เข้าใจได้เลยว่า ทำไมแม่ผ่าคลอดจำนวนมาก ต่างกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด และเป็นห่วงว่าลูกรักจะมีภูมิคุ้มกัน ที่ไม่เหมือนกับเด็กคลอดธรรมชาติ นั่นก็เพราะเด็กผ่าคลอดจะพลาดการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพจากช่องคลอด ของคุณแม่ในขณะคลอด นอกจากจะทำให้ไม่ได้รับโพรไบโอติกที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้นแล้ว ยังมีผลต่อพัฒนาการสมองของลูกรักอีกด้วย
การดูแลพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญทั้งในด้านของพัฒนาการสมอง ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในช่วงแรกของชีวิต เพราะสมองควรได้รับสารอาหารที่ช่วยในการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ยิ่งเริ่มต้นไว กระบวนการพัฒนาของสมองของเด็กผ่าคลอดจะยิ่งก้าวไปไว จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 7 ของเด็กผ่าคลอด อาจมีความเสี่ยงต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน¹ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า เด็กผ่าคลอดที่อายุ 4 – 9 ปี มีคะแนนสอบน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ²
ดังนั้น หากต้องการให้พัฒนาการของเด็กผ่าคลอดดี คุณแม่สามารถดูแลและสนับสนุนการเสริมพัฒนาการได้ด้วย 2 สิ่งสำคัญ ที่จำเป็นสำหรับสมองและภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอด
ชวนรู้จัก 2 สิ่งสำคัญ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมอง และภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กผ่าคลอด
-
สฟิงโกไมอีลิน เชื่อมโยงระบบประสาท และช่วยพัฒนาสมองของลูกรัก
จากการศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการศึกษาพัฒนาการทางสมอง โดยดูจากการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วน (Brain Connection) พบว่าสมองของเด็กผ่าคลอดมีการทำงานเชื่อมโยงและการสร้างไมอีลินทีแตกต่างกับเด็กที่คลอดธรรมชาติ
เพราะฉะนั้นการที่เด็กผ่าคลอดได้รับสารอาหารที่ช่วยในกระบวนการสร้างไมอีลิน อย่าง สฟิงโกไมอีลิน พบในนมแม่ หนึ่งในสารอาหารที่ช่วยสร้างปลอกไมอีลินห่อหุ้มแขนงเซลล์ในวงจรประสาท เซลล์สมองที่มีจำนวนนับล้าน ๆ เซลล์ที่ถูกห่อหุ้มด้วยไมอีลินชีทนี้ ช่วยให้สมองส่วนต่าง ๆ สื่อสารกันได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เด็กผ่าคลอดจึงมีสมองไว ความจำดี มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดี ก้าวสู่ความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
-
โพรไบโอติก บีแล็กทิส เสริมสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้นให้เด็กผ่าคลอดตั้งแต่วันแรก
เนื่องจากการผ่าคลอดเป็นการนำเด็กออกจากครรภ์ผ่านทางหน้าท้องของคุณแม่ ทำให้เด็กผ่าคลอดไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติกที่อยู่บริเวณช่องคลอดของคุณแม่ ส่งผลให้ขาดการสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้น ในช่วงแรกของชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย ลูกรักจึงป่วยง่าย แพ้ง่าย และมีปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อง่ายอยู่เสมอ
แต่ไม่ต้องรีบกังวลไป เพราะคุณแม่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้นได้ตั้งแต่วันแรกที่คลอด ด้วยการให้ลูกกินนมแม่โดยเร็วที่สุด เพราะในนมแม่ประกอบด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมถึงจุลินทรีย์สุขภาพ โพรไบโอติก บีแล็กทิส มีงานวิจัยรองรับจำนวนมาก และมีความน่าเชื่อถือสูงว่า เป็นโพรไบโอติกเกรดเอ ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน้⁴
นอกจาก 2 สิ่งที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างสมองและภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอดแล้ว คุณพ่อคุณแม่ ยังจำเป็นต้องดูแลและใส่ใจในพัฒนารอบด้านของลูกอย่างใกล้ชิด ต้องมีการกระตุ้นพัฒนาลูกให้เหมาะสมกับวัย ด้วยเทคนิคง่าย ๆ สามารถทำตามได้ทุกบ้าน ดังนี้
คลายกังวลเรื่องพัฒนาการเด็กผ่าคลอด ยกระดับความใส่ใจขึ้นไปอีกขั้น ด้วย 3 เทคนิคสำคัญที่แม่ต้องรู้
-
กอดลูกทุกวัน
เทคนิคง่าย ๆ แต่ให้ผลลัพธ์ที่ทรงพลังมาก เพราะทุก ๆ การกอดของคุณพ่อคุณแม่ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมอง เพิ่มอีคิว สร้างความรู้สึกอบอุ่น ความไว้วางใจ ช่วยให้ลูกรับรู้ได้ถึงความรักความห่วงใยที่ส่งผ่านมาระหว่างการโอบกอด นอกจากนี้ การกอดยังเพิ่มระดับของฮอร์โมนออกซิทอกซิน ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และยังกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) ก่อให้เกิดความสุข และอารมณ์ดีอีกด้วย
-
ชวนลูกเล่นเป็นประจำ
ทุกการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เกิดจากการเล่น ซึ่งการชวนลูกเล่นอย่างมีคุณภาพ จะช่วยให้ลูกรักมีพัฒนาการสมองดี มีความคิดสร้างสรรค์ ช่วยกระตุ้นร่างกายทุกส่วน รวมทั้งระบบประสาทรับรู้ทั่วร่างกายให้ทำงานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเด็ก ๆ สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้นานขึ้น แสดงว่าลูกรักมีสมาธิดี พร้อมเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนกว่าการเล่นทั่ว ๆ ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
ในช่วงที่เด็ก ๆ กำลังนอนหลับ สมองของลูกไม่ได้หลับตามไปด้วย แต่กระบวนการพัฒนาสมองกำลังเริ่มเดินเครื่องทำงานอย่างเต็มที่ ส่วนร่างกายเองก็เริ่มมีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ มาทั้งวัน ในด้านของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ก็จะช่วยให้เด็กผ่าคลอดมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นไปอีกขั้น การที่เด็ก ๆ พักผ่อนเพียงพอ จะตื่นมาพร้อมกับสมองที่ปลอดโปร่ง มีสมาธิดี ความจำดี พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ
ถ้าอยากให้เด็กผ่าคลอดสุขภาพดี สมองไว แม่อย่างเราก็ต้องดูแลให้ครบทั้งสารอาหารที่จำเป็น เช่น สฟิงโกไมอีลิน และ โพรไบโอติกบีแล็กทิส และทุ่มเทความรักความใส่ใจเพียงเท่านี้ก็หมดกังวลเรื่องของพัฒนาการสมองและภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอด ได้แล้วค่ะ
หากคุณแม่มีคำถามเกี่ยวกับการผ่าคลอด และพัฒนาการลูกรัก ปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชม. ไม่มีค่าใช้จ่าย
Reference.
- Bentley J, e t al. Pediatrics. 2016; 138:1 – 9.
- Polidano C, et al. Sci Rep. 2017; 7: 11483.
- Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169 – 177.
- Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
- Floch MH,et al.J Clin Gastroenterol 2015;49:S69 – S73
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!