X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตรวจสุขภาพทารก สำคัญอย่างไร พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้าง ?

บทความ 5 นาที
ตรวจสุขภาพทารก สำคัญอย่างไร พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้าง ?

ตรวจสุขภาพทารก เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้ผู้ใหญ่ เพราะเด็กวัยทารก เป็นวัยที่ยังไม่สามารถบอกความเจ็บป่วยของตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ตามแต่ละช่วงวัย เพื่อทำการตรวจสุขภาพ และหาความผิดปกติในร่างกาย ที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูก การตรวจสุขภาพเด็ก จึงนับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง และพร้อมรับมือกับโรคร้ายต่าง ๆ ได้

 

ลูกอายุเท่าไหร่ จึงควรไปตรวจสุขภาพ 

เด็กในแต่ละช่วงวัย จะมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเฝ้าติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้ลูกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอ อีกทั้งยังเป็นการตรวจสอบพฤติกรรมการเจริญเติบโตของเด็กว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง โดยช่วงอายุที่ลูกควรไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลนั้น ได้แก่

  • 1 เดือน
  • 2 เดือน 
  • 4 เดือน
  • 6 เดือน
  • 9 เดือน
  • 12 เดือน
  • 15 เดือน
  • 18 เดือน
  • เด็ก 2 ขวบ
  • เด็กตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป

ทั้งนี้เด็กที่มีอายุ 2 ขวบขึ้นไป ควรมาตรวจสุขภาพปีละครั้ง เพื่อเป็นการประเมินการเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกาย รวมถึงยังเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่หากลูกเจ็บป่วย หรือมีอาการผิดปกติ ก็สามารถรักษา และช่วยเหลือได้รวดเร็ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : การนัดตรวจสุขภาพลูก และทำวัคซีนครั้งแรก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 79

 

ตรวจสุขภาพทารก

 

ตรวจสุขภาพทารก มีอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพของเด็กทารก ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคร้ายต่าง ๆ และสามารถป้องกันได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยมาตรวจตามนัด และพาไปตรวจตามกำหนดเวลาในแต่ละช่วงอายุ โดยการตรวจสุขภาพของเด็กทารกที่ต้องเจอนั้น มีดังนี้

 

  • ตรวจร่างกายทั่วไป และการเจริญเติบโต

การตรวจสุขภาพเบื้องต้นของเด็กทารก จะมีการตรวจร่างกาย และการเจริญเติบโต เช่น สัญญาณชีพ อุณหภูมิร่างกาย ชีพจร ความดันโลหิต การหายใจ รวมทั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง และรอบศีรษะของเด็กทารกในช่วง 2 ปี แรก เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ มีการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรวดเร็ว

 

  • ตรวจสุขภาพฟัน และช่องปาก

เด็กในวัย 1 ขวบ สามารถตรวจสุขภาพฟัน และช่องปากได้ หากลูกเริ่มมีฟันขึ้นซี่แรก คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็ก ไปพบทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำได้ ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น และเริ่มเคี้ยวอาหารเองได้ การไปพบทันตแพทย์ สามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้เตรียมตัวลูกดูแลฟัน และช่องปาก เพื่อป้องกันโรคฟันผุที่อาจเกิดขึ้นในเด็กได้

 

  • ตรวจประเมินภาวะโภชนาการ

การประเมินภาวะโภชนาการของลูกน้อย สามารถตรวจได้ทั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย อัตราการเติบโต และสัดส่วนของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ซักประวัติในเรื่องการรับประทานอาหารของลูกเล็กว่า มีการรับประทานในแต่ละครั้งเพียงพอหรือไม่ ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีการเจาะเลือดในการประเมิน และรักษา คุณพ่อคุณแม่จึงควรเตรียมพร้อม และคอยสังเกตพฤติกรรมการบริโภคของนมของลูก เพื่อช่วยให้การตรวจประเมินนี้ง่ายขึ้นค่ะ

 

  • ตรวจคัดกรองภาวะซีด หรือภาวะขาดธาตุเหล็ก

การตรวจคัดกรองภาวะซีด และภาวะการขาดธาตุเหล็ก ถือเป็นการตรวจความสมบูรณ์ของเลือดลูก โดยเฉพาะทารกในวัย 6-9 เดือน เป็นวัยที่ต้องได้รับสารอาหารอย่างอื่น นอกเหนือจากนม และต้องพร้อมปรับตัวในการรับประทานอาหาร ซึ่งหากลูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดภาวะการขาดธาตุเหล็กที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการลูก และทำให้เกิดภาวะตัวซีดได้

 

  • ตรวจคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ และภาวะพร่องเอนไซม์

การตรวจคัดกรองภาวะทั้งสองนี้ ทารกจำเป็นที่จะต้องตรวจคัดกรองแต่แรกเกิด เพื่อช่วยให้ลูกสามารถหาภาวะบกพร่องของฮอร์โมนไทรอยด์ และภาวะบกพร่องของเอนไซม์ ซึ่งหากเด็กไม่ได้ตรวจ และรับการรักษาในช่วงแรกเกิด จะทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้าจากเด็กในวัยเดียวกัน หรือแม้กระทั่งพัฒนาการล่าช้าไปทั้งตลอดช่วงชีวิตเลยก็ว่าได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ แม่ท้องทำเองได้ไม่ต้องรอหมอ

 

ตรวจสุขภาพทารก

 

  • ตรวจประเมินพัฒนาการทางด้านพฤติกรรม และอารมณ์

อีกหนึ่งสิ่งที่ลูกต้องเจอ คือการประเมินในด้านของพฤติกรรม และอารมณ์ เนื่องจากเด็กในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม และอารมณ์อยู่เสมอ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกรักได้ประเมินกับแพทย์ว่ามีพัฒนาการอย่างไรบ้าง หรือมีปัญหาเรื่องพัฒนาการหรือไม่ ซึ่งการตรวจประเมินพฤติกรรม และอารมณ์ของเด็กวัยนี้ จะสามารถช่วยวินิจฉัย และรักษาโรคเกี่ยวกับพัฒนาการได้อย่างทันท่วงที โดยจะช่วยให้ลูกได้มีพัฒนาการเทียบเท่า และใกล้เคียงกับเด็กวัยเดียวกัน

 

  • ตรวจการได้ยิน

การตรวจการได้ยินของเด็กทารก เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ทารกจึงควรได้รับการตรวจการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเมื่อเด็กมีความบกพร่องในการได้ยิน ก็อาจส่งผลต่อการพูด โดยอาจทำให้มีปัญหาลูกไม่พูด หรือพูดช้า หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกมาตรวจตั้งแต่แรกเกิด ก็จะช่วยให้รับมืออย่างทันท่วงที และสามารถแก้ไขให้พวกเขาสามารถพูดได้ และฟังได้เหมือนกับเด็กปกติ

 

  • ตรวจการมองเห็น

นอกจากการตรวจการได้ยินแล้ว การตรวจการมองเห็น ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะในเด็กช่วงก่อนวัยเข้าเรียน เด็กจะเริ่มให้ความร่วมมือในการตรวจร่างกาย ไม่ร้อง หรืองอแงแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาพวกเขาไปตรวจสายตา เพื่อช่วยรับมือกับปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงได้ ซึ่งหากลูกไม่ได้ทำการรักษา ก็อาจก่อให้เกิดโรคตาขี้เกียจตามมา ซึ่งอาจส่งผลให้สายตาพิการตลอดทั้งชีวิตได้

 

  • ตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะของทารก เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนของการตรวจสุขภาพร่างกาย โดยเมื่อลูกมีอายุ 4 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ควรพาพวกเขาไปตรวจคัดกรองปัสสาวะ เพื่อช่วยให้ลูกตรวจสอบว่ามีโรคไตตั้งแต่กำเนิดหรือไม่ ซึ่งโรคไตนี้อาจไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่เป็นการส่งผลในระยะยาวกับลูก เมื่อพวกเขาเริ่มเติบโตขึ้น

 

เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำเป็นต้องตรวจสุขภาพมากน้อยแค่ไหน

สำหรับเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือความดันโลหิต ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการดูแล ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีการตรวจเลือด และร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งอาจทำให้ลูกร้องไห้ หรืองอแง คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพร้อมรับมือพวกเขา นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะอ้วน และความดันโลหิตสูง อาจพาลูกมาตรวจร่างกายกับแพทย์ก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เพื่อให้พร้อมรับมือปัญหาโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมา

นอกจากเด็กที่อาจมีความเสี่ยงในเรื่องของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตแล้ว เด็กที่เจริญเติบโตเร็ว หรือช้ากว่าเกณฑ์ ก็ควรพาลูกไปตรวจสุขภาพอย่างยิ่ง หากลูกมีหน้าอกตั้งแต่เล็ก หรือเสียงยังไม่แตก และยังไม่ฝันเปียก ก็อาจพาลูกไปปรึกษากับหมอ และตรวจว่าความบกพร่องทางร่างกายหรือไม่ หากมีก็สามารถรับมือได้อย่างรวดเร็วและทำการรักษาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้น

 

ตรวจสุขภาพทารก

 

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องพาลูกไปตรวจสุขภาพ

แน่นอนว่าเด็กในวัยทารก อาจร้องไห้ หรืองอแงเมื่อต้องไปพบกับแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น เด็กจะเริ่มมีอาการกลัวคุณหมอ และโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อพวกเขาได้รับเจาะเลือดตรวจร่างกายก็อาจร้องไห้ อาละวาด และทำให้การตรวจยากลำบากได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรพร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยอาจเตรียมตัวได้ดังนี้

 

  • เตรียมความพร้อมของเด็ก

อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้น เด็กในช่วงวัย 1 ขวบ จะเริ่มมีอาการร้องไห้ งอแง และอาละวาดเมื่อต้องไปตรวจสุขภาพ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรเตรียมตัวพวกเขาให้พร้อม โดยอาจซ้อมลอกเลียนแบบเป็นคุณหมอ หรือให้ลูกดูการ์ตูนหมอ และอ่านหนังสือเกี่ยวกับหมอให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกเริ่มคุ้นเคย และเริ่มเข้าใจว่าต้องทำตัวอย่างไรเมื่อไปตรวจสุขภาพ

 

  • เตรียมเสื้อผ้า และของเล่นเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่สะดวกสบาย และง่ายต่อการถอด เมื่อต้องไปตรวจสุขภาพ เพราะบางครั้งการตรวจร่างกายนั้น แพทย์จะต้องถอดเสื้อผ้าของเด็กออกเพื่อตรวจอย่างละเอียด หากลูกใส่เสื้อผ้าที่เป็นชุดติดกัน หรือชุดที่ถอดยาก อาจทำให้ลำบากในการตรวจ รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมของเล่น อาหารว่าง หรือนมให้ลูก ๆ ซึ่งหากพวกเขามีอาการร้องไห้ หรืองอแง ก็ช่วยให้ลูกหายร้องไห้ได้

 

  • ให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ

การให้ลูกพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรให้พวกเขานอนหลับอย่างเต็มอิ่ม หรือนอนกลางวันก่อนไปตรวจสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาไม่งอแง เมื่อต้องไปปลุก หรือมีอาการง่วงนอนเมื่อต้องรอพบแพทย์ ซึ่งหากลูกเริ่มเหนื่อย หรือหิว ก็อาจทำให้พวกเขางอแง อยู่ไม่นิ่ง อาจส่งผลให้การตรวจร่างกายนั้น เป็นไปอย่างลำบากได้

 

  • เตรียมข้อมูล และประวัติส่วนตัวของลูก

คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องเตรียมข้อมูล และประวัติของลูกทุกครั้งก่อนไปพบแพทย์ อีกทั้งยังต้องคอยสังเกตพฤติกรรม และอาการของลูกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริโภคอาหาร การนอน พฤติกรรมในแต่ละวัน อาการต่าง ๆ และยาที่ลูกรับประทาน เพื่อจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำที่สุด ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องตอบคำถามแพทย์ให้ตรงประเด็น และสั้นกระชับที่สุด

 

การตรวจสุขภาพทารก เป็นอีกเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเพิกเฉย ควรพาลูกไปตรวจร่างกายตามวัยที่เหมาะสม และหมั่นคอยสังเกตพฤติกรรมของลูก ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งหากเราไม่พาลูกไปตรวจสุขภาพ หรือละเลยในเรื่องนี้ ก็อาจส่งผลให้เด็กต้องพบเจอกับปัญหาโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อชีวิตได้ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ และควรทำตามคำแนะนำของหมอ เพื่อช่วยให้พวกเขาแข็งแรง และเจริญเติบโตสมวัย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานใช้เงินเท่าไหร่ ?

ความแข็งแรงของศีรษะทารก สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ !

“แสงแดดยามเช้า” ดีกับทารกอย่างไร ทารกไม่ควรตากแดดจริงหรือ ?

ที่มาข้อมูล : vejthani, enfababy

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • แม่ผ่าคลอด
  • /
  • ตรวจสุขภาพทารก สำคัญอย่างไร พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้าง ?
แชร์ :
  • โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก

  • หมดกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ด้วย 2 สิ่งสำคัญที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    หมดกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ด้วย 2 สิ่งสำคัญที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้

  • แม่ผ่าคลอดพร้อมมั้ย? เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอดพร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน
    บทความจากพันธมิตร

    แม่ผ่าคลอดพร้อมมั้ย? เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอดพร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน

  • โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก

  • หมดกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ด้วย 2 สิ่งสำคัญที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    หมดกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ด้วย 2 สิ่งสำคัญที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้

  • แม่ผ่าคลอดพร้อมมั้ย? เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอดพร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน
    บทความจากพันธมิตร

    แม่ผ่าคลอดพร้อมมั้ย? เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอดพร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว