X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ําตาลหญ้าหวาน คืออะไร หญ้าหวานแทนน้ำตาล ดีจริงหรือ

บทความ 8 นาที
น้ําตาลหญ้าหวาน คืออะไร หญ้าหวานแทนน้ำตาล ดีจริงหรือ

หญ้าหวานนั้นมีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่สำคัญตรงที่ หญ้าหวานแทนน้ำตาล เป็นความหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ รับประทานแล้วไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย น้ําตาลหญ้าหวาน ดีจริงหรือ ช่วนเรื่องการลดน้ำหนักได้มากน้อยแค่ไหนมาดูกัน

วันนี้เรามาไขข้อข้องใจ หญ้าหวานคืออะไร ทำไมถึงเรียกว่าหญ้าหวาน ? หญ้าหวาน หรือสตีเวีย (Stevia) หรือ น้ำตาลหญ้าหวาน พืชสมุนไพรทางเลือกใหม่ หญ้าหวานแทนน้ำตาล เรามักจะเห็นในสื่อโฆษณากับสุขภาพ ยิ่งใครที่ชอบทานหวาน ลองรับหญ้าหวานไปไว้พิจารณากันดูนะคะ หญ้าหวาน สำหรับใช้ทดแทนความหวานของน้ำตาล ถ้ามีคำถาม ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีอะไรบ้าง แน่นอนว่าต้องมี คำว่าหญ้าหวาน ปรากฏอย่างแน่นอน  นั่นเป็นเพราะว่าในส่วนของใบหญ้าหวานนั้นมีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่สำคัญตรงที่ หญ้าหวานแทนน้ำตาล เป็นความหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ รับประทานแล้วไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย และถือเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักอย่างหนึ่ง

สำคัญก็คือสารสกัดที่ได้จากหญ้าหวาน มีชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (Stevioside) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า ! ดังนั้น ถือว่าหญ้าหวานเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจในโลกอนาคต โดยเฉพาะทางด้านการทำอุตสาหกรรมทางในด้านต่างๆ เพราะในโลกอนาคต คนยิ่งใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน ได้มีการนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆจำพวกสื่อโฆษณากับสุขภาพพวก เครื่องดื่ม ส่วนประกอบอาหารบางประเภท แม้แต่ของหวาน และรวมถึงยาสมุนไพร เพื่อการรักษาโรค รวมถึงด้านการแพทย์อีกด้วย

ใบหญ้าหวาน

ใบหญ้าหวาน น้ำตาลหญ้าหวาน

ดังนั้นเรามาทราบประวัติและที่มาของ หญ้าหวานแทนน้ำตาล นี้กัน ชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัย เป็นชาติแรกที่รู้จักนำหญ้าหวานมาสกัดเพื่อใช้ในการบริโภค ซึ่งผ่านมาหลายศตวรรษแล้ว โดยนำมาใช้ผสมในเครื่องดื่มประเภท ชงกับชา เพื่อรสชาติหวานเพิ่มมากขึ้น ในประเทศแถบเอเชีย อย่างประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการใช้ หญ้าหวานแทนน้ำตาล น้ำตาลหญ้าหวาน ดังกล่าวมานานมากเป็นสิบ ๆ ปีแล้วเช่นกัน  โดยที่นิยมคือนำไปใช้ผสมกับผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เช่น  ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เนื้อปลาบด  ผักดอง และอื่นๆอีกมากมาย

เมื่อศึกษาการเข้ามาของกระแสหญ้าหวานในประเทศไทย หญ้าหวานได้เริ่มเข้ามามีบทบาทไม่นานมานี้  ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศบราซิลและปารากวัย  ได้มีการนำเข้ามาปลูกในช่วงปี พ.ศ.2518นั่นเอง ภาคแรกที่นำมาเพาะปลูก คือภาคเหนือ นิยมเพาะปลูกกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และลำพูน เหตุผล เนื่องจากหญ้าหวาน จะชอบอากาศที่ค่อนข้างเย็น ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และสาเหตุที่ต้องปลูกในภาคเหนือ เพราะพืชชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อเพาะปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-700 เมตร ซึ่งภาคเหนือของประเทศไทยถือว่าเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง

บทความประกอบ : ใบเตย ประโยชน์และสรรพคุณของใบเตยมีอะไรบ้าง น้ำใบเตยกินแล้วดีอย่างไร

ข้อมูลเพิ่มเติม ของหญ้าหวาน น้ำตาลหญ้าหวาน 

 ข้อมูลจากต่างประเทศ แต่ทราบหรือไม่ว่า หญ้าหวานแทนน้ำตาล เคยเป็นพืชที่มีอันตรายมาก่อนหน้านี้

  • เนื่องจากหญ้าหวานมีการใช้กันอย่างกว้างขวางยาวนานโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ โดยในปี ค.ศ.1887 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีรายงานว่ามันเป็นอันตรายแต่อย่างใด จนในเวลาต่อมาในปี ค.ศ.1985 ได้มีผลงานวิจัยทางด้านลบของหญ้าหวานออกมา โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ John M. Pezzuto และคณะ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน สรุปผลการวิจัยและตีพิมพ์ลงในวารสาร Proc. Nati. Acad. Sci. โดยระบุว่าหญ้าหวานนั้นอันตราย เพราะทำให้เกิดการ Mutagenic สูงมากในหนูทดลอง ซึ่งจากผลงานวิจัยนี้เอง ส่งผลให้องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ออกมาประกาศว่าหญ้าชนิดนี้ไม่ปลอดภัยและห้ามใช้เป็นสารปรุงแต่งในอาหาร และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย (ขณะนั้นนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี)

 

  • ในเวลาต่อมาในปี ค.ศ.1991 มีนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Emily Procinska และคณะ ได้ออกมาค้นคว้ารายงานวิจัยของ John M. Pezzuto  ว่าอาจมีข้อผิดพลาด โดยตีพิมพ์ในวารสาร Mutagenesis ระบุว่า หญ้าหวานไม่มีผลทำให้เกิด Mutagenic แต่อย่างใด โดยได้ทำการทดลองซ้ำอยู่หลายครั้ง จึงทำให้เกิดการค้นคว้าหญ้าหวานจากหลายๆสถาบันนับจากนั้น และสามารถการันตีผลการวิจัยตามมาอีกมากมายที่ระบุว่าผลของ mutagenic ในสารสกัดหญ้าหวานมีผลอันตรายน้อยมาก หรืออาจจะมีผลกระทบกับร่างกายบ้างเล็กน้อย และต่อมาได้มีการตรวจสอบความเป็นพิษพบว่า โดยงานวิจัยส่วนมากได้ระบุว่าหญ้าหวานไม่มีพิษ โดยไม่มีหลักฐานใด ๆ ระบุว่าหญ้าชนิดนี้อาจจะทำให้เกิดข้อบกพร่องหรือเกิดโรคมะเร็งแต่อย่างใดด้วย

 

  • แต่เรื่องราวไม่จบเพียงเท่านี้ ไม่ว่าจะมีผลงานวิจัยออกมายืนยันมากเท่าไหร ทางFDA ของสหรัฐเองก็ยังไม่สั่งระงับการห้ามใช้หญ้าหวานแต่อย่างใด จนในที่สุดองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย และได้รายงานการประเมินผลอย่างละเอียดจากงานวิจัยต่าง ๆ โดยได้ระบุว่าหญ้าชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และในที่สุดเมื่อปี ค.ศ.2009 ที่ผ่านมา ทาง FDA สหรัฐฯ ก็ได้มีการประกาศว่าหญ้าหวานเป็นพืชที่ปลอดภัย และให้การยอมรับว่าเป็น GRAS (Generally Recognized As Safe)

 

เมื่อย้อนกลับมาที่ประเทศไทย

จากผลงานวิจัยของทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ข้อสรุปยืนยันว่า สารสกัดจากหญ้าหวานมีความปลอดภัยในทุกกรณี โดยค่าสูงสุดที่กินได้อย่างปลอดภัยคือ 7,938 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสูงมากถ้าเทียบกับการผสมในเครื่องดื่มหรือกาแฟถึง 73 ถ้วยต่อวัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอนในการรับประทานในชีวิตประจำวัน เพราะคนส่วนใหญ่กินกันประมาณ 2-3 ก็ถือว่ามากเพียงพอต่อวันแล้ว ดังนั้นจึงสรุปการใช้หญ้าหวานในระดับที่ปลอดภัยว่า ควรรับประทานประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 ถ้วย ถือเป็นปริมาณที่เหมาะสมและไม่หวานมากจนเกินไป

ซึ่งในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้จัดให้หญ้าหวานยังจัดให้อยู่ในหมวดพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งอีกด้วย  และได้มีการขึ้นทะเบียนให้สามารถใช้สารสตีวิโอไซด์เพื่อการบริโภคแทนน้ำตาลได้ เพราะมีความปลอดภัยสูง มีพิษเฉียบพลันต่ำ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลข้างเคียงใด ๆ ต่อร่างกาย

สารแทนความหวาน

สารแทนความหวาน

เรามาทราบการทำงานของหญ้าหวานแทนน้ำตาลกันค่ะ ฤทธิ์ในการออกรสหวานของสารสตีวิโอไซด์ซึ่งมีอยู่ในหญ้าหวาน จะไม่เหมือนกับน้ำตาลซะทีเดียว เนื่องจากสารสตีวิโอไซด์จะออกรสหวานได้ช้ากว่าน้ำตาลทรายเล็กน้อย ซึ่งรสหวานของสารสตีวิโอไซด์จะจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย นอกจากนี้สารดังกล่าวยังเป็นสารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใด เพราะมีแคลอรีต่ำมากหรือจะไม่มีเลย และไม่ถูกย่อยให้เกิดเป็นพลังงานกับร่างกาย

แต่เนื่องจากข้อด้อยตรงนี้นี่เองก็ถือเป็นจุดเด่น ที่ใครหลายๆคนตามหา และถือเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เพราะเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคอ้วน และโรคหัวใจ สามารถรับประทานหวานได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

บทความประกอบ :   สุขภาพน่ารู้สั้นๆ เคล็ดลับด้านสุขภาพและโภชนาการ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

หญ้าหวานประกอบด้วย

หญ้าหวานมีการใช้ประโยชน์ได้ในทุกส่วน น้ำตาลหญ้าหวาน ลักษณะของหญ้าหวานประกอบด้วย

  • ต้นหญ้าหวาน เป็นพืชล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ซึ่งมีความสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร  ลักษณะโดยทั่วไป มีลำต้นแข็งและกลม มองภายนอกคล้ายต้นโหระพา สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้กิ่งชำปลูก

  • ใบหญ้าหวาน ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหัวกลับ ส่วนใบตรงขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย มีรสหวานมากเป็นส่วนที่ใช้แทนน้ำตาลได้

  • ดอกหญ้าหวาน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาว ดอกมีขนาดเล็ก กลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่สีขาวเล็กมาก ซึ่งมีเกสรตัวผู้เป็นสีขาวงอไปมา ยื่นออกมาเล็กน้อย

 

ประโยชน์ของหญ้าหวาน

เมื่อพูดถึงประโยชน์ของหญ้าหวานมีมากกว่าให้ความหวานแทนน้ำตาล น้ำตาลหญ้าหวาน ที่เห็นได้จากสื่อโฆษณากับสุขภาพ ที่มีอยู่มากมายหลายแบรนด์ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบแล้วนั้น หญ้าหวานไม่มีแคลอรี่ หรือหากมีก็มีน้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำตาลทั่วไป ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีอะไรบ้างนั้น หญ้าหวานเป็นคำตอบหนึ่งในนั้น ซึ่งน้ำตาลเพียง 2 ช้อนชา จะให้พลังงานถึง 30 แคลอรี่ และคาร์โบไฮเดรต 8 กรัม สามารถนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก แนะนำว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านต่างๆ อีกมากมายดังนี้ค่ะ

  • หญ้าหวานสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ดี ด้วยคุณสมบัติที่ปราศจากพลังงาน ร่างกายสามารถขับออกมาได้ทันที และนอกจากนั้น หญ้าหวานอาจช่วยเพิ่มการผลิตอินซูลินและกระตุ้นการทำงานของอินซูลินให้ดีขึ้นได้ ทำให้หญ้าหวานเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่รักสุขภาพทั้งหลาย

  • หญ้าหวานเป็นทางเลือกของคนที่มีน้ำหนักเกินและต้องการควบคุมน้ำหนัก ให้ความหวานเหมือนน้ำตาล แต่ไม่ให้พลังงาน รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน จึงช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดีค่ะ

  • สมุนไพรหญ้าหวานถือเป็นสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มกำลังวังชา และเพิ่มความสดชื่นได้ดีบำรุงตับและบำรุงกำลัง

  • ยังมีส่วนช่วยให้ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น

  • นอกจากนั้นยังสามารถ ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก

  • หญ้าหวานสามารถช่วยลดไขมันในเลือดและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์และ ลดความเสี่ยงต่อหลายๆ โรค ช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง

บทความประกอบ :  อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

 

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
  • สามารถใช้ทดแทนเกลือแร่ในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ

  • ในมื้ออาหาร หญ้าหวานถือเป็นตัวช่วยเพิ่มความหวานให้อาหาร ไม่ต้องใช้น้ำตาล หรือใช้น้ำตาลน้อยลง แต่ยังมีความหวานเท่าเดิม อร่อยเหมือนเดิม

  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีอะไรบ้าง หญ้าหวาน เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น นำใบหญ้าหวานมาอบแห้ง แล้วใช้ทั้งใบหรือนำมาบดสำหรับใช้ชงชา หรือนำใบมาอบแห้งบดใช้แทนน้ำตาล เหมาะสำหรับใส่ในน้ำอัดลม ชาเขียว ขนม แยม ไอศกรีม หมากฝรั่ง หรือซอสปรุงรสก็ได้ค่ะ

  • นอกจากนั้นหญ้าหวานยังสามารถทนความร้อนได้ดี เมื่อนำมาใช้กับอาหารจึงไม่เน่าเสียง่าย และแม้จะผ่านความร้อนนานๆ ก็ไม่ทำให้อาหารเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ยังคงมีสีสันที่สวยงาม

  • ในแง่ของอุตสหกรรมยาสีฟัน ไม่น่าเชื่อ ว่าหญ้าหวานใช้แทนน้ำตาลในยาสีฟัน นอกเหนือจากการใช้ในอาหาร ปัจจุบันยังมีการนำสารสตีวิโอไซด์ที่สกัดจากหญ้าหวานไปใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟันแทนน้ำตาลด้วย

สารแทนความหวานหญ้าหวาน

สารแทนความหวานหญ้าหวาน

จากงานวิจัยต่างๆเชื่อว่าหญ้าหวานปลอดภัยในทุก ๆ กรณี โดยเน้นย้ำว่า หากเรารู้จักใช้ให้เหมาะกับโรคบางโรค และใช้หญ้าหวานในปริมาณอย่างเหมาะสม และที่สำคัญไม่รับประทานหญ้าหวานจำนวนมากติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด ซึ่งกลุ่มคนที่ใช้หญ้าหวานยังคงเป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มคนผู้รักสุขภาพและผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่ดี และอีกกลุ่มสำหรับคนทั่วไปในจำนวนที่ยังไม่กว้างขวาง ซึ่งในยุคปัจจุบัน ก็ยังมีการใช้หญ้าหวานที่ยังไม่แพร่หลาย แต่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเมื่อเราทราบข้อมูลของหญ้าหวานแล้ว สามารถนำมาเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพได้ค่ะ

ที่มา : 1 2

บทความประกอบ :

10 ผลไม้ลดความอ้วน ผลไม้น้ำตาลน้อย กินยังไงก็ไม่อ้วน กินแล้วดีต่อร่างกาย

สูตรเมนูอาหารเช้าที่ปราศจากน้ำตาล ถูกใจสายคลีนเอาใจสายสุขภาพ

10 ผลไม้ลดความอ้วน ผลไม้น้ำตาลน้อย กินยังไงก็ไม่อ้วน กินแล้วดีต่อร่างกาย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Thippaya Trangtulakan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • น้ําตาลหญ้าหวาน คืออะไร หญ้าหวานแทนน้ำตาล ดีจริงหรือ
แชร์ :
  • หญ้าหวาน สารให้ความหวานยอดฮิต หวานอย่างไร ให้ไร้โรคอ้วน

    หญ้าหวาน สารให้ความหวานยอดฮิต หวานอย่างไร ให้ไร้โรคอ้วน

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • หญ้าหวาน สารให้ความหวานยอดฮิต หวานอย่างไร ให้ไร้โรคอ้วน

    หญ้าหวาน สารให้ความหวานยอดฮิต หวานอย่างไร ให้ไร้โรคอ้วน

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ