การกินยาคุม อีกหนึ่งการคุมกำเนิดหลายคนเริ่มให้มาให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีบางคนที่หันมากินเพื่อปรับฮอร์โมนของร่างกายเรา เพื่อเป็นอีกหนึ่งในการดูแลร่างกาย แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรพลาดที่จะเรียนรู้นั่นก็คือ “หากกินยาคุมเป็นการคุมกำเนิด อาจมีโรคอื่นแทรกซ้อนเป็นอะไรได้บ้าง”
ในวันนี้ theAsianparent จะพาไปทำความรู้จักกับ “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” อีกหนึ่งโรคที่มาพร้อมกับความเสี่ยงที่เกิดจากการกินยาคุมกำเนิด
การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
การกินยาคุมกำเนิดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหรือไม่นั้น ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจกับ “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” ก่อนว่ามีกี่แบบ และมีส่วนไหนที่น่าเป็นห่วงบ้าง
“ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ” หรือ “Venous Thromboembolism: VTE” คือภาวะที่มีลิ่มเลือดเกิดในหลอดเลือดดำ อาจเป็นเส้นเลือดระดับตื้นหรือระดับลึกก็ได้ นอกจากนั้นยังมี “ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก” หรือ “Deep Vein Thrombosis: DVT” ก็คือ ภาวะที่มีลิ่มเลือดก่อตัวที่หลอดเลือดดำส่วนลึกในร่างกาย โดยอาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่งก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่ขา ถ้าหากเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดขา และบวมแดง
ลิ่มเลือดอุดตัน นับเป็นภาวะที่อันตราย เนื่องจากในบางครั้ง อาจมีกรณีที่ลิ่มเลือดที่อุดกั้น อาจหลุดไปตามกระแสเลือด หรือเกิดกรณีที่ไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดดำในปอด (Pulmonary embolism: PE) ภาวะที่มีอัตราความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูง โดยข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลจาก “โรงพยาบาลรามคำแหง” ที่ได้อธิบายไว้พร้อมกับอ้างอิงว่าเป็นคำตอบที่ได้จากการศึกษาทางวิชาการเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา
บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมกินตอนไหน วิธีกินยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ที่คุณไม่ควรพลาด
ยาคุมกำเนิดที่แพทย์เป็นกังวลว่าจะเพิ่มความเสี่ยงในภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เป็นยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมชนิดทาน ที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) สามารถสังเกตได้จากข้างกล่องยาที่เราซึ่งมาทาน วิธีลดความเสี่ยงก็คือดูว่ายาคุมตัวไหนที่มีระดับเอสโตรเจนสูงราว 250 ไมโครกรัม อาจมีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน มากกว่ายาคุมกำเนิดชนิดที่เอสโตรเจนต่ำกว่า 35 ไมโครกรัม ซึ่งข้อนี้นับเป็นอีกหนึ่งกลไกที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
ส่วนของฮอร์โมนโปรเจสตินในยาคุมกำเนิดก็แบ่งออกได้อีก 4 รุ่น โดยยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีเอสโตรเจนก็ส่งผลต่อความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยวชนิดทาน (Mini Pill ที่ใช้ในสตรีหลังคลอด), แบบฉีดเข้ากล้าม (DMPA), แบบผังใต้ท้องแขน (Implanon) แบบห่วงที่มีฮอร์โมน (Mirena) จากข้อมูลพบว่ามีความเสี่ยงน้อยหรือไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดดำอุดตัน
ส่วนยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มาในรูปแบบแผ่นแปะ (Patch) หรือ ห่วงวงกลม (Ring) ในข้อมูลก็ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เทียบเท่ายาคุมชนิดฮอร์โมนรวมแบบยาทานที่มีความเสี่ยงสูง
ปัจจุบันพบว่า ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม เพิ่มความเสี่ยงภาวะลิ่มเลือดดำอุดตัน 3 – 9 รายต่อ 10,000 ราย หรือประมาณ 2 – 5 เท่า ขึ้นกับปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนและชนิดโปรเจสโตเจนในยาคุมฮอร์โมนรวม และความเสี่ยงจะเพิ่มสูงในช่วงเดือนแรกของการเริ่มทานยา ส่วนถ้าในหญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดแล้ว 12 สัปดาห์ มีความเสี่ยงเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันสูง 12 เท่า ซึ่งสูงกว่าการทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมมาก
แต่ถึงแม้ การกินยาคุม จะเป็นเรื่องที่ดูน่ากลัว แต่ถ้าหากกินยาคุมเพื่อคุมกำเนิดหรือการรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ก็จะได้ประโยชน์ในหลายด้านนอกเหนือจากการคุมกำเนิด เช่น รักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, อาการปวดท้องประจำเดือน, ประจำเดือนมามาก, รักษาภาวะฮอร์โมนเพศชายเยอะเกิน รวมไปถึงลดความเสี่ยงในโรคมะเร็งอื่นด้วย ดังนั้นก่อนการกินยาคุม การพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผู้ใช้ปลอดภัยจากผลข้างเคียงได้
อาการของภาวะลิ่มเลือดอุดตันเป็นอย่างไรบ้าง?
- ผู้ป่วยอาจมีอาการเหนื่อยง่ายหรือหายใจลำบาก
- ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
- มีอาการไอแห้ง
- หน้ามืด, เวียนศีรษะ
- ใจสั่น, ใจเต้นเร็ว
การรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันทำด้วยวิธีไหน
ถ้าเป็นการอุดตันจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นที่ปอด สามารถรับยาละลายและยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยเป็นการจ่ายยารักษาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการจับตัวของลิ่มเลือดใหม่ขึ้นมาใหม่ ส่วนผู้ป่วยรายที่ไม่สามารถรักษาปัจจัยกระตุ้นหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการลิ่มเลือดอุดตันได้ อาจต้องรับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันในระยะยาว
วิธีป้องกันลิ่มเลือดอุดตันจาก การกินยาคุม
- งดการสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการอุดตัน ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดดำที่ขาและหลอดเลือดแดงที่อยู่ในสมอง ของผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิด
- ควรควบคุมร่างกาย ไม่ให้มีน้ำหนักตัวเกิน โดยใช้วิธียึดจากค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI ไม่เกิน 23 กก./ม.
- เพิ่มการออกกำลังกาย และเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
- ควรรีบลุกให้เร็วที่สุด หลังจากนอนบนเตียงเป็นเวลานาน อาทิเช่น หลังการผ่าตัด, การเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ ควรรีบลุกขึ้นเดินในเร็วที่สุด
- ลุกเดินทุก 2 – 3 ชั่วโมง และดื่มน้ำมาก ๆ เมื่อต้องเดินทางไกลด้วยรถโดยสารหรือเครื่องบินนานกว่า 4 ชั่วโมง
- เพิ่มการไหลเวียนเลือดด้วยการขยับขาเป็นระยะ เมื่อต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ด้วยการยกส้นเท้าขึ้นและลงขณะที่ปลายยังอยู่บนพื้น สลับกันไปมาโดยร่วมกับการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อขาเป็นระยะ
การกินยาคุม = ภาวะแทรกซ้อนของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน?
ในบางครั้ง การกินยาคุม อาจทำให้ลิ่มเลือดที่อุดกั้นหลอดเลือดดำบริเวณต่างๆ หลุดไปตามกระแสเลือด และไปอุดตันหลอดเลือดดำในปอด ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณปอดและการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดผิดปกติ ส่งผลต่อการหายใจและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนั้น ผู้ป่วยลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน อาจเสี่ยงต่อภาวะหลังหลอดเลือดตีบ ซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดเข้าทำลายลิ้นหลอดเลือดดำจนทำให้อัตราการไหลเวียนเลือดลดลง
บทความที่เกี่ยวข้อง
จบต้นตอ ก่อนเกิดโรคไต เลือกกินอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย ?
กินยาคุมครั้งแรก มีอะไรที่จำเป็นต้องรู้บ้าง มาดูกัน!!
การกินยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด 2 เม็ด ฉบับเข้าใจง่ายสำหรับคุณผู้หญิง
ที่มา (ram-hosp) (chulalongkornhospital) (synphaet)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!