื่อชะลอไม่ให้ลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าที่ควร และเพื่อคงคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ช่วยเหลือดูแลตนเอง และสามารถทำงานได้ อย่างน้อยใกล้เคียงกับภาวะปกติที่สุด

ผลข้างเคียงจากโรคลิ้นหัวใจ คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะมีก้อนเลือดเล็กๆ ที่อาจหลุดไปก่อการอุดตันในหลอดเลือดต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดปอด และหลอดเลือดสมอง

โรคหัวใจ

การรักษาโรคหัวใจในเด็ก

นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า ในอดีตตามตำราแพทย์ชี้ว่า การจะผ่าตัดโรคหัวใจในเด็ก เพื่อความปลอดภัยต้องรอจนกว่าตัวเด็กจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 10-15 กิโลกรัม แต่ปัจจุบัน ศัลยแพทย์หัวใจหลายท่าน สามารถทำการผ่าตัดให้เด็กได้ทุกเมื่อ หากมีข้อบ่งชี้จำเป็นว่า เด็กเกิดมาแล้วมีอาการหัวใจวาย โดยจะมีสัญญาณเตือน เช่น หายใจเร็ว หายใจแล้วหอบ หายใจแล้วจมูกบาน ไม่สามารถดูดนมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง และน้ำหนักตัวไม่ขึ้นตามเกณฑ์

ขณะที่ข้อบ่งชี้อีกข้อคือ กรณีที่เด็กมีอาการตัวเขียวอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม อัตราความเสี่ยงเสียชีวิตจากการผ่าตัดโรคหัวใจในเด็ก กรณีป่วยในกลุ่มไม่ซับซ้อน จะมีความเสี่ยงอยู่ที่ร้อยละ 1-2 ส่วนกลุ่มที่ป่วยแบบซับซ้อน ความเสี่ยงอยู่ที่ร้อยละ 5-10 หัวใจสำคัญของการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจในเด็ก

นอกจากนี้ การรักษาโรคหัวใจต้องรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม และการปล่อยเวลาให้ล่วงเลย อาจเพิ่มความเสียหายไปยังอวัยวะอื่น เช่น ปอด ซึ่งจัดเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานร่วมกับหัวใจ เมื่อหัวใจผิดปกติก็จะส่งผลให้ปอดเสื่อมและเสียไปจนไม่สามารถแก้ไขได้ แม้เข้ารับการผ่าตัดรักษาหัวใจในเวลาต่อมา ก็อาจไม่ได้ผลการรักษาที่ดีพอ

ที่สำคัญคือ เมื่อหมอวินิจฉัยว่าลูกของคุณเป็นโรคหัวใจ อย่าตกใจหรือเสียกำลังใจ เพราะกว่าร้อยละ 99 รักษาได้ หรือทำให้ดีขึ้นได้ ศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจ ให้ความร่วมมือกับแพทย์ โรคหัวใจในเด็กก็ไม่ยากเกินไปที่จะรับมือ

โรคลิ้นหัวใจตีบ

ที่มา https://haamor.com/, dailynews.co.th, https://www.bumrungrad.com/

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เรื่องจริงของแม่ผู้สูญเสียลูกด้วยโรคหัวใจ ถ้ารู้เร็วกว่านี้ แม่คงไม่เสียหนูไป

ตรวจโรคหัวใจทารกแต่เนิ่น ๆ ช่วยรักษาชีวิตได้

โรชเปิดตัว ชุดตรวจแบบ แรพิดเทสต์ (Rapid Test) เพื่อตรวจหาสารภูมิต้านทานต่อเชื้อ ซาร์สซีโอวีทู (SARS-CoV-2) สำหรับการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคลิ้นหัวใจตีบ ในเด็ก หากเข้าใจ ไม่ยากเกินรับมือ
แชร์ :
  • เมื่อลูกชายเป็น โรคลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจหยุดเต้น ได้ทุกเมื่อ

    เมื่อลูกชายเป็น โรคลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจหยุดเต้น ได้ทุกเมื่อ

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เมื่อลูกชายเป็น โรคลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจหยุดเต้น ได้ทุกเมื่อ

    เมื่อลูกชายเป็น โรคลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจหยุดเต้น ได้ทุกเมื่อ

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ