X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 วิธี การคุมกำเนิด แบบชั่วคราว แบบถาวร แบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

บทความ 5 นาที
7 วิธี การคุมกำเนิด แบบชั่วคราว แบบถาวร แบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด7 วิธี การคุมกำเนิด แบบชั่วคราว แบบถาวร แบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

การคุมกำเนิด มีอยู่หลายวิธี แตกต่างกันทั้งรูปแบบการใช้งาน ระยะเวลาที่สามารถป้องกันได้ และการติดตามประสิทธิภาพของการป้องกัน การเลือกวิธีการคุมกำเนิดจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการแบบไหน สำหรับในบทความนี้เราจะแนะนำทั้ง 7 วิธี คือ ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง, ฉีดยาคุมกำเนิด, ห่วงอนามัยคุมกำเนิด, ฝังยาคุมกำเนิด, ถุงยางอนามัย และยาคุมฉุกเฉิน

 

การคุมกำเนิด แบบไหนดี ?

การคุมกำเนิดทุกวิธีมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้ว แต่ไม่มีวิธีไหนสามารถป้องกันได้ 100 % ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะใช้การคุมกำเนิดแบบไหนก็ตาม จะต้องให้ความสำคัญกับการใช้งานที่ถูกต้อง และมาตรวจตามแพทย์นัดเสมอ ซึ่งการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยม เช่น การใช้ถุงยางอนามัย, การกินยาคุม หรือการฝังยาคุม เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ระยะเวลาของการป้องกัน และรูปแบบการใช้งานที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการว่า ต้องการป้องกันการตั้งครรภ์นานแค่ไหน และวิธีไหนที่สะดวกต่อตัวของเรามากที่สุด

 

วิดีโอจาก : Bhaewow

 

การคุมกำเนิดแบบถาวร

การคุมกำเนิดแบบถาวร จะทำให้ไม่สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้อีก โดยวิธีที่เรารู้จักกันดี นั่นคือ การทำหมัน ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง การทำหมันสำหรับเพศชายสามารถทำได้ทันทีโดยจะเป็นการตัดท่อน้ำเชื้อในถุงอัณฑะ สำหรับเพศหญิงจะเป็นการทำหมันเปียก และการทำหมันแห้ง ซึ่งเป็นการตัดท่อนำไข่บางส่วน

การคุมกำเนิดในรูปแบบถาวร ถือเป็นทางเลือกที่ส่งผลค่อนข้างมากสำหรับคู่รัก ดังนั้นต้องมั่นใจ และปรึกษากันก่อนตัดสินใจ เพราะจะไม่สามารถกลับมาตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้ตามปกติแล้ว โดยสามารถเลือกการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวได้ก่อน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี

 

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว

เป็นการคุมกำเนิดตามระยะเวลาที่ต้องการตั้งแต่การคุมครั้งต่อครั้งอย่างถุงยางอนามัย, การคุมกำเนิดระยะเวลาหลักอาทิตย์อย่างการแปะยาคุม, การคุมกำเนิดระยะเวลาหลายเดือน เช่น การฉีดยาคุมกำเนิด หรือการคุมกำเนิดหลายปี เช่น ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือการฝังยาคุม เป็นต้น โดยเราจะหยิบยกวิธีที่เราน่าจะได้ยินกันบ่อยขึ้นมาอธิบายให้พอเข้าใจทั้งหมด 7 วิธี ได้แก่

 

1.ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth Control Pill)

เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้หญิงหลายคน มีทั้งแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) เพียงอย่างเดียว และชนิดฮอร์โมนรวม (combined pills) โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ 21 เม็ด และ 28 เม็ด ซึ่งแตกต่างกันที่วิธีการรับประทาน ดังนี้

 

  • ยาคุม 21 เม็ด : ทานต่อเนื่องทุกวัน เวลาเดิม จะไม่มีเม็ดแป้งมาแทรก และเมื่อหมดแผง หลังจากนั้นหยุดทาน 7 วัน ก่อนเริ่มทานแผงใหม่
  • ยาคุม 28 เม็ด : จะเป็นตัวยา 21 เม็ด ที่เหลืออีก 7 เม็ด จะเป็นเม็ดแป้ง ให้ทานทุกวันจนหมดแผน หลังหมดแล้วไม่ต้องหยุด 7 วันแบบ 21 เม็ด ให้ทานแผงใหม่ได้เลย

 

การกินยาเม็ดคุมกำเนิด ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ปกติแบ้วจะกินในวันแรกที่มีประจำเดือน หรือไม่เกินวันที่ 5 นับจากวันแรกที่มีประจำเดือน อย่างไรก็ตามวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องมีวินัยสูง ต้องทานให้ตรงเวลา จึงควรตั้งเวลา หรือแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการลืม

 บทความที่เกี่ยวข้อง : ราคายาคุมฉุกเฉิน แต่ละยี่ห้อเท่าไหร่บ้าง เทียบราคาอย่างละเอียด

 

การคุมกําเนิด

 

2.ยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง (Contraceptive patch)

เป็นวิธีการนำยาคุมปาแปะลงบนผิวหนัง โดยจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการทานยาคุมกำเนิดแบบประจำ เป็นวิธีที่มีความยืดหยุ่นสูง หากต้องการหยุดคุมกำเนิด ก็ทำเพียงดึงแผ่นออกหลังจากนั้น 1 – 2 รอบเดือนภาวะตกไข่จะกลับมาตามปกติอีกครั้ง โดยการแปะจะแปะภายใน 24 ชั่วโมงของวันแรกที่มีประจำเดือน โดยจะมีการเปลี่ยนแผ่นในทุกสัปดาห์

ในช่วงของ 7 วันแรกที่ใช้ยาคุมแบบแปะนี้ อาจจะยังไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ จึงควรป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีอื่นด้วย หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงดังกล่าว เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น แผ่นแปะเองถูกออกแบบมาให้หลุดได้ยาก จึงสามารถมั่นใจได้ในความคงทน หากใช้ได้อย่างถูกวิธี

 

3.ฉีดยาคุมกำเนิด (Injectable Contraceptive)

สามารถช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน หลังจากฉีดไปแล้ว โดยระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับการเลือกชนิดยา มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน แต่ต้องเข้ารับการฉีดซ้ำตามระยะเวลาที่กำหนด หากมีการคลาดเคลื่อน หรือฉีดไม่ทันกำหนดจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการทานยาคุมทุกวัน และไม่ต้องเสี่ยงลืม

 

4.ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intrauterine device)

ลักษณะเป็นห่วงใส่ไว้ในโพรงมดลูก เพื่อป้องกันการฝังตัวของไข่ มีจุดเด่น คือ การคุมกำเนิดได้ค่อนข้างยาวนาน 5 – 10 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าการใช้ห่วงจะจบแค่ตอนใส่เท่านั้น เพราะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเช็กตามเวลานัดเสมอ มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นค่อนข้างน้อยกว่าการใช้ตัวยาแบบอื่น แต่ต้องมีการดูแลเองด้วยที่บ้าน เช่น การต้องคอยตรวจสายห่วงทุก 1 เดือนด้วยตนเอง เพราะหากห่วงไม่สมบูรณ์จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปด้วยเช่นกัน

 

5.ฝังยาคุมกำเนิด (Contraceptive Implant)

เป็นยาที่ใช้ฝังบริเวณใต้ผิวหนังสามารถช่วยป้องกันได้ 3 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของ โดยตัวยาจะเป็นหลอดเล็ก ๆ มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ใช้เวลาในการฝังเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่ต้องการใช้การคุมกำเนิดด้วยการลงทุนครั้งเดียว แต่คุมได้ค่อนข้างนานหลักปี โดยที่ไม่ต้องทานยาทุกวัน ไม่ต้องคอยฉีดยาตามนัด และไม่ต้องพบแพทย์เพื่อเช็กความสมบูรณ์เหมือนกับวิธีอื่น ๆ

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

 

วิธีคุมกําเนิด

 

6.ถุงยางอนามัย (Condom)

การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องของฝ่ายชาย ถือเป็นการป้องกันแบบชั่วคราวที่ดีที่สุดเท่าที่ฝ่ายชายจะสามารถทำได้ หากสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง เช่น เลือกขนาดที่เหมาะสม ใส่ถูกต้อง และถุงยางไม่มีความชำรุด ไม่ฉีด รั่ว หรือขาด จะช่วยป้องกันการคุมกำเนิดได้ดี อย่างไรก็ตามการชำรุดของถุงยางยังอาจเกิดขึ้นได้ขณะการมีเพศสัมพันธ์ แต่จุดเด่นของถุงยางอนามัยที่การคุมกำเนิดวิธีอื่น หรือวิธีที่ใช้ยาคุมไม่มี นั่นคือ การป้องกันโรคติดต่อ หรือเชื้อโรคต่าง ๆ จากการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง

นอกจากนี้ยังมี “ถุงยางผู้หญิง” ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายกับของผู้ชาย คือ การป้องกันไม่ให้อสุจิเข้าถึงมดลูกจากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นการใช้แล้วทิ้งไม่ต่างจากแบบของผู้ชาย แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรใช้ร่วมกับถุงชายของผู้ชาย เพราะจะเกิดการเสียดสีกัน จนทำให้ขาด หรือรั่วได้

 

7.ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pill)

การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีสุดท้ายที่ใช้ในการคุมกำเนิด เนื่องจากการคุมกำเนิดด้านบนที่กล่าวมาไม่ได้ผล หรือเกิดความผิดพลาด จนนำมาซึ่งความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ที่เราบอกว่าเป็นวิธีสุดท้าย เนื่องจากตัวยาสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้หญิง จึงไม่สมควรทานบ่อย ๆ ไม่ใช่แค่ผลข้างเคียงต่อร่างกายเท่านั้น การทานบ่อยจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงด้วย โดยควรทานภายใน 24 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือผิดพลาด และช้าที่สุดไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน เกิน 72 ชั่วโมง ยังทานยาคุมฉุกเฉินได้อยู่ไหม ?

 

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวของเพศหญิง ส่วนมากจะส่งผลกระทบ หรือมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับวิธีที่เลือกใช้ เช่น ประจำเดือนมาน้อย, น้ำหนักขึ้น หรืออาการระคายเคือง เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจมีข้อบ่งชี้สำหรับบางคนที่อาจจะไม่สามารถใช้การคุมกำเนิดบางอย่างได้ ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกใช้การคุมกำเนิดวิธีต่าง ๆ ควรศึกษาให้ดีก่อน หรือรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนก็ได้เช่นกัน

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ?

การกินยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด 2 เม็ด ฉบับเข้าใจง่ายสำหรับคุณผู้หญิง

ที่มาข้อมูล : 1 2 3 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 7 วิธี การคุมกำเนิด แบบชั่วคราว แบบถาวร แบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด
แชร์ :
  • ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

    ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

app info
get app banner
  • ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

    ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ