X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

"โรคกินไม่หยุด" ภัยเงียบที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก

บทความ 5 นาที
"โรคกินไม่หยุด" ภัยเงียบที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก

ใครจะไปคิดว่า พฤติกรรมการกินการกิน จะสามารถเกี่ยวข้องกับโรคได้ วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ “โรคกินไม่หยุด” ซึ่งเป็นภัยเงียบที่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน เพราะอาจจะคิดว่า เป็นอาการอยากอาหารปกติทั่ว ๆ ไป แต่ที่จริงแล้ว อาการของโรคกินไม่หยุดมีมากกว่านั้น และส่งผลเสียต่อตัวผู้ป่วยได้มากกว่าที่คุณคิด

 

โรคกินไม่หยุด อยากอาหาร

 

“โรคกินไม่หยุด” คืออะไร?

 

โรคกินไม่หยุด (BED หรือ Binge Eating Disorder) เป็นโรคในกลุ่ม ที่เรียกว่า Eating Disorder จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงต่าง ๆ โดยผู้ป่วยโรคนี้ จะมีลักษณะอาการที่กินเป็นช่วง ๆ อาทิเช่น กินทุก ๆ ชั่วโมง หรือ สองชั่วโมง โดยปริมาณที่กินเข้าไปจะมากกว่าปกติ และจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

ปัจจุบันยังไม่มีสาเหตุ และที่มาของโรคที่แน่ชัด โดยนักวิจัยคาดว่า อาจเกิดจาก ยีนที่ผิดปกติ สภาวะความเครียด ประสบการณ์ทางสังคม หรือ อารมณ์ของผู้ป่วย

มีผลการวิจัยบอกว่า “โรคกินไม่หยุด” อาจเกิดจากผู้ป่วยใช้วิธีการกินในการรับมือกับปัญหาทางอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความโกรธ ความเศร้า ความเหงา ความเบื่อหน่าย ความเครียด จนติดเป็นนิสัย และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าว

 

อาการของโรคกินไม่หยุด เป็นยังไง?

 

ผู้ป่วยโรคนี้ อาจมีอาการอยากอาหารตลอดเวลา และรับประทานอาหารเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติ แม้ไม่ได้รู้สึกหิวเลยก็ตาม โดยผู้ป่วย จะรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และมีความสุขระหว่างการกินเท่านั้น หลังจากนั้นจะมีความรู้สึกผิด และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ โดยอาจสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ เหล่านี้

โรคกินไม่หยุด อยากอาหารตลอดเวลา

 

  • รับประทานอาหารอาหารเร็วกว่าปกติ
  • ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ขณะรับประทานอาหาร
  • รับประทานอาหารจนอิ่มเกินไป และทำให้เกิดความอึดอัด
  • รับประทานอาหารในปริมาณมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีอาการหิว
  • รับประทานอาหารคนเดียว เพราะรู้สึกอึดอัดใจ และไม่สบายใจที่จะรับประทานร่วมกับคนอื่น
  • รู้สึกผิดหลังจากรับประทานอาหารเข้าไป
  • มีนิสัยการกักตุนอาหารไว้ที่ต่าง ๆ ใกล้ตัว

อาการเหล่านี้ เป็นเพียงข้อวินิจฉัยจากทีมแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยบางรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป บางรายอาจพบอาการ 1-2 อย่าง หรือในบางราย อาจพบได้หลากหลายอาการ

 

สาเหตุของโรคกินไม่หยุด มีอะไรบ้าง?

 

ในปัจจุบัน ยังไม่มีรายงาน หรือผลการวิจัยของสาเหตุการเกิดโรคนี้ มีเพียงการคาดเดา และการวินิจฉัยจากทีมแพทย์ต่าง ๆ อาทิเช่น

  • เกิดจากโรคอ้วน
  • มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติด หรือ แอลกอฮอล
  • เกิดจากการขาดความมั่นใจในรูปร่างตนเอง
  • มีประวัติการเสพติดการลดน้ำหนัก
  • เคยผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ
  • คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคกินไม่หยุด
  • มีสภาวะทางจิต ที่เกี่ยวข้องในด้านอารมณ์ ความรู้สึก เช่น โรคเครียด โรคไบโพลาร์ หรือ สภาวะการป่วยทางจิตอย่างรุนแรง

 

โดยสาเหตุของการเกิดโรคกินไม่หยุด ในวงการแพทย์เชื่อกันว่า ส่วนหนึ่งของโรคกินไม่หยุดนี้ อาจเกิดจากสภาวะความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองอย่าง เลปติน (Leptin) และ (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความหิว ที่หลั่งออกมามากผิดปกติ จนทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหารอยู่ตลอดเวลา 

 

ภัยร้ายที่อาจเกิดตามมาจากโรคกินไม่หยุด

 

        โรคอ้วน หรือ ภาวะน้ำหนักเกิน

ภัยร้ายอย่างแรกที่มักตามมาจากอาการของโรคกินไม่หยุด คือ ภาวะโรคอ้วน หรือ น้ำหนักเกินมาตรฐาน เนื่องจากอาการหลักของโรคดังกล่าว คือการรับประทานอาหารเป็นประจำ รับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินควร และเกิดอาการต่าง ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน จนท้ายที่สุดจะก่อให้เกิดโรคอ้วน และ ภาวะน้ำหนักเกิดนได้

โรคกินไม่หยุด ทำให้เกิดโรคอ้วน

 

        โรคหัวใจและหลอดเลือด

ภัยร้ายต่อมา คือโรคหัวใจ และ หลอดเลือด เมื่อเกิดภาวะโรคอ้วน หรือ ภาวะน้ำหนักเกินแล้ว หัวใจจึงทำงานหนักเกินกำลัง เพราะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ยากขึ้น เนื่องจากมีไขมันในปริมาณที่เยอะ โดยเฉพาะไขมันช่องท้อง ที่เราเรียกติดปากกันว่า “พุง” ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิต และ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ ซึ่งภัยร้ายเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิด โรคหัวใจ และ หลอดเลือด จนอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ หากเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน หรือ หัวใจวาย

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

 

        โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (ชนิดที่ 2) เป็น อีกหนึ่งโรค ที่อันตราย ส่งผลอย่างมากในระยะยาว  เพราะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สาเหตุของโรคนี้ เกิดจากการไม่ควบคุมอาหาร รับประทานอาหารในบริมาณที่มาก จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และทำให้เป็นโรคเบาหวาน (ชนิดที่ 2) ได้ ซึ่งความน่ากลัวของภัยข้อนี้คือ ทำการรักษาได้ยาก และ ต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจมีระยะยาวนาน มากถึงตลอดชีวิต

 

        โรคทางอารมณ์

ภัยร้ายสุดท้าย ที่เกิดจากโรคกินไม่หยุด คือ สภาวะผิดปกติทางอารมณ์ โดยผู้ป่วย มักรู้สึกแย่ กับอาการ หรือพฤติกรรมการกินของตนเอง จนอาจสะสมเป็นระยะเวลานาน และทำให้เกิดโรคจิตเวชที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลได้ 

 

ผู้ป่วยโรคกินไม่หยุด ต้องรักษาอย่างไร?

 

เมื่อแพทย์ทำการวินิจฉัย ว่าผู้ป่วยมีอกาการของโรคนี้ ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางโรค โดยแพทย์ จะเป็นผู้วินิจฉัย และ รักษาตามอาการ ที่สอดคล้องกับอาการ และสาเหตุของโรค โดยแบ่งเป็นข้อ ๆ คร่าว ๆ ได้ดังนี้ 

 

การลดน้ำหนัก

จากผลการสำรวจพบว่า กว่า 50% ของผู้ป่วยโรคนี้ มีโรคประจำตัวเป็นโรคอ้วน และ ผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่ง เคยล้มเหลว จากการลดน้ำหนัก ซึ่งมีความเสี่ยง ทำให้เป็นโรคกินไม่หยุด ซึ่งแพทย์ และ นักโภชนาการ จะให้ความรู้ เกี่ยวกับการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง ทั้งด้านปริมาณอาหาร การรับประทาน สารอาหาร รวมไปถึงการออกกำลังกาย ซึ่งวิธีรักษานี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด และ ยังช่วยป้องกัน ไม่ให้กลับไปเกิดโรคนี้ซ้ำอีก

ลดน้ำหนัก รักษา โรคกินไม่หยุด

 

การจ่ายยา

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ว่าโรคกินไม่หยุด เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติ ของสารเคมีในสมอง ซึ่งแพทย์จะสั่งจ่ายยาต้านเศร้า หรือ ยากันชัก ที่มักใช้รักษาโรคทางจิตเวช เพื่อปรับสมดุล ของสารเคมีในสมอง วิธีการรักษานี้ มักได้ผลรวดเร็ว และชัดเจนที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรค และ รักษาตามระบบและขั้นตอน ภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น

 

การเข้ารับจิตบำบัด

วิธีรักษานี้ เป็นการบำบัดโดยไม่ต้องใช้ยา โดยจะเป็นการสร้างการรับรู้ และความเข้าใจ ในสาเหตุ และอาการของโรค มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ด้านลบ ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาการที่ส่งผลให้เกิดโรคได้

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณกำลังสงสัยอยู่ว่า ตนเองเป็นโรคกินไม่หยุดหรือไม่? ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และทำการรักษากันต่อไป เพราะอาการหลาย ๆ อาการของโรคนี้ ก็ดูไม่ได้ร้ายแรง หรือผิดปกติมากนัก แต่หากป่วยเป็นโรคนี้ เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้เกิดภัยร้ายอื่น ๆ ตามมา

 

ที่มา : 1 , 2 , 3

 

บทความที่น่าสนใจ :

ทำยังไงให้ไม่หิว 10 วิธีทำให้หิวน้อยลง ไม่หิวระหว่างวัน กินอย่างไรไม่ให้อ้วน

กินไม่หยุด เมื่อกักตัวอยู่บ้าน 13 วิธีในการป้องกันความเครียด ยิ่งเครียดยิ่งกิน

“ลูกน้ำหนักเกิน” ภัยร้ายที่แฝงมากับความน่ารัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • "โรคกินไม่หยุด" ภัยเงียบที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก
แชร์ :
  • ไม่อยากอ้วนแต่ กินไม่หยุด ทำไงดี ?

    ไม่อยากอ้วนแต่ กินไม่หยุด ทำไงดี ?

  • กินไม่หยุด เมื่อกักตัวอยู่บ้าน 13 วิธีในการป้องกันความเครียด ยิ่งเครียดยิ่งกิน

    กินไม่หยุด เมื่อกักตัวอยู่บ้าน 13 วิธีในการป้องกันความเครียด ยิ่งเครียดยิ่งกิน

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ไม่อยากอ้วนแต่ กินไม่หยุด ทำไงดี ?

    ไม่อยากอ้วนแต่ กินไม่หยุด ทำไงดี ?

  • กินไม่หยุด เมื่อกักตัวอยู่บ้าน 13 วิธีในการป้องกันความเครียด ยิ่งเครียดยิ่งกิน

    กินไม่หยุด เมื่อกักตัวอยู่บ้าน 13 วิธีในการป้องกันความเครียด ยิ่งเครียดยิ่งกิน

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ