TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความแข็งแรงของศีรษะทารก จุดกระหม่อมบาง ที่พ่อแม่ต้องระวัง!

บทความ 5 นาที
ความแข็งแรงของศีรษะทารก จุดกระหม่อมบาง ที่พ่อแม่ต้องระวัง!

ศีรษะของทารกเป็นจุดที่บอบบางมาก ต้องระวังอย่าให้กระทบกระแทก และแต่เมื่อโตขึ้น ความแข็งแรงของศีรษะทารก ก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป

ความแข็งแรงของศีรษะทารก ทารกเกือบทุกคนจะมีศีรษะที่ค่อนข้างกลม คอสั้น และศีรษะจะมีลักษณะที่โตกว่าลำตัว เมื่อโตขึ้น ความแข็งแรงของศีรษะทารก โครงสร้างต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ แล้ว ศีรษะทารก มีความแข็งแรงอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

 

ศีรษะทารกประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

การเข้าใจลักษณะรูปร่างของศีรษะทารกขณะคลอดเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต เพราะส่วนมาก ส่วนนำของทารก กะโหลกศีรษะส่วนที่คลำได้จากการตรวจภายในคือ Frontal, Parietal และ Temperal bones อย่างละ 2 ข้าง ร่วมกับส่วนบนของ Occipital bone และปีกของ Sphenoid กะโหลกศีรษะของทารกจะประกอบด้วยกระดูกที่เป็นแผ่น ๆ ต่อกัน กระหม่อมบริเวณส่วนหน้าเปิดอยู่เรียกว่า กระหม่อม เป็นตำแหน่งที่มีกระดูก 4 ชิ้น มาประสานกันและจะเหลือช่วงตรงกลางที่เป็นเยื่อบาง ๆ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อสมอง ในทารกคุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นกระหม่อมลูกเต้นตุ๊บ ๆ ตามจังหวะชีพจร ถ้าคลำดูเบา ๆ จะรู้สึกนุ่ม ๆ เรียบ ๆ ไม่ต้องตกใจเพราะถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ

กระหม่อนของทารก ความแข็งแรงของศีรษะทารก

ทำไมกระหม่อมถึงมีความสำคัญ

กระหม่อมส่วนหน้าของทารกจะปิดเมื่ออายุ 1 ปีครึ่งโดยประมาณ ส่วนกระหม่อมหลังจะปิดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน เร็วกว่ากระหม่อมด้านหน้า แต่หากกระหม่อมมีการปิดช้า หรือเร็วก็อาจจะมีต่อทารก เนื่องจากภายในกะโหลกศีรษะประกอบด้วยสมอง ถ้ากระหม่อมปิดเร็วเกินไปจะทำให้สมองเจริญเติบโตและขยายไม่เต็มที่ แต่ถ้าหากกระหม่อมปิดช้ากว่ากำหนด มักจะพบได้ในกรณีที่น้ำในสมองหรือโรคทางต่อมไร้ทาเกิดการทำงานบกพร่องแต่กำเนิด ก็จะมีผลต่อพัฒนาการของทารกเช่นกัน

 

ระหว่างที่กระหม่อมศีรษะของทารกยังไม่ปิด สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังคือ เรื่องอุบัติเหตุที่จะทำให้สมองของทารกกระทบกระเทือน ไม่ควรไปกด หรือไปทำอะไรกับกระหม่อมของทารก และควรสังเกตความผิดปกติของศีรษะทารกสม่ำเสมอ เช่น หากกระหม่อมมีการปูดนูนขึ้น ก็จะพบได้ในกรณีที่มีเลือดออกในสมอง หรือเกิดการติดเชื้อในสมอง หากเป็นเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : หัวของทารกแรกเกิด ลูกหัวแบน ลูกหัวเบี้ยว กระหม่อมของทารกปิดตอนไหน

 

เส้นรอบศีรษะของทารก

นอกจากการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทารกแล้ว การวัดเส้นรอบศีรษะทารกก็เป็นตัวบ่งบอกได้ว่า การเจริญเติบโตของทารกเป็นอย่างไร โดยคุณหมอจะทำให้การวัดเส้นรอบศีรษะ น้ำหนัก และความยาวแต่ละครั้ง เมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกมาฉีดวัคซีนหรือตรวจสุขภาพ

 

ในเด็กแรกเกิดจะมีความยาวรอบศีรษะโดยประมาณ 35 เซนติเมตร และเมื่ออายุครบประมาณ 1 ปี จะมีเส้นรอบศีรษะประมาณ 46 เซนติเมตร หากเส้นรอบศีรษะมีความยาวเกินเกณฑ์กว่าปกติ รวมทั้งกระหม่อมหน้ายังไม่ปิด คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาพบแพทย์ เพื่ออัลตราซาวนด์เช็คว่าเกิดจากการผลิตน้ำในสมองมากผิดปกติหรือไม่ หรือว่ามีการอุดตันของน้ำในสมองทำให้มีน้ำในสมองหรือไม่

ศีรษะทารก ความแข็งแรงของศีรษะทารก

ลักษณะหรือรูปร่างของศีรษะทารก

ทารกแต่ละคนก็จะมีลักษณะ รูปร่างของศีรษะที่แตกต่างกันออกไป บางคนก็มีรูปร่างกลมสวย หรือบางคนมีมีลักษณะที่ยาว มีความแตกต่างกันไป และอาจมีผลมาจากการคลอดหากคลอดแบบธรรมชาติ โดยผ่านทางช่องคลอด เด็กจะเอาศีรษะออกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ศีรษะมีรูปร่างยาวไปทางท้ายทอย และหนังศีรษะของทารกบางคนก็มีลักษณะบวมเขียวคล้ำ จากการกดทับของปากมดลูกแต่เมื่อผ่านไปสักพักก็จะเข้ารูปเป็นปกติ แต่ถ้าหากคลอดจากการผ่าคลอด หัวทารกจะมีลักษณะกลมสวย เพราะไม่ผ่านการกดทับ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องศีรษะของทารกมากจนเกินไป เพียงแค่เลือกที่นอนที่รองรับศีรษะทารกไม่แข็งหรือนุ่มจนเกินไป เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับทารก

 

6 จุดกระหม่อมบางของทารก

  • กระหม่อมหน้า
  • กระหม่อมหลัง
  • กระหม่อมข้างค่อนไปด้านหลัง 2 จุด
  • กระหม่อมกกหู 2 จุด

กระหม่อมเหล่านี้จะค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยกระดูกและถูกปิดตัวอย่างสมบูรณ์เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 8 สัปดาห์ ยกเว้นกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง เมื่อทารกอายุประมาณ 4 เดือน กระหม่อมหน้าจะมีขนากใหญ่และสังเกตได้ง่าย เพียงใช้นิ้วลูบเบา ๆ ในบริเวณกระหม่อมเกิดเป็นรอยหยัก ที่เรียกว่ารอยประสานในบริเวณที่กระดูกแต่ละแผ่นมาบรรจบกัน รอบประสานนี้เรียกว่า ชูเจอร์ ในบริเวณเด็กแรกเกิดนี้จะเป็นเนื้อเยื่อเส้นใยที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งจำเป็นต่อการเคลื่อนไหวในระหว่างคลอด และเพื่อรองรับการขยายของสมองภายหลัง รอยประสานจะค่อย ๆ แข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่ากะโหลกศีรษะจะหลอมรวมกันเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกัน

 

เส้นผ่าศูนย์กลางของศีรษะทารกส่วนไหนบ้างที่มีความสำคัญ

  • Occipitofrontal วัดจากส่วนนูนที่สุดของ Occipital bone ไปยังส่วนนูนสุดของ Frontal bone
  • Biparietal เป็น Transverse diameter ที่กว้างที่สุดระหว่างกะโหลก Parietal bones ทั้งสองข้าง
  • Bitemporal เป็นระยะกว้างที่สุดของ Temporal suture ทั้ง 2 ข้าง
  • Occipitomental วัดจากคางไปยังส่วนนูนสุดของ Occiput
  • Suboccipitobregmatic วัดจาก Large fontanel ไปยังรอยต่อระหว่าง Occipital bone กับส่วนลำคอ

เส้นรอบศีรษะทารกที่กว้างที่สุดคือ Occipitofrontal diameter และเส้นรอบศีรษะที่เล็กที่สุดคือ Suboccipitobregmatic สมองของทารกในครรภ์ เมื่ออายุมากขึ้นศีรษะของทารกก็จะเปลี่ยนแปลงไปทั้งรูปร่างและกระบวนการทำงานของสมองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :

การกระตุ้นสมองลูกน้อย เทคนิคสร้างความฉลาดให้ลูก ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่

เรียนยังไงให้เกรดพุ่ง แนะนำ 13 วิธีบริหารสมอง ให้มีความจำดี ไม่ยากต้องลองทำ

ทารกแรกเกิด 2 วัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพราะแม่ชอบกินผัก ! 

ที่มา :cai.md.chulฟ

 

บทความจากพันธมิตร
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ความแข็งแรงของศีรษะทารก จุดกระหม่อมบาง ที่พ่อแม่ต้องระวัง!
แชร์ :
  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • 10 ของเล่นสำหรับทารก สุดเจ๋ง! เสริมพัฒนาการลูกน้อยวัย 0-6 เดือน

    10 ของเล่นสำหรับทารก สุดเจ๋ง! เสริมพัฒนาการลูกน้อยวัย 0-6 เดือน

  • 5 สัญญาณอันตรายในทารก พ่อแม่อย่ารอช้า! รีบพาไปโรงพยาบาลทันที

    5 สัญญาณอันตรายในทารก พ่อแม่อย่ารอช้า! รีบพาไปโรงพยาบาลทันที

powered by
  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • 10 ของเล่นสำหรับทารก สุดเจ๋ง! เสริมพัฒนาการลูกน้อยวัย 0-6 เดือน

    10 ของเล่นสำหรับทารก สุดเจ๋ง! เสริมพัฒนาการลูกน้อยวัย 0-6 เดือน

  • 5 สัญญาณอันตรายในทารก พ่อแม่อย่ารอช้า! รีบพาไปโรงพยาบาลทันที

    5 สัญญาณอันตรายในทารก พ่อแม่อย่ารอช้า! รีบพาไปโรงพยาบาลทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว