X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาคุมที่กินแล้วอ้วน บวมยาคุม เลือกแบบไหนให้หายห่วงเรื่องน้ำหนัก

บทความ 5 นาที
ยาคุมที่กินแล้วอ้วน บวมยาคุม เลือกแบบไหนให้หายห่วงเรื่องน้ำหนัก

ยาคุมที่กินแล้วอ้วน เป็นยาคุมที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก ส่งผลให้เกิดอาการ “บวมยาคุม” ทำให้มีความอยากอาหารตามมา เป็นภาวะชั่วคราว แต่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการทานอาหารในระยะยาว สาเหตุที่แท้จริงจึงมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว แต่สำหรับผู้ที่ต้องการเลี่ยงอาการบวมยาคุม ก็สามารถเลือกยาคุมที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือยาคุมที่มีฮอร์โมนน้อยได้เช่นกัน

 

ยาคุมกินแล้วมีส่วนทำให้อ้วนจริง

เนื่องจากในยาคุมมี “ฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestins)” และ “ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)” ฮอร์โมนเหล่านี้มีส่วนทำให้ร่างกายกักเก็บเกลือแร่, น้ำ และของเหลวต่าง ๆ ในร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ร่างกายมีอาการที่เราเข้าใจว่า “บวมน้ำ” หรือ “บวมยาคุม” และยังทำให้มีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่จากผลการวิจัยจาก American Journal of Obstetrics and Gynecology โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ฉีดยาคุม มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ โดยอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

 

  • ทานยาคุมช่วงวัยรุ่น : ปกติแล้วยาคุมเป็นหนึ่งในช่องทางหนึ่งที่วัยรุ่นมักใช้กัน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเติบโตไปตามช่วงอายุ อาจทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ผลจากยาคุมแต่อย่างใด
  • ผู้ที่ใช้ยาคุมหลังจากแต่งงาน : คุณผู้หญิงหลายคนอาจมีวิธีดูแลรูปร่างในช่วงก่อนแต่งงาน มากกว่าหลังแต่งงาน และมีการใช้ยาคุมต่อเนื่อง จนอาจคิดไปเองว่า รูปร่างที่เปลี่ยนไปมาจากการใช้ยาคุมได้
  • ทานยาคุมหลังจากคลอดลูกแล้ว : ช่วงระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีการทานอาหารมากขึ้น เพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และลูกน้อย ซึ่งสามารถส่งผลต่อน้ำหนัก มาจนถึงช่วงหลังคลอดได้เช่นกัน

 

แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ เกิดจากสูตรของยาคุมที่แตกต่างกัน นั่นหมายความว่ามีทั้งสูตรที่มีส่วนทำให้ดูอ้วนขึ้น และยาคุมที่ทานแล้วไม่ได้ส่งผลต่อน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยาคุมของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามการที่น้ำหนักขึ้นอาจมีเหตุผลหลักมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลให้เห็นชัดมากกว่า จึงต้องคอยสังเกตในเรื่องนี้ประกอบด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

ยาคุมกินแล้วอ้วน ควรเลือกอย่างไร ?

ยาคุมที่กินแล้วอ้วน ประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestins) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ตามที่กล่าวไป ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อยาคุม อาจต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการบวมยาคุม ซึ่งมีหลักการเลือก ดังนี้

 

  • เลือกยาคุมที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestins) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในปริมาณที่น้อย หรือยาคุมที่มีปริมาณฮอร์โมนต่ำ
  • เลือกยาคุมที่มีส่วนผสมของ “ดรอสไพรีโนน (Drospirenone)” ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอาการบวมยาคุม ทำให้ลดความเสี่ยงลงได้
  • เลือกยาคุมที่ใช้ส่วนผสม “ไซโปรเตอโรน อะซิเตท (Cyproterone acetate)” ซึ่งช่วยลดอาการข้างเคียงในเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น สิวขึ้น หรือหน้ามัน เป็นต้น
  • หากไม่มั่นใจ หรือต้องการตัวเลือกเพิ่มเติม สามารถสอบถามแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มได้ เพื่อให้ทราบไปถึงวิธีการทาน หรือข้อจำกัดอื่น ๆ

 

นอกจากการเลือกยาคุมที่ช่วยลดความเสี่ยงอาการบวมยาคุมแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ก็ยังคงอยู่ นั่นคือการใช้ชีวิตประจำวันที่ขาดการออกกำลังกาย หรือการทานอาหารที่เยอะเกินไป จึงต้องปรับพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนมากขึ้น และเป็นการลดปัจจัยหลักที่ทำให้น้ำหนักขึ้นด้วย

 

การคุมกำเนิดมีหลายวิธี

การเลี่ยงจากผลข้างเคียงจากการทานยาคุม หรือฉีดยาคุม หรือวิธีใด ๆ ก็ตามที่ทำให้ร่างกายรับยาคุม จนมีความเสี่ยง อาจหันไปใช้วิธีอื่น ๆ ที่สามารถคุมกำเนิดได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ถุงยางอนามัยในผู้ชาย หรือผู้หญิง และห่วงอนามัยคุมกำเนิด เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมากนัก ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 วิธี การคุมกำเนิด แบบชั่วคราว แบบถาวร แบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

 

ยาคุมที่กินแล้วอ้วน

 

มีอาการบวมยาคุม น้ำหนักขึ้น ควรทำอย่างไร

หากเกิดอาการบวมยาคุมขึ้น จะเกิดเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น อาการจะหายไปได้เอง แต่ด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อพฤติกรรมของคุณผู้หญิงในระยะยาวได้ เช่น อาการอยากอาหาร ซึ่งทำให้มีพฤติกรรมการทานอาหารที่เปลี่ยนไป ถึงแม้อาการอยากอาหารจะหมดลงไปแล้ว แต่การทานอาหารในปริมาณมาก อาจติดจนเป็นความเคยชินที่แก้ได้ยาก ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีน้ำหนักขึ้นระหว่างทานยาคุม ให้ปฏิบัติตัว ดังนี้

 

  • เปลี่ยนยี่ห้อยาคุมโดยเลี่ยงฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเสี่ยงอาการบวมยาคุม
  • คำนวณการทานอาหารในระหว่างวันให้มีความเหมาะสม ต่อช่วงอายุของตนเอง ไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี่ / วัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่ำ 30 นาที / ครั้ง ให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้ง / สัปดาห์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำง่ายได้อย่างสะดวก 7 – 8 ชั่วโมง

 

ร่างกายที่มีน้ำหนักมากขึ้น มีด้วยกันหลายปัจจัย การทานยาคุมที่มีฮอร์โมนเยอะเกินไป เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น หากสำรวจตนเองแล้วว่าเกิดจากสาเหตุใด ให้แก้ไขสาเหตุนั้น ประกอบกับดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ห่วงอนามัย คุมกำเนิด อีกหนึ่งทางเลือก ของคนไม่ชอบกินยา

ฉีดยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมตอนไหน ราคาเท่าไหร่ ดีหรือไม่ เรามีคำตอบ

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาคุมที่กินแล้วอ้วน บวมยาคุม เลือกแบบไหนให้หายห่วงเรื่องน้ำหนัก
แชร์ :
  • ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

    ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

  • คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

    คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

  • ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

    ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

  • คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

    คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ