X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคขี้เต็มท้อง ภัยร้ายใกล้ตัว อันตรายของคนชอบอั้น

บทความ 5 นาที
โรคขี้เต็มท้อง ภัยร้ายใกล้ตัว อันตรายของคนชอบอั้นโรคขี้เต็มท้อง ภัยร้ายใกล้ตัว อันตรายของคนชอบอั้น

เตือนภัย!!! สำหรับคนชอบอั้น โอกาสสูงที่จะเป็น โรคขี้เต็มท้อง จนส่งผลเสียให้กับสุขภาพในระยะยาว ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุณไม่ควรประมาท

จากเรื่องราวร้อนแรงในโซเชียล ที่นักร้องสาว ตุ๊กตา-จมาพร แสงทอง วัย 34 ปี จากเวทีประกวด The Voice ได้ออกมาโพสลงสื่อโซเชียลทั้งเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม เพื่อเตือนภัย ถึงโรคที่คุณหมอให้ชื่อว่า " โรคขี้เต็มท้อง "

โรคขี้เต็มท้อง มีอาการอย่างไร?

ซึ่งนักร้องสาว ตุ๊กตา-จมาพร มีการโพสต์ภาพของฟิล์มเอกซเรย์ของเธอ ผ่านทางเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมส่วนตัว เพื่อเป็นการเตือนภัย คนที่มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับเธอ จนทำให้เกิดโรคที่คุณหมอให้ชื่อว่า "ขี้เต็มท้อง" โดยอาการโดยรวมมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการท้องผูก
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจติดขัด แน่นท้อง
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
  • ช่องท้องมีเสียงดังผิดปกติ
  • ปวดท้องบริเวณใต้ซี่โครงหรือสะดือ คล้ายอาการของโรคกระเพาะ
  • ปวดเมื่อยร่างกาย และอ่อนเพลีย
  • มีลม มีแก๊สในท้องเยอะผิดปกติ หรือกดบริเวณท้องแล้วรู้สึกเจ็บ
  • ตดเปรี้ยว เรอเปรี้ยว
  • อุจจาระก้อนเล็ก แข็ง บางครั้งอาจจะมีมูกเลือดปะปนออกมาด้วย
  • เมื่อขับถ่ายแล้ว ยังรู้สึกว่ายังมีอุจจาระคั่งค้างอยู่

 

พฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นโรคขี้เต็มท้อง

  • ขับถ่ายไม่เป็นเวลา มักจะอั้นอุจจาระบ่อยครั้ง
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ทานอาหารที่มีกากใยน้อย
  • ทานอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกิน
  • มีการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • มีโรคประจำตัว ทำให้ขาดการดูแลเรื่องของโภชนาการ
  • ผลข้างเคียงจากการทานยาบางชนิด

 

วิธีการรักษา โรคขี้เต็มท้อง

หากมีการวินิจฉัยจากแพทย์ที่ทำการรักษาพบแล้วว่า คุณมีอาการของโรคขี้เต็มท้อง ตามแบบฉบับของ สาวตุ๊กตา จมาพร สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ การนำเอาของเสีย หรือเจ้าอุจจาระ ที่เป็นสาเหตุของอาการต่าง ๆ นี้ ออกให้ได้มากที่สุด โดยที่ไม่ให้มีผลกระทบต่อร่างกาย โดยแพทย์จะจ่ายยาระบาย ซึ่งจะเป็นยาระบายที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อธรรมชาติของลำไส้ หลังจากนั้นจึงค่อยปรับระบบเผาผลาญให้กลับมาเป็นปกติดังเดิม

ไม่แนะนำให้ซื้อหายาถ่ายมาทานเองเด็ดขาดค่ะ เพราะตัวยาที่คุณหามา อาจจะส่งผลเสียให้กับสุขภาพของลำไส้ของคุณเองในระยะยาว

 

การแก้ไขระยะยาว เพื่อไม่ให้เป็นโรคขี้เต็มท้อง

  1. ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอ และเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายเกิดความชินกับการขับถ่าย โดยเชื่อว่าเวลาที่ดีที่สุดคือช่วงเช้า ระหว่าง 05:00 - 07:00 น.
  2. พยายามดื่มน้ำสะอาด อาจจะเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้องในช่วงเช้า หลังตื่นนอน
  3. อย่ากลั้นอุจจาระ เมื่อรู้สึกปวดให้เข้าห้องน้ำขับถ่ายโดยทันที
  4. หมั่นออกกำลังกาย ให้เกิดความเคลื่อนไหว

 

เกร็ดความรู้ โรคขี้เต็มท้อง

โรคขี้เต็มท้อง ภัยร้ายใกล้ตัว อันตรายของคนชอบอั้น

ทางเพจ เฟซบุ๊ก หมอเวร ได้กล่าวถึงไวรัลดัง เกี่ยวกับเรื่องโรคขี้เต็มท้องว่า แม้ชื่อโรคจะดูน่าตลก แต่คนที่เป็นจริง ๆ จะมีอาการที่ทรมานมาก โดยโรคนี้ถ้าจะให้เข้าใจง่าย ๆ มันก็คือโรคท้องผูกประเภทหนึ่งนั่นเอง

ปกติแล้วในลำไส้ใหญ่เราเนี่ยมันจะมีหน้าที่ดูดซึมน้ำออกไปด้วย คนไหนที่ท้องผูกบ่อย หรืออั้นขี้ไว้นานๆ 3-4 วันถ่ายรอบนึง ก็ทำให้อุจจาระไปติดค้างอยู่ตามผนังลำไส้ มันถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดจากของเหลวก็กลายเป็นของแข็งแทนได้ พอแข็งมาก ๆ ก็ทำให้เราถ่ายลำบากเป็นคอมโบ้ต่อเนื่องของอาการนี้นั่นเอง

แน่นอนว่าถึงแม้จะกินข้าวเข้าไปเพิ่ม มีของล็อตใหม่เข้ามาเติม แต่ตรงปลายลำไส้ที่มันแข็งแล้ว และไม่ยอมตุ่ยออก ของใหม่ก็จะไปกองอยู่บนๆ และสะสมกองต่อไปเรื่อยๆ (ยกเว้นกรณีของใหม่ที่มันเป็นของเหลวก็อาจแทรกตัวออกไปลงโถได้ก่อน) ยิ่งปล่อยไว้นานข้างล่างก็จะยิ่งแข็ง แล้วก็จะยิ่งถ่ายยากขึ้นเป็นเงาตามตัว

“ที่สำคัญ อันนี้ขอขีดเส้นใต้เลย หากปล่อยให้มันตกค้างนานๆ ลำไส้ใหญ่ที่นอกจากดูดซึมน้ำแล้ว ก็อาจดูดซึมของเสียของสารพิษที่ตกค้างในอุจจาระกลับเข้าสู่ร่างกายได้ด้วย”

กรณีเบาๆ หน่อยก็อาจแค่รู้สึกไม่สดชื่น ปวดหัว คลื่นไส้ ไม่สบายเนื้อตัว แต่หนักๆหน่อยบางทีไอ้ที่เราอั้นไว้ ก็อาจทำให้ไปกดทับเส้นเลือดต่างๆ ในกระเพาะ รวมถึงกดทับกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆ กับร่างกายตามมาได้ด้วย เรียกว่าอั้นขี้ทีเดียวสะเทือนถึงดวงดาวก็ว่าได้
ส่วนสาเหตุการเกิดอาการแบบนี้ก็เหมือนที่บอกไปในช่วงแรก ไล่ตั้งแต่การอั้นอุจจาระบ่อยอย่างที่คุณตุ๊กตาเล่า การกินอาหารที่มีกากใยน้อย การดื่มน้ำน้อย เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หรือกระทั่งคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย กินเสร็จแล้วก็นอน ไม่ค่อยขยับตัวให้ลำไส้ช่วยบีบตัว หรือการกินยาบางชนิดก็อาจส่งผลให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ซึ่งกลุ่มนี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงให้เกิดอาการแบบนี้ได้ทั้งนั้น
ส่วนวิธีรักษา อันนี้ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน และขึ้นอยู่กับการประเมินของคุณหมอ บางคนก็อาจใช้แค่ยาเหน็บส่วนปลาย บางคนแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือบางคนอาจต้องใช้ยาถ่ายช่วยด้วย ซึ่งแน่นอนว่าแค่หมวดยาถ่ายก็มีมากมายหลายชนิดแล้ว ดังนั้นถ้าเริ่มมีอาการใกล้เคียงที่เล่ามา ก็ไม่แนะนำให้ซื้อยามารักษาเองนะ เพราะบางครั้งนอกจากจะไม่หายแล้ว ยังอาจทำให้อาการหนักขึ้นกว่าเดิมได้ด้วยเด้อ ไปหาหมอเถอะตรงประเด็นแน่นอน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อยากรู้มั้ย? ทำอย่างไรให้จบปัญหาท้องผูก ในแบบแม่แฮปปี้ ลูกก็แฮปปี้

ท้องผูก ขับถ่ายยาก ปรับสุขภาพด้วย ซินไบโอติก

ลําไส้อุดตันในทารก อาการของลำไส้อุดตัน ลูกกินกล้วยแล้วไม่ถ่าย ป้อนกล้วยทารก มากไปไหม?

 

ที่มา : A , B , C

บทความจากพันธมิตร
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร”
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร”
5 ปัจจัยที่ทำให้เกิด “ผดผื่นทารก”
5 ปัจจัยที่ทำให้เกิด “ผดผื่นทารก”

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคขี้เต็มท้อง ภัยร้ายใกล้ตัว อันตรายของคนชอบอั้น
แชร์ :
  • ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

    ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

  • การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
    บทความจากพันธมิตร

    การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป

  • จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
    บทความจากพันธมิตร

    จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

app info
get app banner
  • ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

    ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

  • การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
    บทความจากพันธมิตร

    การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป

  • จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
    บทความจากพันธมิตร

    จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ